"เนื้อธุรกิจ" (ปัจจัยพื้นฐาน) ของหุ้นตัวนั้น ถ้าดูแล้วเห็นว่าบริษัทนั้นโมเดลธุรกิจไม่ยุ่งยากซับซ้อนจนเกินไป ไม่เหนื่อย!! ที่จะทำความรู้จัก ก็จะเข้าไปซื้อไว้ในจำนวนที่น้อยๆ ก่อน
"ผมจะเข้าไปซื้อมาส่วนหนึ่งราวๆ ไม่กี่หมื่นบาท อย่างน้อยเพื่อให้เรามีสิทธิเข้าประชุมผู้ถือหุ้น จากนั้นก็ไปศึกษาธุรกิจอย่างละเอียด ถ้าหุ้นดีจริงจะทยอยซื้อเพิ่มเติมในจำนวนที่มากขึ้น โดยไม่มีกำหนดว่าต้องซื้อทั้งหมดเท่าไร (ขึ้นอยู่กับสถานการณ์) ตรงกันข้ามหากสัญญาณเทคนิคมา แต่เนื้อธุรกิจยุ่งยากเกินไป ผมจะไม่ซื้อ ปล่อยผ่านไปเลย"
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
“โอกาสทำกำไรดีๆมักจะเกิดหลังจากการตื่นตระนก(Panic)ของตลาด”
-จอห์น เนฟฟ์ (JOHN NEFF)
ลักษณะงาน ผู้จัดการกองทุน Vanguard Windsor
เนฟฟ์จะใช้หลักการง่ายๆเพื่อเลือกลงทุน 7 ประการดังนี้
1.อัตราส่วน P/E ต่ำ
2.อัตราการเติบโตของกำไรสูงกว่า 7% ขึ้นไป
3.มีการจ่ายปันผลสม่ำเสมอ และเพิ่มขึ้นตลอด
4.ผลตอบแทนที่ได้รับจะต้องสูงกว่าอัตราส่วน P/E
5.ไม่เป็นธุรกิจที่ขึ้นลงตามรอบที่กำลังจะลง โดยปราศจากการลดลงของอัตราส่วน P/E ที่ต่ำพอจนน่าลงทุน
6. เป็นบริษัทที่มีความแข็งแกร่งในการสร้างการเติบโต
7. เป็นบริษัทที่มีพื้นฐานที่แข็งแกร่งเหมาะกับการลงทุน
เนฟฟ์จะใช้หลักการง่ายๆเพื่อเลือกลงทุน 7 ประการดังนี้
1.อัตราส่วน P/E ต่ำ
2.อัตราการเติบโตของกำไรสูงกว่า 7% ขึ้นไป
3.มีการจ่ายปันผลสม่ำเสมอ และเพิ่มขึ้นตลอด
4.ผลตอบแทนที่ได้รับจะต้องสูงกว่าอัตราส่วน P/E
5.ไม่เป็นธุรกิจที่ขึ้นลงตามรอบที่กำลังจะลง โดยปราศจากการลดลงของอัตราส่วน P/E ที่ต่ำพอจนน่าลงทุน
6. เป็นบริษัทที่มีความแข็งแกร่งในการสร้างการเติบโต
7. เป็นบริษัทที่มีพื้นฐานที่แข็งแกร่งเหมาะกับการลงทุน
มีเหตุผลเบื้องต้น2ประการในการตัดสินใจขายหุ้น
1.พื้นฐานเริ่มเลวลง 2. ราคาขึ้นมาสูงถึงจุดที่ต้องการแล้ว
หลักในการตรวจสอบหุ้นที่ถืออยู่คือการตรวจสอบอัตราการเติบโต ควรจะเป็น5ปีเป็นอย่างน้อย หากว่าอัตราการเติบโตเริ่มถดถอยลงให้รีบขายออก
ให้ ความสำคัญกับอัตราส่วนGYPในportของเรามากกว่าของตลาด หากตลาดขึ้นสูงมากจนราคาหุ้นที่ต้องการสูงจนเกินไปก็ควรจะถือเงินสดไว้ ประมาณ20%ของทุนทั้งหมดจนกว่าจะพบโอกาสดีอีกครั้ง
