ข้อมูลที่ VI นิยมใช้มากที่สุด
1.ค่า PE หรือราคาหุ้นเมื่อเทียบกับกำไรของกิจการ
2.ค่า PB หรือราคาหุ้นเมื่อเทียบกับมูลค่าทางบัญชีของหุ้น
3.ค่า DP หรือปันผลเมื่อเทียบกับราคาหุ้นหรือที่เรียกว่า Dividend Yield
4.มูลค่าตลาดของหุ้นทั้งหมดของกิจการหรือค่า Market Cap
5.ค่า PEG ซึ่งก็คือค่า PE หารด้วยอัตราการเจริญเติบโตของกำไรของบริษัทด้วย
หุ้นที่ถูกสำหรับ VI
1.หุ้นที่มีค่า PB ต่ำกว่าค่า PE
2.มีค่า DP สูงกว่าค่า DPเฉลี่ยของตลาด
ประเด็นสำคัญก็คือ ค่า E หรือกำไรนั้น จะนำมาใช้ได้ก็ต่อเมื่อกิจการมีความสม่ำเสมอของผลประกอบการเท่านั้น ส่วนบริษัทที่มีกำไรที่ไม่สม่ำเสมอนั้น จะต้องใช้กำไรเฉลี่ยในระยะ 3-4 ปีที่ผ่านมา หรือใช้กำไรในปีที่ต่ำที่สุดในช่วง 3-4 ปีมาแทนกำไรในปีปัจจุบัน และในเกือบทุกกรณี ค่าของ Market Cap. จะเป็นตัวที่ใช้ตรวจสอบว่ามูลค่าตลาดของกิจการนั้นสมเหตุสมผลหรือไม่
-----------------------------------------------------------------------------------
ในกรณีที่หุ้นเป็นกิจการที่มีคุณภาพสูง
ค่า PE หรือ PB ที่จะบอกว่าหุ้นถูกอาจจะเพิ่มสูงขึ้นได้จากค่าเฉลี่ยของตลาด
คุณสมบัติกิจการคุณภาพสูงอาจแสดงได้โดยตัวเลขหรือลักษณะการดำเนินการของกิจการดังนี้คือ
1) กิจการนั้นมี ROE หรือผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นสูงกว่าปกติ เช่นมากกว่า 20% ต่อปีอย่างต่อ
เนื่องยาวนาน
2) กิจการมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสูงกว่ากำไรทางบัญชีของบริษัท
3) บริษัทเป็น Dominant Firm หรือเป็นบริษัทที่มีขนาดใหญ่กว่าอันดับสองมากอย่างน้อยกว่า 2-3 เท่า
ขึ้นไป
4)บริษัทสามารถขยายงานได้โดยใช้เงินลงทุนน้อยมาก ข้อนี้จะพบมากในบริษัทที่ขายทรัพย์สินทาง
ปัญญาหรือบริการที่ไม่ต้องมีอุปกรณ์หรือเครื่องจักรใหม่มาก
5) บริษัทสามารถปรับราคาขายสินค้าตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้นได้ทันทีโดยไม่สูญเสียลูกค้าไป
6) บริษัทมีการเจริญเติบโตเร็ว อย่างน้อยเป็น 3 เท่าของการอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ
------------------------------------------------------------------------------------
Premium = ค่า PE ที่สูงขึ้นของกิจการที่มีคุณภาพสูงนั้น จะสูงขึ้นได้เท่าไรเป็นเรื่องที่บอกได้ยาก แต่ยิ่งบริษัทมีคุณภาพสูงขึ้นเนื่องจากมีคุณสมบัติที่ดีหลาย ๆ ข้อ
