วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ชะตาหุ้น
1.ราคา
2.อำนาจซื้อของต่างชาติ
3.ปัจจัยทางการเมือง”
4.การปล่อยข่าวลือ
5.การปั่นหุ้น
6.การแต่งงบบัญชี
7.การใช้ข้อมูลภายในเพื่อผลประโยชน์ของเจ้าของบริษัท
8.ธนาคารกลาง ของสหรัฐหรือเฟดอาจขึ้นดอกเบี้ยระยะสั้น
-ดอกเบี้ยสูงมีผลต่อต้นทุน ทางการเงินของบริษัทต่างๆมากขึ้น
น่าจะมีปัจจัยอื่นเพิ่มเติมที่เป็นเหตุให้นักลงทุนต่าง ประเทศขายหุ้นไปทั่วโลก 
9.รัฐบาลลดค่าเงินบาท
10.การปรับเปลี่ยนการบริหาร การดำเนินงานของหุ้นหลายบริษัท
11.การปั้นบริษัทขึ้นมาให้ดูเหมือนเป็นกิจการที่มีอนาคตสดใสน่าลงทุน
12.การสำรองเงินลงทุนจากต่างประเทศ 30%
13.เกิดเหตุระเบิดพร้อมกันหลายจุด
14.กฏหมาย”นอมินี”
15.ค่าเงินดอลล่าร์ของสหรัฐอเมริกามีแนวโน้มลดลง
     (การขาดดุลทางการค้าและการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของอเมริกา)
16.กระแสเงินจากต่างประเทศ
17.การเก็งกำไร
18.เหตุการณ์ซับไพร์มของสหรัฐอเมริกา
19.Siphon
20.การลอยตัวค่าเงินของประเทศ
21.สถานการณ์ทางการเมือง
22.การลงทุนทางตรงจากต่างชาติ
23.ปัญหาเศรษฐกิจในฝั่งอเมริกาและยุโรป
24.การแปรรูปของบริษัท
25.ปริมาณการซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติ
26.ตัวเลข GDP
27.ตัวเลขเศรษฐกิจ ธปท
28.
29.
30.






ทางบัญชี
1.การตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญ
2.การรับรู้รายได้ ในบริษัทอสังหาริมทรัพย์ สามารถเลือกการรับรู้รายได้ตามสัดส่วนงานที่แล้วเสร็จ หรือ รับรู้รายได้เมื่อได้ส่งมอบงานให้แก่ลูกค้าแล้ว แค่นี้การบันทึกรายได้ ค่าใช้จ่ายก็แตกต่างกันในแต่ละงวดบัญชีแล้ว
3.สินทรัพย์ในทางธุรกิจกับทางบัญชีจะต่างกันบ้างในบางประเด็นเช่น สินทรัพย์ที่เกิดจากทรัพยากรบุคคล ส่วนนี้ทางบัญชีบันทึกไม่ได้เพราะตีค่าเป็นตัวเงินไม่ได้ แต่ในทางธุรกิจมีค่ามหาสาร




บาง case
1.การประมาณกำไรในอนาคตเพื่อหาค่าPE Ratio ซึ่งแน่นอนว่าเราต้องเข้าใจธุรกิจนั้นๆดีเอามากๆไม่อย่างนั้นไม่มีทางถูกได้ แน่ๆ และจะเกิดปัญหาตามมาว่า ทำไมหุ้นนี้PEก็ต่ำแต่ราคาเอาแต่ลงไม่เห็นขึ้นสักที อย่างในหุ้นกลุ่มปิโตรเคมีและเดินเรือที่นักวิเคราะห์ตะบี้ตะบันเชียร์กันจน เลิกไปแล้วนี่ไง ผมจะบอกให้ก็ได้ว่านักลงทุนที่เขาเข้าใจธุรกิจนั้นเขาขายออกกันไปหมด ราคาก็ลงมาแล้ว แต่กำไรของกิจการนั้นสามเดือนออกที