โอกาสทำกำไรดีๆมักจะเกิดหลังจากการตื่นตระนก(Panic)ของตลาด
---------------------------------------------------------------------------------------------
WILLIAM O’NEIL
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร William O’Neil and Company เป็นบริษัทที่ปรึกษาตั้งอยู่ที่ลอสเองเจอริส อเมริกา
สไตล์การลงทุน ลงทุนในหุ้นโตเร็ว ถือหุ้นในระยะกลาง 2 – 5 ปี
มองหาหุ้นที่โตเร็วที่มีศักยภาพในการที่ราคาจะพุ่งขึ้นอย่างรุนแรง” นั้นคือ ซื้อหุ้นเมื่อบริษัทแข็งแกร่ง ขายออกเมื่อบริษัทอ่อนแอลง
เขาแนะนำนักลงทุนให้ใช้แนวทาง 7ประการในการลงทุน โดยมีตัวย่อ C-A-N-S-L-I-M ดังนี้
C = ผลกำไรไตรมาสก่อน (Current quarterly earnings)
มองหาบริษัทมีเพิ่งประกาศผลการดำเนินงานเพิ่มขึ้น 40 – 500%
มองหาบริษัทมีเพิ่งประกาศผลการดำเนินงานเพิ่มขึ้น 40 – 500%
A = กำไรต่อปีเพิ่มขึ้น (Annual earnings increases)
มอง หาบริษัทที่มีความเติบโตติดต่อกันห้าปี โดยมีอัตราเติบโตที่ไม่ต่ำกว่า 25%ต่อปี ถ้าหุ้นมีลักษณะอย่างนี้เราไม่จำเป็นต้องสนใจ PE Ratio ซึ่งช่วงของ PE อาจจะอยู่ที่ 20 ขึ้นไป
มอง หาบริษัทที่มีความเติบโตติดต่อกันห้าปี โดยมีอัตราเติบโตที่ไม่ต่ำกว่า 25%ต่อปี ถ้าหุ้นมีลักษณะอย่างนี้เราไม่จำเป็นต้องสนใจ PE Ratio ซึ่งช่วงของ PE อาจจะอยู่ที่ 20 ขึ้นไป
N = สินค้าใหม่ ทีมบริหารใหม่ จุดสูงสุดใหม่ (New products, new management, new highs)
หุ้น ที่ดีมักจะมีเรื่องราวใหม่ๆอยู่เบื้องหลังมัน เช่น สินค้าใหม่ที่น่าสนใจ หรือ ผู้บริหารคนใหม่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดจุดสูงสุดใหม่
หุ้น ที่ดีมักจะมีเรื่องราวใหม่ๆอยู่เบื้องหลังมัน เช่น สินค้าใหม่ที่น่าสนใจ หรือ ผู้บริหารคนใหม่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดจุดสูงสุดใหม่
S = อุปสงค์ และ อุปทาน (Supply and demand)
หากหุ้นที่มีขนาดเล็กมีปริมาณการซื้อขายสูงๆ จะทำให้โอกาสที่ราคาหุ้นจะถูกขับเคลื่อนสูงขึ้นได้
หากหุ้นที่มีขนาดเล็กมีปริมาณการซื้อขายสูงๆ จะทำให้โอกาสที่ราคาหุ้นจะถูกขับเคลื่อนสูงขึ้นได้
L = ผู้นำ และ ผู้ตาม (Leaders and laggards)
เลือก ลงทุนในหุ้นที่มีความเข้มแข็งในอันดับต้นของหมวดนั้นๆซัก 2 -3 บริษัท หุ้นเหล่านี้มักจะปรับตัวดีกว่าหุ้นอื่นๆในหมวดเดียวกันในอัตรา 80 – 90% ภายใน 12 เดือน อยู่ให้ห่างหุ้นที่ปรับตัวแย่ลงในระยะ 7 เดือน
