วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

(Reproduction Cost of Asset)

สามารถหามูลค่าทรัพย์สินของกิจการได้สองวิธีคือ
  1. คำนวณจากวิธีรวมส่วนของกิจการ (Sum of the Part ) หรือ
  2. พิจารณาจากงบดุลในงบการเงินของบริษัท หรือ

1.วิธีรวมส่วนของกิจการ (Sum of the Part) นั้นทำได้ไม่ยาก เป็นวิธีที่ไม่สลับซับซ้อนแต่อย่างใด เพียงแต่ธุรกิจที่จะนำมาหามูลค่าด้วยวิธีนี้ ควรมีบริษัทย่อยที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ด้วย จะช่วยให้การหามูลค่าทำได้ง่าย และสะดวกยิ่งขึ้น

วิธีการก็คือ ศึกษาจากรายงายประจำปีว่า บริษัทที่เราสนใจนั้นถือหุ้นบริษัทอะไรอยู่บ้าง จากนั้นทำการคำนวณหามูลค่าของกิจการบริษัทแม่ จากมูลค่ากิจการตามราคาตลาดของบริษัทย่อยแต่ละบริษัทตามสัดส่วนที่ถือหุ้น อยู่ นำผลที่ได้มารวมกันจะได้ราคาตลาดที่เหมาะสมของบริษัทแม่
ยกตัวอย่างเช่น บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (SHIN) เป็นบริษัทโฮลดิ้งคอมปานี ถือหุ้นบริษัทต่างๆ ดังต่อไปนี้
  • บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) – 43 %
  • บริษัท ชิน แซทเทลไลท์ (SATTEL) – 51 %
  • บริษัท ไอทีวี (ITV) – 55 %
  • บริษัท ซีเอส ล็อกซอินโฟ (CSL) – 40%
  • และ บริษัทอื่นๆ นอกตลาดหลักทรัพย์
หา ราคาปิดและจำนวนของหุ้นของบริษัทย่อยในตลาดหลักทรัพย์ได้ดังนี้
  • ADVANC – 97.5 บาท จำนวนหุ้น 2,947 ล้านหุ้น
  • SATTEL – 15.8 บาท จำนวนหุ้น 877 ล้านหุ้น
  • ITV – 12.4 บาท จำนวนหุ้น 1,204 ล้านหุ้น
  • CSL – 6.15 บาท จำนวนหุ้น 625 ล้านหุ้น
จากข้อมูลที่ได้สามารถ คำนวณมูลค่าตลาดของบริษัทชินได้ดังนี้
  • ADVANC – 97.5 X 2,947 X 43% = 123,553 ล้านบาท
  • SATTEL – 15.8 X 877 X 51% = 7,067 ล้านบาท
  • ITV – 12.4 X 1,204 X 55% = 8,211 ล้านบาท
  • CSL – 6.15 X 625 x 40% = 1,538 ล้านบาท
รวมมูลค่าตลาดของบริษัทย่อยเท่ากับ 140,368 ล้านบาท
บริษัทชินมีจำนวนหุ้นทั้งหมดเท่ากับ 2,995 ล้านหุ้น และวอร์แรนท์อีก 200 ล้านหุ้น รวมเป็น 3,195 ล้านหุ้น
ดังนั้นมูลค่าตลาดของบริษัทย่อยของชินที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ เท่ากับ 140,368/3,195 = 44 บาทต่อหุ้น
นัก ลงทุนสามารถหาส่วนต่างของความปลอดภัย หรือ Margin of Safety ด้วยการเปรียบเทียบมูลค่ากิจการที่คำนวณออกมาได้กับราคาตลาดของหุ้นนั้นๆ ที่ซื้อขายอยู่บนกระดาน ถ้าราคาบนกระดานต่ำกว่าราคาที่คำนวณได้ ถือว่ามีส่วนต่างความปลอดภัย
เมื่อดู จากราคาปิดของหุ้นบริษัทชิน ณ วันที่ 18 เมษายน 2548 อยู่ที่ราคา 38.25 บาทต่อหุ้น จะเห็นว่า ราคาหุ้นของบริษัทแม่ยังต่ำกว่าราคาตลาดของบริษัทย่อยรวมกันอยู่ 5.75 บาทหรือราวๆ 15 เปอร์เซ็นต์
นอกเหนือจาก นั้นราคาตลาดที่หาได้จากการคำนวณของบริษัทย่อย เป็นเพียงมูลค่าของกิจการที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์เท่านั้น ยังไม่ได้รวมบริษัทย่อยที่ยังไม่ได้จดทะเบียนอีกหลายบริษัท จะเห็นว่าจากการคำนวณด้วยวิธีรวมส่วนของกิจการ (Sum of the Part) แล้ว บริษัทชินมีมูลค่ากิจการมากกว่าราคาตลาดปัจจุบันอยู่พอสมควร
การคำนวณดังกล่าวเป็นการคำนวณอย่างคร่าวๆ เพื่อแสดงให้เห็นเป็นตัวอย่างเท่านั้น รายละเอียดของแต่ละกิจการจะแตกต่างกันไป ตามแต่ละธุรกิจที่ไม่เหมือนกัน นักลงทุนควรจะมีความเข้าใจในกิจการของบริษัทที่จะลงทุนอย่างละเอียดก่อน ตัดสินใจลงทุน
การคำนวณด้วยวิธีรวมส่วนของ กิจการนี้มีข้อดีคือ ความสะดวกรวดเร็วในการหามูลค่า ไม่มีความซับซ้อนแต่อย่างใด แต่ข้อเสียก็มีมากเช่นกัน ดังต่อไปนี้
  • การหามูลค่ากิจการของบริษัทย่อยที่ไม่ได้อยู่ในตลาด หลักทรัพย์ ทำได้ไม่ง่ายนัก เพราะไม่มีราคาตลาดมาใช้ในการอ้างอิง รวมถึงงบการเงินของบริษัทย่อยเหล่านั้น ส่วนใหญ่ไม่ได้มีการชี้แจงอย่างละเอียดในงบการเงินของบริษัทแม่แต่อย่างใด ทำให้การวิเคราะห์บริษัทย่อยทำได้ไม่ง่ายนัก
  • มูลค่าตลาดของ บริษัทแม่จะขึ้นกับราคาหุ้นของบริษัทย่อย ถ้าราคาหุ้นบริษัทย่อยมีราคาสูงจะทำให้มูลค่าบริษัทแม่เพิ่มสูงตามไปด้วย โดยเฉพาะในภาวะตลาดกระทิงที่ราคาหุ้นแต่ละบริษัทเพิ่มสูงขึ้นมาก อาจจะทำให้มูลค่าของบริษัทแม่มีราคาสูงเกินจริง
  • การหามูลค่า ด้วยวิธีนี้ไม่ได้พิจารณาถึงงบการเงินของบริษัทแม่ ทำให้การหามูลค่าบริษัทไม่ได้คำนึงถึงความสามารถในการดำเนินธุรกิจของบริษัท เช่น ความสามารถในการชำระหนี้ การหมุนเวียนของสินค้าคงคลัง หรือ อัตราส่วนทางการเงินอื่นๆ
  • นอกเหนือจากนั้น การหามูลค่าด้วยวิธีนี้ยังไม่ได้บ่งบอกถึงธุรกิจของบริษัทว่า จะมีทิศทางเป็นอย่างไร รวมถึงไม่ได้คำนึงถึง เรื่องของความน่าเชื่อถือของผู้บริหาร หรือ การแข่งขันในธุรกิจนั้นๆ แต่อย่างใด