และจะค่อยๆลดลงมารู้อีกทีกำไรทั้งปีลดไปมาก แต่เราเอากำไรของสามไตรมาสก่อนมาเฉลี่ยเป็นกำไรทั้งปีซึ่งกำไรสามไตรมาสก่อน ยังสูงมาเฉลี่ยไตรมาสปัจจุบันที่ต่ำลงตัวเลขเฉลี่ยก็ยังสูงกว่า ดังนั้นเมื่อราคาลดลง กำไรเฉลี่ยในอดีตยังสูงอยู่ PE Ratioก็ยังต่ำอยู่นั้นเอง และเชื่อผมไหมว่าราคาหุ้นเหล่านี้จะยังคงถูก(PE ต่ำ)ต่อไปอีกนาน เพราะมันเป็นของที่ไม่น่าสนใจแล้วไงละครับ จึงไม่ค่อยมีใครซื้อและกล้าให้ราคาแพงๆอีกนาน
2.มักเป็นวิธีการเดิมๆ เช่นเมื่อเข้าไปซื้อธุรกิจแล้วก็ปรับให้บริษัทนั้นทำธุรกิจที่กำลังดูดีมี อนาคต ขยายกิจการไปในธุรกิจที่กำลังมาแรง และเร่งเข้าซื้อกิจการเพื่อเพิ่มขนาดของกิจการ มีการเพิ่มทุน ลดทุนกันเพื่อผลในทางตัวเลขบัญชี จากนั้นก็เริ่มแถลงข่าวว่าจะขยายไปอย่างนั้นอย่างนี้ ดีอย่างนั้นอย่างนี้ แถมมีการเข้าซื้อหุ้นให้ราคาเคลื่อนไหวในทางที่ดีขึ้นเป็นการแสดงให้เห็นว่า มันน่าจะดีจริง
-----------------------------------------------------------------------------
ผู้บริหารมีหน้าที่สองประการหลักๆคือ ดำเนินการในการเพิ่มรายได้ กับพยายามลดต้นทุน
ตัวแปรของรายได้นั้นยังประกอบไปด้วยตัวแปรอีก สองตัว คือ ยอดขายเป็นปริมาณ และราคาขายเป็นตัวเงิน ดังนั้นผู้บริหารต้องทำทุกอย่างเพื่อให้สินค้านั้นๆผลิตออกมาได้มากๆและต้อง ขายได้ปริมาณมากๆ โดยรักษาหรือเพิ่มระดับราคาสินค้าให้สูงขึ้น ซึ่งต้องใช้กลยุทธ์ทางธุรกิจมากมาย
ต้นทุนนั้นมีตัวแปรหลักๆคือ 
1.ต้นทุนคงที่ ซึ่งประกอบด้วยต้นทุนค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร ค่าแรงงาน ค่าใช้จ่ายที่เดือนๆหนึ่งไม่ผลิตก็จะต้องจ่ายแน่นอนเลี่ยงไม่ได้
2.ต้นทุนผันแปร คือพวกวัตถุดิบ วัสดุสิ้นเปลื้องต่างๆ ค่าดำเนินงานพวกค่าคอมมิสชั่น ฯลฯ ต้นทุนส่วนนี้ก็จำเป็นต้องจัดการให้เกิดประสิทธิภาพเช่นกัน เช่นใช้วัตถุดิบให้คุ้มค่า พยายามลดของเสียในการผลิต เลือกกลยุทธ์ในการทำตลาดที่เข้าถึงผู้บริโภคให้มากที่สุด
รายได้นั้นจะเกิดเมื่อเริ่มขายสินค้า แต่ต้นทุนนั้นเกิดทันทีและทุกเวลา การที่กิจการมีสินทรัพย์มากๆนั่นหมายถึงบริษัทมีต้นทุนที่มาก ต้นทุนคือส่วนที่พร้อมจะเป็นค่าใช้จ่ายได้ตลอดเวลา ดังนั้นสินทรัพย์มากแต่ใช้ได้น้อย รังแต่จะเกิดเป็นค่าใช้จ่าย