PE ก็มักจะมีค่าสูงทบทวีขึ้นไปมากขึ้น ในบางช่วงโดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ภาวะเศรษฐกิจและตลาดหุ้นเอื้ออำนวย ค่า PE ของกิจการที่เป็น “Super Company” สามารถขึ้นไปสูงได้อย่างไม่น่าเชื่อและเกินกว่าราคาที่ Value Investor ส่วนใหญ่จะรับได้ อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไป ในกรณีที่กิจการเป็นบริษัทที่โตเร็ว VI บางคนก็จะยอมรับค่า PE ที่สูงขึ้นได้โดยมีเงื่อนไขว่า ค่า PE ที่สูงนั้นต้องไม่เกินอัตราการเจริญเติบโตของบริษัทโดยเฉลี่ยในระยะ 3-4 ปีข้างหน้า นั่นก็คือ ค่า PEG ต้องไม่มากกว่า 1 เท่า
วอเร็น บัฟเฟตต์นั้น เขาบอกว่าถ้าซื้อหุ้นถูกตัวแล้ว ไม่จำเป็นต้องขายหุ้นเลย อย่างไรก็ตาม
เวลาที่ซื้อหุ้นของ VI ก็คือเมื่อเขาพบหุ้นที่มีมูลค่าที่แท้จริงสูงกว่าราคาหุ้นในตลาดมาก ตัวเลขชัดเจนนั้นขึ้นอยู่กับแต่ละคนและแต่ละหุ้นแต่โดยทั่วไปน่าจะไม่น้อยกว่า 20-30% และความแตกต่างนี้เรียกว่า Margin Of Safety ซึ่ง VI เชื่อว่าจะเป็นส่วนที่ “เผื่อ” เอาไว้ว่าถ้าเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดหรือมีอะไรผิดพลาด หุ้นที่ซื้อโดยมี Margin Of Safety สูงก็ยังคงรักษามูลค่าของมันไว้ได้ พูดง่าย ๆ ถ้าหุ้นตกลงไปจากราคาที่ซื้อ เราก็สามารถถือยาวและในที่สุดมันก็จะฟื้นตัวกลับมาได้
เวลาขายหุ้นสำหรับ VI นั้น
ก็เช่นเดียวกับการซื้อหุ้น คือไม่ได้อิงกับภาวะเศรษฐกิจหรือตลาดหุ้น และโดยทั่วไป
1) ตระหนักว่ากิจการหรือหุ้นที่ซื้อมานั้นตนเองวิเคราะห์ผิดพลาดเนื่องจากข้อมูลใหม่ที่ได้รับรู้มา
2) พื้นฐานของกิจการเปลี่ยนไปเนื่องมาจากเหตุผลต่าง ๆ ที่คาดไม่ถึง
3) ราคาหุ้นขึ้นไปเกินมูลค่าพื้นฐานแล้ว ซึ่งไม่ได้แปลว่าหุ้นขึ้นไปมากแล้ว เพราะการที่หุ้นขึ้นไปมากนั้นก็อาจจะไม่เกินพื้นฐานก็ได้ เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ มูลค่าพื้นฐานของกิจการก็อาจจะเพิ่มขึ้นด้วยทำให้ราคาไม่เกินพื้นฐานแม้ราคาหุ้นจะขึ้นไปมาก
4) มีหุ้นตัวอื่นที่น่าสนใจและมี Margin Of Safety สูงกว่ามากและเราไม่มีเงินสดเหลือ เราจึงต้องขายหุ้นตัวเดิมเพื่อนำเงินไปซื้อหุ้นตัวใหม่
5) ภาวะเศรษฐกิจการเมืองและสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไปมากจนทำลายพื้นฐานของกิจการ นี่ไม่ใช่เรื่องที่เศรษฐกิจถดถอยไปบ้างหรือการเมือง “วุ่นวาย” แต่น่าจะเป็นเรื่องของวิกฤติเศรษฐกิจหรือเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจไปในแนวทางที่ไม่ใช่ระบบตลาดเสรี เป็นต้น
-----------------------------------------------------------------------
การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ที่พิจารณาจากพื้นฐานของบริษัทมากกว่าที่จะคำนึงถึงดัชนีตลาดหุ้น จึงสามารถลงทุนได้ทั้งตลาดขาขึ้น และตลาดขาลง
Warren Buffett บอกว่า ‘เคล็ดลับของเขาคือ เมื่อไม่มีอะไรจะทำ…ไม่ทำอะไรเลยจะดีที่สุด’ ส่วน George Soros บอกว่า ‘เพื่อให้ประสบความสำเร็จ…เราควรมีเวลาหย่อนใจและมีเวลาเป็นของตัวเอง มากๆ’
ที่กล่าวมานี่ไม่ได้หมายความว่าอยู่เฉยๆไม่ทำอะไรเลยนะครับ เซียนพวกนี้เขาไม่ทำอะไรกับการลงทุนเท่านั้น แต่เขาคอยมองหาโอกาสเหมาะๆ วิ่งเข้าชนบังตอตลอดเวลา
-----------------------------------------------------------------------
สูตร คลายเครียดเรโช(มหภาค) : ราคาตลาด / ราคาทุน > 1
จากสูตรจะเห็นว่า เมื่อราคาหุ้นหลังจากที่ซื้อมาแล้วได้ปรับตัวขึ้นไปสูง เท่ากับหรือมากกว่าราคาทุนที่ซื้อหุ้นมาแล้ว ให้ชักเอาส่วนที่เป็นทุนออกมาก่อนเพื่อความอุ่นใจ และเป็นการลดความเครียดจากการถือหุ้นนั้นๆ เอาไว้ต่อ ยิ่งตอนที่ขายเมื่ออัตราส่วนคลายเครียดสูงมากกว่า 1 มากๆ ความเครียดจะยิ่งลดลงเป็นลำดับ เช่น เมื่อเราซื้อหุ้นตัวหนึ่งมาที่ราคา 10 บาท ปัจจุบันราคาได้ขึ้นมาที่ 25บาท
เราจะได้คลายเครียดเรโชเท่ากับ 2.5 เท่า จากนั้นให้เราชักเอาเงินทุน 10 บาท ออกมาก่อนแล้วปล่อยให้เงินที่เป็นกำไร 15 บาทอยู่ในหุ้นนั้นต่อไป เพื่อลดอาการเครียดจากการขายหมูลงไป และที่แน่ๆ เงินทุนของเราปลอดภัย 100% แล้วครับ
ตามความหมายเดิมของท่านเจ้าสำนัก Temple Boxing School ต้องใช้ คลายเครียดเรโช (มหภาค) กับตลาดหุ้นโดยรวมครับ ซึ่งหมายถึงจำนวน’เงินลงทุน’ทั้งหมดที่เราใช้เล่นหุ้นในปัจจุบันเปรียบเทียบ กับกำไรสะสมทั้งหมดที่เราเคยได้มาไม่ได้เน้นไปที่หุ้นตัวใดตัวหนึ่ง
ส่วนคลายเครียดเรโช (จุลภาค)นั้น หมายถึงหุ้นเป็นรายตัวครับ ดังนั้นที่ผมยกตัวอย่างมาเป็นหุ้นรายตัวในการอธิบายคลายเครียดเรโช (มหภาค)นั้นจึงไม่ตรงต่อความหมายที่แท้จริงของท่านเจ้าสำนัก จึงขอให้ท่านผู้อ่านได้โปรดปรับค่าต่างๆ ในตัวอย่างให้เป็น….
เช่น เมื่อท่านได้ซื้อหุ้นเมื่อดัชนีตลาด เท่ากับ 350 จุด ด้วยเงินลงทุนทั้งสิ้น 1,000,000 บาท แต่แล้วตลาดหุ้นได้ปรับตัวขึ้นไปเป็น 600 จุดเงินลงทุนทั้งพอร์ตเพิ่มเป็น 2,300,000 บาท เมื่อคำนวณ คลายเครียดเรโช(มหภาค) แล้วจะเท่ากับ 2,300,000 / 1,000,000 = 2.3 เท่า นั่นหมายถึงว่า เงินลงทุนเริ่มแรกที่เราลงไปมันเพิ่มขึ้นมา 1,300,000บาท ดังนั้นให้เราชักส่วนทุนเดิม 1,000,000 บาทออก ทิ้งส่วนเกินทุนเอาไว้ให้อยู่ในพอร์ตต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น