เลือก ลงทุนในหุ้นที่มีความเข้มแข็งในอันดับต้นของหมวดนั้นๆซัก 2 -3 บริษัท หุ้นเหล่านี้มักจะปรับตัวดีกว่าหุ้นอื่นๆในหมวดเดียวกันในอัตรา 80 – 90% ภายใน 12 เดือน อยู่ให้ห่างหุ้นที่ปรับตัวแย่ลงในระยะ 7 เดือน
I = ได้รับการสนับสนุนจากนักลงทุนสถาบัน (Institutional sponsorship)
หา ให้ได้ว่าหุ้นตัวใดที่นักลงทุนสถาบันนิยมซื้อ หากเป็นหุ้นที่มีผลตอบแทนดีและนักลงทุนสถาบันยังมีอยู่น้อย เราอาจจะนำมาเป็นหุ้นที่เราจะเข้าซื้อ
หา ให้ได้ว่าหุ้นตัวใดที่นักลงทุนสถาบันนิยมซื้อ หากเป็นหุ้นที่มีผลตอบแทนดีและนักลงทุนสถาบันยังมีอยู่น้อย เราอาจจะนำมาเป็นหุ้นที่เราจะเข้าซื้อ
M = ทิศทางของตลาด (Market direction)
ตรวจสอบตลาดทุกวันเพื่อหาสัญณาณของการปรับตัวลง และให้ระวังการเข้าซื้อในขณะนั้น
ตรวจสอบตลาดทุกวันเพื่อหาสัญณาณของการปรับตัวลง และให้ระวังการเข้าซื้อในขณะนั้น
ตัดขาดทุน เขาแนะนำให้ทำการขายหุ้นออกเมื่อหุ้นนั้นตกลงต่ำกว่า 7-8% จากราคาที่ซื้อมาโดยไม่ต้องมีคำถาม
ขายหุ้นที่ขึ้นไม่ถึง 20%ภายใน13 สัปดาห์ ให้ถือหุ้นที่ขึ้นเกิน 20% ภายใน 4 – 5 สัปดาห์ หุ้นพวกนี้มักจะเป็นหุ้นที่ทำกำไรมากที่สุด
ใน กรณีที่หุ้นที่คุณซื้อมาและมีการปรับตัวขึ้น 25%อย่างรวดเร็วภายใน 1-2สัปดาห์ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าอาจจะมีข่าวดีทำให้นักลงทุนในตลาดแห่กันเข้าเก็บ หุ้นอย่างเร่งร้อน เราควรรีบทำกำไรในช่วงนี้.
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ปีเตอร์ ลินซ์ (PETER LYNCH)
ลงทุนในหุ้น ที่มีลักษณะโดดเด่นหลายชนิด โดยอาศัยการเจริญเติบโตและการฟื้นตัวของธุรกิจ จะถือหุ้นเป็นระยะเวลาตั้งแต่หลายเดือนจนบางครั้งนานเป็นปี
วิธีการและแนวทางในการลงทุน
อันดับแรก เปิดหูเปิดตาให้กว้างเพื่อรับฟังแนวคิดใหม่ๆ
แนว คิดหลักของลินซ์คือ เราสามารถเลือกลงทุนได้จากสิ่งรอบตัวเรา เช่นถ้าเราเลือกที่จะสนใจในสิ่งที่เรารู้และเข้าใจอยู่แล้ว อาจจะเป็นร้านอาหาร ร้านค้า หรือแม้แต่การสังเกตเพื่อนบ้านที่กำลังถอยรถใหม่ออกมา หรือเห็นโรงงานข้างทางกำลังขยายโรงงาน สิ่งเหล่านี้อาจจะเป็นตัวช่วยให้เราเลือกลงทุนกับบริษัทเหล่านั้นได้อย่าง เหมาะสม.
