วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555


มือใหม่

1.สำรวจตัวเอง สิ่งที่น่าเตรียมตัวสำหรับการเข้าตลาดหุ้นมากที่สุดคือเรื่องของ”จิตใจ” นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่สามารถทนต่อความผันผวนของตลาดหุ้นได้ เป็นอย่างดี 
2.มีเวลาเพียงพอ นักลงทุนควรมีเวลาในการติดตามและวิเคาระห์บริษัทที่ลงทุนอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าเป็นผลการดำเนินงาน ข่าวของบริษัท หรืออนาคตของบริษัทเหมือนกับที่คาดการณ์ไว้หรือไม่
3.หาความรู้ก่อนเสมอ อย่าลืมว่าการทำเงินในระยะสั้นนั้นไม่ยากอะไรนัก แต่การทำผลตอบแทนให้้ดีอย่างต่อเนื่องนั้นเป็นสิ่งที่ยากกว่า และการทำเช่นนั้นได้จำเป็นต้องมี”ความรู้”
--------------------------------------------------------------------------
เงิน ลงทุน (Capital Expenditures) เงินทุนส่วนนี้บริษัทจะวางแผนนำไปลงทุนในสินทรัพย์ระยะยาว เช่น ซื้อเครื่องจักรขยายโรงงาน ซื้อกิจการ ฉะนั้นเงินลงทุนส่วนนี้อาจมีจำนวนที่สูงและมีต่อเนื่องหลายๆ ปี เงินทุนส่วนนี้ส่วนมากผู้บริหารมักจะประกาศว่าจะลงทุนในอะไรบ้างใช้เงินทุน ประมาณเท่าไร หรือเราหาได้จากการหาการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์คงที่ในแต่ละปี หรือเอาให้แน่ๆ เลยคือถามผู้บริหารเลยว่ามีแผนลงทุนอย่างไร ใช้เงินเท่าไร ผลตอบแทนที่คาดไว้เท่าไร


เงินทุนหมุนเวียน (Working Capital) เงินทุนส่วนนี้บริษัทต้องเตรียมเงินสดสำรองไว้ใช้จ่ายภายในบริษัทอยู่ทุก เมื่อเชื่อวัน เงินทุนส่วนนี้จะถูกนำไปใช้จ่ายในจำพวก จ่ายหนี้การค้า สำรองสินค้าคงเหลือ สำรองจ่ายให้ลูกค้า(ให้เครดิตลูกค้า) เงินทุนส่วนนี้หาได้โดยการ เอาสินทรัพย์หมุนเวียน หักด้วยหนี้สินหมุนเวียน


การ เติบโตที่ทำให้บริษัทมีมูลค่าเพิ่มขึ้นนั้น นักลงทุนจำเป็นต้องเข้าใจพื้นฐานของกิจการนั้นๆอย่างดีจนสามารถที่จะประเมิน ได้ว่าการลงทุนที่ผู้บริหารเลือกที่จะลงทุนนั้นสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้ แก่กิจการได้ กล่าวคือ โครงการลงทุนนั้นๆ จะต้องสร้างกระแสเงินสดได้มากกว่าเงินที่บริษัทได้ลงทุนไป ถ้ากระแสเงินสดที่กิจการจะได้รับนั้นไม่คุ้มค่าก็เท่ากับเป็นการลงทุนที่ ทำลายมูลค่า


เงินทุนนั้นมีต้นทุน ถึงแม้บริษัทจะไม่ได้กู้ยืมเงินใครมา บริษัทก็มีต้นทุนอยู่ดี ต้นทุนดังกล่าวคือ ต้นทุนค่าเสียโอกาส อธิบายง่ายๆ คือ ถ้าไม่เอาเงินไปลงทุนในโครงการนี้เอาเงินไปลงทุนในเงินฝากก็ได้รับผลตอบแทน เป็นดอกเบี้ย ค่าเสียโอกาสนั้นขึ้นอยู่กับแต่ละคนแต่ละบริษัท