         บริษัทที่ ต้องลงทุนสูง และมีสินทรัพย์มากๆเช่นโรงงานปิโตรเคมี โรงกลั่นฯ โรงเหล็ก ฯ ล้วนเป็นกิจการที่มีต้นทุนทั้งสิ้น เมื่อใดราคาสินค้ามีราคาสูง บริษัทผลิตสินค้าได้มากๆ บริษัทเหล่านี้จะมีกำไรมาก แต่เมื่อเกิดอาการกลับด้านกันเมื่อไร ราคาสินค้าต่ำลงแม้ผลิตเท่าเดิม รายได้ก็ลดลง แต่ต้นทุนไม่ลดก็จะเห็นว่ากำไรลดลง หรือขาดทุน บริษัทเหล่านี้เรียกว่ามีข้อได้เปรียบเสียเปรียบในการผลิต(Operating Leverage)
เชื่อไหมว่าบางบริษัทเพิ่มราคาสินค้าได้เพียงไม่กี่ เปอร์เซ็นต์ก็สามารถเพิ่มกำไรได้เกือบเท่าตัว 
เชื่อไหมว่าบางบริษัทลดต้นทุนไม่กี่เปอร์เซ็นต์โดยรักษาระดับราคาเท่า เดิมก็สามารถเพิ่มกำไรได้เกือบเท่าตัว
บางบริษัทจึงเลือกกำหนดกลยุทธ์ ธุรกิจออกตามแบบที่เหมาะสมกับกิจการของเขา เช่นบางบริษัทเลือกที่จะเป็นผู้นำในด้านต้นทุนที่ต่ำ เพื่อรักษาระดับกำไรและรักษาหรือเพิ่มตลาด บางบริษัทเลือกที่จะไม่แข่งกับใครพยายามสร้างความแตกต่างให้แก่สินค้าและ บริการเพื่อรักษาระดับราคาให้มีกำไรเพิ่มขึ้นได้
----------------------------------------------------------------------------
หนี้สินจะอยู่ก่อนทุนเพราะมันเป็นภาระที่ บริษัทจะต้องรับผิดชอบก่อนที่จะนำรายได้ไปจ่ายปันผลหรือคืนทุนเมื่อเลิก กิจการ สินทรัพย์มีความสำคัญมาก สินทรัพย์นี้เองจะเป็นตัวบอกนักลงทุนว่าผู้บริหารซึ่งก็เป็นสินทรัพย์ของ กิจการด้วยว่ามีคุณภาพแค่ไหน สินทรัพย์นั้นคือต้นทุน ต้นทุนเมื่อถูกใช้ประโยชน์หรือไม่ถูกใช้ประโยชน์แต่เสื่อมสภาพไปตามเวลาก็ คือค่าใช้จ่าย ซึ่งมันจะเป็นตัวไปลดทอนรายได้ในที่สุด
        ราย ได้ – ค่าใช้จ่าย = กำไรและกำไรที่ได้ก็จะวิ่งกลับไปที่ทุน เพื่อนำไปใช้คืนหนี้สิน ลงทุนสร้างสินทรัพย์ หรือคืนกลับผู้ลงทุน มันเป็นวงจรง่ายๆที่นักลงทุนควรต้องทราบ ตราบใดที่กำไรที่ได้ไม่เพียงพอต่อการใช้คืนหนี้สิน ลงทุนในสินทรัพย์ จะไม่มีวันที่บริษัทจะมีเงินปันผลให้เรา นอกจากไปก่อหนี้มาเอาใจผู้ถือหุ้นอย่างที่เราเห็นๆกันอยู่ เอาหละเมื่อเห็นองค์ประกอบรวมของกิจการแล้วเรามาเข้าเรื่องพลังทั้งห้าได้ เลยครับ พลังกดดันต่อธุรกิจทั้งห้านั้นประกอบด้วย
พลังกดดันจาก ลูกค้า สินค้าและหรือบริการที่กิจการขายหรือให้บริการลูกค้านั้นมีมูลค่าสูงกว่า ราคาที่ลูกค้าจ่ายหรือไม่ ผมเห็นว่ารถยนต์คือพาหนะพาเราไปยังจุดหมายขอให้มีความปลอดภัยและไปได้ที ละหลายๆคนจึงยอมจ่ายน้อยๆซื้อรถปิคอัพมาใช้ ดังนั้นกิจการต้องมีความชัดเจนในการกำหนดกลุ่มเป้าหมายและวางตำแหน่งสินค้า ให้ตรงกับมุมมองเชิงมูลค่าของลูกค้า ไม่ใช่แข่งที่ราคาแต่เพียงอย่างเดียว เพราะลูกค้าต้องการความคุ้มค่าไม่ใช่ราคาต่ำอย่างเดียว