แหล่งข้อมูลที่คุณสามารถหาได้ดีที่สุด :
งานของคุณ ซึ่งมันทำให้คุณคุ้นเคยกับธุรกิจ และคุณสามารถเข้าใจลูกค้า และผู้ขายวัตถุดิบอยู่แล้ว เช่นหากคุณเป็นแพทย์ คุณจะเข้าใจโรงพยาบาล เข้าใจผู้ป่วย และบริษัทเวชภัณฑ์ ว่าเขาทั้งหมดต้องการอะไร และโรงพยาบาล และบริษัทเวชภัณฑ์สามารถสนองความต้องการของผู้ป่วยได้หรือไม่
งานอดิเรกและ การพักผ่อนของคุณ เช่นกีฬาที่เล่น สถานที่ที่เล่น ห้างสรรพสินค้าและสินค้าที่คุณ และเพื่อนๆของคุณนิยมซื้อกัน
งานอดิเรกและ การพักผ่อนของคุณ เช่นกีฬาที่เล่น สถานที่ที่เล่น ห้างสรรพสินค้าและสินค้าที่คุณ และเพื่อนๆของคุณนิยมซื้อกัน
ครอบครัวของคุณและของเพื่อนฝูง พวกเขาก็จะมีงานและงานอดิเรกของเขาซึ่งคุณสอบถามข้อมูลจากเขาได้
การสังเกต และประสบการณ์ของคุณที่มีต่อบริษัทที่คุณรู้จัก
อันดับที่สอง จัดหมวดหมู่ความคิดของคุณ
บริษัทต่างๆสามารถจัดประเภทได้ 6 ประเภทหลักๆ ดังนี้
- ประเภทอุ้ยอ้าย (Slow growers) การเติบโตของกำไรจะสุงกว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเล็กน้อย ประมาณ 2-4% ต่อปี
- ประเภทแข็งแกร่ง(Stalwarts) บริษัทที่ดีมีอัตราการเติบโตประมาณ 10-20% ต่อปี -
ประเภทโตเร็ว (Fast growers) บริษัทเล็กๆที่มีอัตราการเติบโตที่สูงมากประมาณ 20 -25% ต่อปี - ประเภทขึ้นลงตามวัฎจักร (Cyclicals) บริษัทที่กำไรขึ้นลงตามสภาวะเศรษฐกิจ -
ประเภทเริ่มฟื้นตัว (Turnarounds) บริษัทที่ประสบปัญหา แต่มีสัญญาณแห่งการฟื้นตัวที่ชัดเจน - ประเภท สินทรัพย์แฝง (Asset plays) บริษัทที่ราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าของสินทรัพย์ หรือมูลค่าตามบัญชีที่เราทราบแต่อีกหลายคนในตลาดยังไม่ทราบ เช่นที่ดินที่มีอยู่อาจมีมูลค่าสูงมาก ในบริษัทประกันภัยที่ตั้งสำรองเงินประกันสูงๆ
ที่มา : One Up on Wall Street, P Lynch, 1989
ใช้ ความพยายามที่มีอยู่ในการหาหุ้นประเภทโตเร็ว เพราะหากซื้อที่ราคาที่เหมาะสมอาจทำให้เราได้รับผลตอบแทนสูงถึงสิบเท่าตัว นอกจากนั้นให้มองหาหุ้นประเภทกำลังฟื้นตัว และบางครั้งควรเป็นประเภทมีสินทรัพย์แฝง.