ต้นทุนของเงินกู้นั้นเราใช้ดอกเบี้ยที่บริษัทต้องไปกู้ยืมมาลงทุน มากน้อยขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจในเวลานั้น


ต้นทุนของส่วนผู้ถือหุ้นนั้นก็มีต้นทุน เพราะนักลงทุนก็คาดหวังที่จะได้ผลตอบแทนจากการลงทุนและเอาเข้าจริงๆ ก็น่าจะสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยธนาคารเสียด้วยซ้ำ ไม่อย่างนั้นเอาเงินไปฝากธนาคารดีกว่าจริงไหม


 คาดหวังนี้แสดงผ่านค่า PE Ratioเ พราะนักลงทุนคาดหวังสูงจึงให้ PE สูงๆ เพราะหวังว่ากำไรในอนาคตต้องเพิ่มสูงขึ้น อธิบายได้ว่าถ้าหากเราตัดสินใจลงทุนในหุ้นที่ PE 25 เท่า ราคาหุ้นเท่ากับ 25 บาท กำไรต่อหุ้นเท่ากับ 1 บาท เมื่อเราซื้อแล้วราคาของเราจะคงที่ที่ 25 บาท แต่คาดหวังว่ากำไรจะต้องเพิ่มขึ้นเช่นหวังว่ากำไรควรจะเพิ่ม 20% ต่อปี PEในปีถัดไปสำหรับหุ้นที่เราลงทุนแล้วจะเปลี่ยนเป็น 20.8 และปีถัดไป PE จะเท่ากับ 17.4 เป็นต้น



สำหรับนักลงทุนเองมี หน้าที่ที่สำคัญคือ ต้องทำความเข้าใจในแผนการลงทุนของบริษัทว่าเหมาะสมหรือไม่ ต้องคิดให้ได้เองว่าโครงการลงทุนนี้จะสร้างมูลค่าที่น่าพอใจไหม มีเหตุผลและความเป็นไปได้ไหม ถูกที่ถูกเวลาไหม ไม่ใช่ไปลงทุนในจุดที่ไม่ได้ส่งเสริมเลย หรือไปลงทุนในช่วงเวลาที่ไม่ได้สนับสนุนให้ลงทุนเลย หรือที่หนักกว่านั้นไปลงทุนในสินทรัพย์ที่ดูดีในระยะสั้น แล้วใช้เงินกู้มากๆ ซึ่งมีความเสี่ยงมาก
การลงทุนที่ดีคือการลงทุน ที่ใช้เงินทุนในจำนวนและต้นทุนเงินทุนที่เหมาะสม เป็นโครงการที่ส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานที่กิจการมีความชำนาญ และมีเหตุให้เชื่อได้ว่าโครงการนั้นจะช่วยให้บริษัทสร้างผลกำไรเติบโตได้ เพิ่มขึ้นในระยะยาว