พลังกด ดันจากผู้ขายวัตถุดิบ ถ้ากิจการใช้บริการผู้ขายวัตถุดิบเพียงรายเดียวอาจมีปัญหาเมื่อยามขาดแคลน ได้ หรือบริษัทสั่งซื้อวัตถุดิบในปริมาณน้อยๆก็อาจจะไม่ได้รับวัตถุดิบในราคาที่ คุ้มพอที่จะผลิตสินค้าที่แข่งขันได้ บางบริษัทจึงจำเป็นที่ต้องทำให้ตัวบริษัทนั้นมีขนาดที่ใหญ่เพียงพอจะมีกำลัง ต่อรองเหนือผู้ขาย ยกตัวอย่างเช่นร้านซูปเปอร์สโตร์ ยิ่งมีหลายสาขายิ่งมีกำลังต่อรองและได้ต้นทุนราคาต่ำและระยะเวลาจ่ายเงินยาว นาน
พลังกดดันจากผู้เข้ามาใหม่ในธุรกิจ ในทุกธุรกิจหากสินค้านั้นขายดี กำไรสูงๆและมีสินค้าไม่เพียงพอต่อความต้องการก็จะมีผู้สนใจเข้ามาแข่งขัน ด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เราต้องดูว่าบริษัทนั้นได้เตรียมการต้อนรับผู้มาใหม่เอาไว้อย่างไร บริษัทได้ใช้เงินกำไรสร้างสินทรัพย์ไม่ว่าจะเป็นตัวบุคลากร กำลังการผลิต การบริหารต้นทุนเพื่อพร้อมต่อสู้กับผู้มาใหม่อย่างไร โดยปกติผู้มาใหม่จะนิยมใช้กลยุทธ์ราคาเข้าแทรกซึมธุรกิจ หรือบางรายใช้วิธีทุ่มเงินลงทุนมหาสารเข้าแข่งขัน สำหรับในบางธุรกิจบริษัทจะให้วิธีการกันคู่แข่งด้วยการสร้างสาขากระจายตัวไป ในจุดที่สำคัญๆหลักๆเอาไว้หมดแล้ว ต่อให้ผู้มาใหม่มีทุนขนาดไหนก็ไม่คิดจะมาลงทุน หรือบางธุรกิจนั้นขนาดตลาดเล็กเกินไปการเข้ามาแข่งอาจไม่คุ้มเราเรียกว่า ตลาดเฉพาะ
พลังกดดันจากสินค้าทดแทน ข้าวแกงถูกทดแทนได้ด้วยก๋วยเตี๋ยว เครื่องดื่มโคล่าถูกทดแทนด้วยเครื่องดื่มอื่นๆ รถไฟรถทัวร์ถูกทดแทนด้วยสายการบินราคาต่ำ ผู้บริหารมองประเด็นนี้และเตรียมการป้องกันหรือเคลื่อนย้ายตัวเองอย่างไร หรือสร้างกำแพงป้องกันเอาไว้อย่างไร
พลังกดดันจากการแข่งขัน ภายในอุตสาหกรรมเอง บริษัทนั้นจะต้องวางกลยุทธ์ของกิจการไว้เองว่าบริษัทจะ เป็นกิจการที่มีต้นทุนต่ำ กิจการที่มีนวัตกรรม หรือกิจการที่อยู่ในธุรกิจเฉพาะ แล้วก็ดำเนินกิจการให้อยู่ในกรอบกลยุทธ์นั้นๆให้สม่ำเสมอ เช่นต้นทุนต่ำก็ไม่ใช่แค่มาหาวิธีลดต้นทุนกันตอนลำบากแล้ว ต้องทำกันอย่างต่อเนื่องทุกวันอย่างที่บริษัทญี่ปุ่นทำ การมีนวัตกรรมต้องมีอย่างต่อเนื่องและนวัตกรรมนี้ไม่ใช่แค่ออกสินค้าใหม่ๆ เท่านั้นยังเป็นเรื่องของนวัตกรรมทางการจัดการ การผลิตเพื่อให้สินค้าและบริการออกมาสุดยอดอยู่เสมอ อีกด้วย









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น