อย่าถือเงินสด ทางที่ดีคือนำเงินสดที่เหลืออยู่ไปลงทุนในหุ้นประเภทที่แข็งแกร่ง (Stalwarts) เพราะคุณจะไม่พลาดเมื่อตลาดหุ้นปรับตัวสูงขึ้น
หลีกเลี่ยง หุ้นประเภทอุ้ยอ้าย(กำไรน้อยเกินไป) กับหุ้นประเภทขึ้นลงตามวัฎจักรที่กำลังแย่ลง
อันดับที่สาม สรุปเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับบริษัทที่เลือกได้
- เหตุผลที่สนใจในบริษัทนี้
- อะไรเป็นสิ่งที่ทำให้บริษัทนี้ประสบความสำเร็จ
- อุปสรรค ที่จะทำให้บริษัทล้มเหลวได้ ต้องแน่ใจว่าเรื่องราวเกี่ยวกับบริษัทนั้น ง่ายต่อการทำความเข้าใจ ถูกต้อง เชื่อถือได้ และสามารถจัดลงในประเภทดังที่กล่าวมาแล้ว ตัวอย่างคำถามง่ายๆที่ควรจะถามตัวเองเสมอเช่น”ถ้าบริษัทนี้จัดเป็นประเภทโต เร็ว แล้วสิ่งใดเป็นตัวที่ทำให้มันเติบโตอย่างต่อเนื่อง?
อันดับที่สี่ ตรวจสอบตัวเลขที่สำคัญ Fourthly, check the key numbers.
- ถ้าคุณสนใจในสินค้าและบริการใดในบริษัท ให้ตรวจสอบว่ายอดขายต้องมากเท่าไรจึงจะสามารถมีกำไรในจำนวนมากได้ (ตรวจสอบ Profit Margin)
- ให้ความสำคัญกับบริษัทที่อัตราส่วน P/E ต่ำกว่าอัตราการเจริญเติบโตของกำไรต่อหุ้น (ให้ตรวจสอบ PEG)
- ให้ความสำคัญกับบริษัทที่มีเงินสดจำนวนมากพอที่จะทำให้ธุรกิจแข็งแกร่ง
- ให้ ระวังบริษัทที่มีหนี้สินต่อทุนสูง(D/E หรือ Gearing สูง) โดยเฉพาะหนี้ที่มาจากวงเงินเบิกเกินบัญชี ซึ่งจะต้องจ่ายเมื่อถูกทวงถาม ซึ่งไม่เหมือนกับหุ้นกู้ที่มีระยะเวลากำหนดแน่นอน(ถ้าเป็นหนี้ชนิดหุ้นกู้จะ ดีกว่าเพราะตราบใดที่ยังจ่ายดอกเบี้ยได้ เจ้าหนี้จะเอาเงินคืนก่อนกำหนดไม่ได้)
- หากเป็นบริษัทประเภทแข็ง แกร่งหรือโตเร็ว ให้เลือกบริษัทที่มีกำไรก่อนภาษีสูงๆ หากเป็นบริษัทประเภทเริ่มฟื้นตัว ให้เลือกบริษัทที่ราคาต่ำแต่มีศักยภาพที่จะกลับมาสูง.
อันดับที่ห้า ไม่ต้องไปสนใจการขึ้นลงของตลาด ให้ใช้เหตุผลในการซื้อขายเท่านั้น
- จำ ไว้เสมอว่า กำไรขาดทุนที่จะได้รับไม่ได้ขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจโดยรวมแต่จะขึ้นอยู่กับ ปัจจัยเฉพาะของธุรกิจที่บริษัทดำเนินการอยู่ ดังนั้นไม่ต้องไปสนใจการขึ้นลงของตลาดหุ้น .