วัฎจักรธุรกิจ

การขึ้นลงของธุรกิจนำมาซึ่งการขึ้นลงของราคา หุ้นของบริษัท เพียงแต่ว่าการขึ้นลงของราคาหุ้นนั้นมักจะเกิดขึ้นก่อนการขึ้นหรือลงของ ธุรกิจ หากเราไม่เข้าใจธุรกิจเราก็จะช้ากว่าผู้อื่นที่เขาเข้าใจธุรกิจเป็นอย่างดี และนี่คือข้อได้เปรียบเสียเปรียบที่เกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในการลงทุน 
         วัฎจักรของอุตสาหกรรมนั้นมีได้หลายแบบแต่ที่เราเห็นกันชัดๆคือ การลงแบบถาวรเนื่องจากการถูกแทนที่โดยสินค้าทดแทนชนิดอื่นอย่างเด็ดขาด เช่นการทดแทนเครื่องพิมพ์ดีดด้วยโปรแกรม Word processor การลงอย่างนี้ไม่มีวันกลับมาแน่นอน การลงเป็นรอบธุรกิจที่เกิดจากเหตุผลทางด้านเศรษฐศาสตร์คือการที่ผู้ผลิตเห็นว่าสินค้ามีราคาสูงซึ่งอาจจะเกิดจากความต้องการของตลาดเพิ่มขึ้นจากที่เคยมี ไม่มาก ทุกบริษัทเร่งขยายการผลิตทำให้สินค้าออกมามากกว่าความต้องการ จากนั้นก็แข่งขันกันด้วยการลดราคาเพื่อระบายสินค้า ในช่วงนี้ผู้ที่เข้มแข็งเท่านั้นจะอยู่รอดและรอเวลากลับมาอีกครั้งเมื่อผู้ที่อ่อนแอต้องเลิกราไปมื่อตลาดกลับสู่สภาพที่สมดุลบริษัทก็จะสามารถสร้างผลกำไรได้เป็นปกติ และเมื่อเกิดความต้องการที่สูงบริษัทที่แข็งแกร่งซึ่งอาศัยเวลาที่ผู้อื่น อ่อนแอเตรียมการไว้แล้วก็จะสามารถสร้างผลกำไรที่เป็นพิเศษได้ แต่ช่วงเวลานั้นจะไม่ค่อยยาวนาน ซึ่งเป็นเพราะทุกคนก็ชอบที่จะได้รับกำไรงามๆเช่นกันจึงขยายกำลังมาแข่งกัน อีกซึ่งก็จะกลับเข้าสู่รอบขาลงอีกครั้ง เป็นเช่นนี้เรื่อยไปเป็นกฎเกณฑ์ตามธรรมชาติ ที่ทุกสิ่งเกิดขึ้น ตั้งอยู่ รุ่งเรื่อง(บางอย่างเท่านั้น) และดับไป
         สำหรับธุรกิจที่ขึ้น ลงเป็นรอบนั้นมีอยู่หลายประเภท ซึ่งฝรั่งเรียกว่า Commodity หรือสินค้าโภคภัณฑ์ อาทิเช่น เหล็ก ปิโตรเคมี สินค้าเหล่านี้มักเป็นสินค้าที่สามารถหาได้ง่าย ใครๆก็ผลิตได้ ไม่ค่อยแตกต่างกันเท่าไรนัก การแข่งขันจึงเป็นแบบสมบูรณ์ ราคาสินค้าขึ้นลงตามความต้องการของตลาด
        การขึ้นลงของราคาหุ้นนั้นจะเกิดขึ้นก่อนการขึ้นลงของ รอบธุรกิจ อย่างน้อยๆก็ 3-6 เดือน ทั้งนี้เป็นเพราะมีผู้ที่รู้และเข้าใจธุรกิจได้เข้าสะสมหุ้น (ไม่เกี่ยวกับผู้ที่ใช้ข้อมูลภายใน) อย่างเงียบๆ และเมื่อมีผู้ที่รู้ข่าวตามมาทีหลังก็ตามเก็บหุ้นต่อๆกันมาจึงผลักดันราคา หุ้นสูงขึ้น ซึ่งบางคนยังไม่รู้เลยว่ามันขึ้นเพราะอะไร เพราะเห็นผลประกอบการยังไม่ได้ดีขึ้นเลย (ข้อนี้เป็นข้อเสียเปรียบของผู้ที่ยึดติดอยู่กับข้อมูลในอดีตที่แสดงในงบการ เงินแต่เพียงอย่างเดียว) ในรอบการลงก็เช่นกันผู้รู้ก็ขายก่อน ผู้รู้ทีหลังก็ขายตามมาผู้ที่ไม่รู้ก็จะเป็นผู้ถือหุ้นระยะยาวที่แท้จริง คือทำใจขายไม่ลงแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น