วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2555


เบน เกรแฮม  บิดาแห่งการลงทุนแบบ Value Investment  ซึ่งเน้นการลงทุนแบบ  Quantitative  หรือเน้นดูตัวเลขข้อมูลทางการเงินเป็นหลัก  โดยไม่ค่อยสนใจข้อมูลด้านคุณภาพซึ่งเขามองว่าวัดไม่ได้และอาจเป็นภาพลวงตาที่สร้างขึ้นโดยผู้บริหารของบริษัท  หุ้นที่เขาลงทุนนั้นจะเป็นหุ้นที่มีราคาถูกมากโดยเฉพาะที่วัดจากทรัพย์สินของบริษัท   การลงทุนของ เบน  เกรแฮม นั้น  จะเน้นในด้านของความปลอดภัยเป็นพิเศษ  โดยหุ้นที่ลงทุนจะต้องมี  “Margin Of Safety” สูง  และพอร์ตโฟลิโอของเขาจะมีการกระจายการถือหุ้นจำนวนมาก   เช่นเดียวกับการถือพันธบัตรในสัดส่วนที่สูง
วอเร็น บัฟเฟตต์ นักลงทุนที่มีชื่อเสียงและรวยที่สุดในโลกนั้น  มีสไตล์ที่โดดเด่นอยู่ที่การถือหุ้นของกิจการที่  “ดีที่สุด”  ในแง่ของธุรกิจ  และเขาชอบที่จะถือมันในสัดส่วนที่มาก   บ่อยครั้งเขาถือมันร้อยเปอร์เซ็นต์เป็นเจ้าของคนเดียว  เขาถือหุ้นน้อยตัวและไม่ค่อยขายหุ้นหรือกิจการเหล่านั้นออกไป  สไตล์ของวอเร็น  บัฟเฟตต์  นั้น  ถ้าจะว่าไป  เขาไม่ได้ลงทุนใน  “หุ้น” แต่เขาลงทุนใน  “ธุรกิจ”
ปีเตอร์ ลินช์  อดีตผู้บริหารกองทุนรวมที่มีสถิติการทำผลตอบแทนที่ดีเยี่ยมและมีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งของโลกนั้น  มีสไตล์การลงทุนที่  ซื้อเกือบทุกอย่างที่วิเคราะห์แล้วพบว่าดี และ/หรือ ถูก  โดยที่เขาจะมีวิธีการจัดหุ้นเป็นกลุ่ม ๆ ที่จะทำให้ง่ายต่อการวิเคราะห์ถึงคุณสมบัติของกิจการและหาจังหวะในการเข้าซื้อและขายหุ้น
------------------------------------------------------------------------------------------
Value Investor รุ่นบุกเบิก
เน้นลงทุนในหุ้นที่มีราคาถูก  มีผลกำไรและการจ่ายปันผลที่สม่ำเสมอและอยู่ในระดับที่พอใช้ได้  กิจการมักเป็นกิจการที่ไม่หวือหวาโตเร็วและไม่ใช่เป็นกิจการ  “แห่งอนาคต”
vi
1.การเล่นหุ้นของกิจการขนาดเล็กที่มี  “กำไรดีและกำลังเติบโต”  มองจากข้อมูลตัวเลขที่ผ่านมาเร็ว ๆ  นี้   หุ้นดังกล่าวอาจจะไม่ใคร่มีสภาพคล่องนักแต่เจ้าของหรือผู้บริหารมีความตั้งใจและเอาใจใส่กับราคาหุ้นและพร้อมที่จะนำเสนอข้อมูลดี ๆ  ของบริษัท มื่อซื้อหุ้นแล้วก็ต้องมีกระบวนการในการ  “โฆษณา”  หรือเผยแพร่เพื่อชักจูงนักลงทุนคนอื่นให้เห็นถึงคุณสมบัติที่ “ดีเยี่ยม” และซื้อหุ้นตาม  ในหลาย ๆ  กรณี  หุ้นมีราคาเพิ่มขึ้นมากและทำให้นักลงทุนชุดแรก ๆ  ที่มองเห็นก่อนสามารถทำกำไรได้อย่างงดงามในระยะเวลาอันสั้น   อย่างไรก็ตาม  หุ้นหลายตัวหลังจากขึ้นไปแล้ว  กลับตกลงมาอย่างหนักจนทำให้คนที่ซื้อทีหลังขาดทุนจำนวนมากเช่นกัน
2.การลงทุนใน  “หุ้นวัฏจักร”  ซึ่งก็คือการลงทุนในกิจการที่ขายสินค้าที่มีลักษณะแบบสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีราคาขึ้นลงเป็นรอบ ๆ  เท็คนิคก็คือ  พยายามมองหาหุ้นของกิจการที่กำลังจะเป็น  “ขาขึ้น”  แต่หุ้นที่สนใจนั้น   มักเป็นหุ้นของกิจการขนาดเล็กที่นักวิเคราะห์ไม่สนใจติดตาม  ซึ่งจะทำให้ราคาหุ้นไม่ค่อยได้ปรับตัวตามวัฏจักรอย่างรวดเร็วตามที่ควรเป็น  เมื่อพบแล้วก็เข้าซื้อ  แล้วก็รอและโปรโมตหุ้นให้เป็นที่สนใจของนักลงทุนอื่น ๆ  จนราคาดีดตัวขึ้นเมื่อผลการดำเนินงานที่โดดเด่นได้รับการประกาศออกมา  พวกเขาก็มักจะขายเพื่อทำกำไรและมองหาหุ้นวัฏจักรตัวต่อไป
3.การลงทุนในหุ้น  Super Stock ในแบบของ  วอเร็น บัฟเฟตต์  แม้ว่ากิจการในตลาดหุ้นไทยนั้นจะมีคุณสมบัติต่ำกว่าในสหรัฐอเมริกามาก  แต่แนวที่นักลงทุนใช้ก็คือ  ลงทุนเฉพาะในหุ้นกลุ่มที่มีคุณภาพดีที่สุด  ในราคาที่ถูกหรือยุติธรรม  ซึ่งก็มักเป็นช่วงเวลาที่ตลาดหุ้นปรับตัวลดลงมาก  ซื้อแล้วเก็บไว้ค่อนข้างนาน  จนราคาปรับตัวขึ้นไปมากแล้วก็ขายและรอซื้อหุ้นตัวอื่นหรือตัวเดิมที่มีคุณภาพสูงและในราคาที่เหมาะสมต่อไป




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น