- ซื้อหุ้นเมื่อแน่ใจในเหตุผลที่อยู่เบื้องหลัง ที่ราคาที่เหมาะสม ลงทุนเต็มที่ตลอดเวลา
- ขายหุ้นประเภทแข็งแกร่ง เมื่อ PEG สูงประมาณ 1.2 – 1.4 หรือเห็นแนวโน้มว่าการเติบโตเริ่มลดลง
- ขาย หุ้นประเภทโตเร็ว เมื่อเห็นสัญญาณว่าจะไม่มีทางขยายการลงทุนได้อีกแล้ว หรือการขยายกิจการนั้นเริ่มทำให้การขยายตัวลดลง หรือเมื่อ PEG สูงประมาณ 1.5 – 2.0
- ขายหุ้นประเภทมีสินทรัพย์แฝง เมื่อมีการซื้อกิจการเกิดขึ้น หรือเมื่อกิจการขายสินทรัพย์ได้ต่ำกว่าราคาที่ควรจะเป็น
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ฟิลลิป ฟิชเชอร์ (PHILIP A. FISHER)
ลักษณะงาน
ที่ปรึกษาการลงทุนในบริษัทของเขาเองรูปแบบการลงทุน
เป็นนักลงทุนที่ลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีโดยการซื้อและถือยาวมาก
ที่ปรึกษาการลงทุนในบริษัทของเขาเองรูปแบบการลงทุน
เป็นนักลงทุนที่ลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีโดยการซื้อและถือยาวมาก
เขาจะเชี่ยวชาญในการลงทุนในธุรกิจที่เขารู้จักดี ซึ่งมักจะเป็นบริษัทที่มีนวัตกรรมทางเทคโนโลยีใหม่ๆที่ได้จากการวิจัยและ พัฒนาของบริษัท เขาเริ่มใช้กลยุทธ์การลงทุนนี้ก่อนการเกิดของ Silicon Valley ถึง 40 ปี.
บริษัทที่เขามักแนะนำให้ลูกค้าซื้อมักเป็นบริษัท Low-tech เช่นบริษัทเคมีภัณฑ์ใหญ่ๆ หรือบริษัทผลิตเครื่องจักรอาหาร หลังจากนั้นเขาก็ได้ชื่อว่าเป็นนักลงทุนที่เห็นถึงคุณค่าของหุ้นในกลุ่ม Hi-techอย่าง Motorola และ Texas Instruments
ขณะที่เขามีอายุได้ 90ปี เขายังคงทำงานในลักษณะเดิมอย่างที่เคยทำ เขาเป็นคนที่ใช้เหตุผล และยึดหลักปฎิบัติอย่างเข้มงวด เขาเป็นคนเดียวที่จะเลือกลงทุนในบริษัทที่เขาได้ทำการศึกษาอย่างละเอียดรอบ ครอบ โดยศึกษาจากแหล่งความรู้ต่างๆ การสัมภาษณ์ผู้บริหารและคู่แข่งของบริษัท และสิ่งนี้ทำให้เขาเข้าถึงมูลค่าที่แท้จริงของบริษัทได้ก่อนใคร
บริษัทที่เขามักแนะนำให้ลูกค้าซื้อมักเป็นบริษัท Low-tech เช่นบริษัทเคมีภัณฑ์ใหญ่ๆ หรือบริษัทผลิตเครื่องจักรอาหาร หลังจากนั้นเขาก็ได้ชื่อว่าเป็นนักลงทุนที่เห็นถึงคุณค่าของหุ้นในกลุ่ม Hi-techอย่าง Motorola และ Texas Instruments
ขณะที่เขามีอายุได้ 90ปี เขายังคงทำงานในลักษณะเดิมอย่างที่เคยทำ เขาเป็นคนที่ใช้เหตุผล และยึดหลักปฎิบัติอย่างเข้มงวด เขาเป็นคนเดียวที่จะเลือกลงทุนในบริษัทที่เขาได้ทำการศึกษาอย่างละเอียดรอบ ครอบ โดยศึกษาจากแหล่งความรู้ต่างๆ การสัมภาษณ์ผู้บริหารและคู่แข่งของบริษัท และสิ่งนี้ทำให้เขาเข้าถึงมูลค่าที่แท้จริงของบริษัทได้ก่อนใคร
ความสำเร็จที่สำคัญ
ฟิชเชอร์ ได้เข้าซื้อหุ้นในบริษัท เท็กซัส อินสทรูเม้นต์ ในปี 1956 นานมากก่อนที่บริษัทนี้จะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในปี1970 ราคาเมื่อเริ่มซื้อขายที่ 2.7 เหรียล และหลังจากนั้นราคาก็ขึ้นไปถึง 200 เหรียล เพิ่มขึ้น 7400% โดยที่ไม่เคยจ่ายปันผลเลย เขาได้รับผลตอบแทนที่สูงมากจากการลงทุนในบริษัทนี้
ฟิชเชอร์ ได้เข้าซื้อหุ้นในบริษัท เท็กซัส อินสทรูเม้นต์ ในปี 1956 นานมากก่อนที่บริษัทนี้จะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในปี1970 ราคาเมื่อเริ่มซื้อขายที่ 2.7 เหรียล และหลังจากนั้นราคาก็ขึ้นไปถึง 200 เหรียล เพิ่มขึ้น 7400% โดยที่ไม่เคยจ่ายปันผลเลย เขาได้รับผลตอบแทนที่สูงมากจากการลงทุนในบริษัทนี้
วิธีการ และแนวทางในการลงทุน Methods and guidelines
ให้ความสนใจในหุ้นบริษัทใหม่ที่มีการเติบโต (Young growth stock)
เพื่อให้ได้มาซึ่งความชัดเจน นักลงทุนควร
- อ่านข้อมูลทุกอย่างที่หาได้ ทั้งจากวารสาร รายงานของบริษัทหลักทรัพย์
- สนทนากับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกิจการ เช่นผู้จัดการ พนักงาน โดยเฉพาะกับผู้ป้อนวัตถุดิบ ลูกค้า คู่แข่ง
- เยี่ยมชม สถานที่ทำงานในจุดต่างๆของบริษัทเช่นโรงงาน สาขา ถ้าเป็นไปได้ ไม่ควรไปแค่สำนักงานใหญ่
- ก่อนที่จะซื้อหุ้นของบริษัทนั้นๆ จะต้องแน่ใจว่าสามารถตอบคำถามทั้ง15ข้อดังต่อไปนี้ได้
ให้ความสนใจในหุ้นบริษัทใหม่ที่มีการเติบโต (Young growth stock)
เพื่อให้ได้มาซึ่งความชัดเจน นักลงทุนควร
- อ่านข้อมูลทุกอย่างที่หาได้ ทั้งจากวารสาร รายงานของบริษัทหลักทรัพย์
- สนทนากับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกิจการ เช่นผู้จัดการ พนักงาน โดยเฉพาะกับผู้ป้อนวัตถุดิบ ลูกค้า คู่แข่ง
- เยี่ยมชม สถานที่ทำงานในจุดต่างๆของบริษัทเช่นโรงงาน สาขา ถ้าเป็นไปได้ ไม่ควรไปแค่สำนักงานใหญ่
- ก่อนที่จะซื้อหุ้นของบริษัทนั้นๆ จะต้องแน่ใจว่าสามารถตอบคำถามทั้ง15ข้อดังต่อไปนี้ได้
1.บริษัทนี้มีสินค้า หรือบริการที่มีศักยภาพทางการตลาด ที่สามารถทำยอดขายให้เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในอีกหลายๆปีข้างหน้าได้หรือไม่?
2.ผู้ บริหารของบริษัทมีแนวทางในการพัฒนาสินค้าใหม่ หรือขบวนการใหม่ๆที่ช่วยเพิ่มศักยภาพในการขายสินค้า ในขณะที่สิ้นค้าชนิดเดิมก็ยังคงมีศักยภาพในการเติบโตที่สูง
3.การวิจัยและพัฒนาของบริษัทมีประสิทธิภาพมากแค่ไหนเมื่อเทียบกับขนาดของบริษัท?
4.บริษัทนี้มีหน่วยงานขายที่อยู่สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่?
5.บริษัทนี้มีกำไรขั้นต้นสูงหรือไม่ ?
6.บริษัทมีกลยุทธ์อะไรในการรักษาหรือเพิ่มกำไรขั้นต้นให้สูงขึ้น?
7.บริษัทมีหน่วยงานแรงงานสัมพันธ์ที่ดีหรือไม่?
8.ผู้บริหารภายในบริษัทมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันหรือไม่
9.การจัดการของบริษัทมีความซับซ้อนหรือไม่
10.บริษัทมีการวิเคราะห์และควบคุมต้นทุน และบัญชีดีแค่ไหน
11.บริษัทมีแนวทางในการสร้างความแตกต่างของสินค้าและบริการเมื่อเทียบกับคู่แข่งขันอย่างไร
12.บริษัทมีทัศนะทั้งในระยะสั้นและระยะยาวต่อการทำกำไรของบริษัทอย่างไร?
13.ใน อนาคตที่ไม่สามารถคาดเดาได้นั้น หากบริษัทต้องการเงินทุนด้วนการระดมทุนเพิ่มเพิ่มเพื่อสร้างการเติบโตให้สูง ขึ้น การที่มีหุ้นเพิ่มสูงขึ้นจะกระทบผลประโยชน์ผู้ถือหุ้นมากน้อยอย่างไร?
14.ให้สังเกตว่า เมื่อยามที่กิจการไปได้ดีผู้บริหารของบริษัทยินดีที่จะพูดคุยอย่างตรงไปตรง มากับนักลงทุน แต่ในยามที่มีเหตูการเลวร้ายผู้บริหารจะหายตัวไปหรือไม่?
15.บริษัทมีผู้บริหารที่ซื่อสัตย์หรือไม่
ที่มา : Common Stocks and Uncommon Profits, P Fisher, 1958
- เขามีเหตุผลเพียงสามประการที่จะตัดสินใจขายหุ้นออก
- เกิดความผิดพลาดอย่างใหญ่หลวงในการวิเคราะห์หุ้นที่ซื้อมาแล้ว
- บริษัทนั้นมีแนวโน้มที่จะไม่สามารถผ่านหลักเกณฑ์ทั้ง15ข้างต้นได้เหมือนที่เคยเป็น
- สามารที่จะนำเงินลงทุนในบริษัทเดิมไปลงทุนในบริษัทอื่นที่สามารถสร้างผลตอบ แทนได้สูงกว่ามากๆ และก่อนจะตัดสินใจลงไปต้องแน่ใจว่ามีเหตุผลที่หนักแน่นพอ
- เกิดความผิดพลาดอย่างใหญ่หลวงในการวิเคราะห์หุ้นที่ซื้อมาแล้ว
- บริษัทนั้นมีแนวโน้มที่จะไม่สามารถผ่านหลักเกณฑ์ทั้ง15ข้างต้นได้เหมือนที่เคยเป็น
- สามารที่จะนำเงินลงทุนในบริษัทเดิมไปลงทุนในบริษัทอื่นที่สามารถสร้างผลตอบ แทนได้สูงกว่ามากๆ และก่อนจะตัดสินใจลงไปต้องแน่ใจว่ามีเหตุผลที่หนักแน่นพอ
หุ้นในธุรกิจที่เป็นวัฏจักรนั้น ท่านบอกว่าท่านหลีกเลี่ยง เพราะว่ากำไรที่เกิดขึ้นในช่วงที่ตลาดสดใสนั้น ไม่ใช่สภาวะปกติที่มันควรจะเป็น สิ่งที่มันควรจะเป็นต้องเป็นในช่วงที่สภาวะทุกอย่างมันไม่ได้เฟื่องฟูจนเกิน เหตุ บริษัทไหนในช่วงวิกฤติอยู่ได้และมีกำไรนั่นแหละเป็นสภาวะปกติ แต่ถ้าในช่วงนั้นย่ำแย่ก็ให้รู้ไว้ว่า นั่นก็คือสภาวะจริงๆของมันเช่นกัน ส่วนนี้เมื่อเทียบกับตัวเราได้เช่นกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น