  • 2. พิจารณาจากงบดุลในงบการเงินของบริษัท
  • สิ่งแรกที่เราต้องทราบให้ได้ก่อนการซื้อหุ้นของบริษัทใดบริษัทหนึ่งนั้น คือ บริษัทนั้นอยู่ในอุตสาหกรรมใด และอุตสาหกรรมนั้นมีอนาคตสดใสหรือไม่ รายได้และกำไรจะมีความมั่นคงแน่นอนต่อเนื่อง หรือใกล้จะหมดอนาคตหรือยัง
    แน่นอนว่า หากบริษัทนั้นอยู่ในอุตสาหกรรมที่กำลังอยู่ในขาลง แล้วยอดขาย กำไรก็จะต้องลดลง ซึ่งแน่นอนว่า บริษัทนั้นต้องมีมูลค่าลดลงอย่างแน่นอน หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่หากว่าธุรกิจนั้นถึงคราวต้องลาโลกนี้แน่ๆ แล้วละก็…
    มูลค่าที่เหลือจริงๆ ก็คงมีแค่เศษเหล็กและซากของสินค้าคงเหลือเท่านั้น
    ค่าความนิยม(Goodwill) ที่สั่งสมมาจึงไม่เหลือมูลค่าใดๆ แน่นอน บริษัทเหล่านี้จึงมีเอาไว้สำหรับซื้อเอามาถูกๆ และตัดแยกขายเท่านั้น
    สำหรับบริษัทที่กำลังย่ำแย่แต่ยังพอมีอนาคต สามารถเอากับมาปลุกเสกให้พื้นคืนชีพได้นั้น มันต้องมีมูลค่าแน่ๆ แต่มีเท่าไรนั้น เราต้องประมาณกันหน่อย ซึ่งเรามักจะใช้วิธี ‘Reproduction Cost of Asset’ หรือวิธีการตรวจสอบงบดุล เพื่อค้นหามูลค่าตามบัญชีของกิจการ และทำการปรับมูลค่าให้เหมาะสมอย่างที่ควรจะเป็น
    วิธีการนี้ให้เน้นไปที่มูลค่าของสินทรัพย์ของกิจการ และต้องเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าทางเศรษฐกิจด้วยนะครับ ซึ่งหมายถึงสินทรัพย์เหล่านั้นยังสามารถสร้างรายได้และเพิ่มมูลค่าให้แก่ บริษัทได้ พวกโรงงานร้าง ที่ดินเปล่านั้น ให้ประเมินแบบขายลดราคาถอดตลาดลูกเดียว และค่าความนิยม(Goodwill) นั้นต้องเอามาดูว่าควรให้มีค่าแค่ไหน
    มาดูตัวอย่างกันสักตัวอย่างหนึ่ง ซึ่งผมเอามาจากบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทยนี่เอง แต่เป็นงบของปี 2002 บริษัทนี้ประกอบธุรกิจโรงพิมพ์ สำนักพิมพ์นิตยสารชื่อดัง อีกทั้งยังเป็นผู้จัดจำหน่ายหนังสือ รวมทั้งร้านหนังสืออีกด้วย
    สิ่งที่เราจะต้องปรับค่าให้เหมาะสมนั้นจะอยู่ในส่วนของสินทรัพย์ เริ่มต้นที่เงินสด
    …เงินสดก็คือเงินสดไม่ต้องปรับอะไรทั้งสิ้น เพราะเราสามารถเอามาใช้ได้เลย แต่ถ้าเป็นรายการเทียบเท่าเงินสดต้องดูว่ามันเป็นอะไร เช่น เงินลงทุน ต้องดูว่าสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ตามมูลค่าในบัญชีหรือไม่ หรือดูที่ราคาตลาดของหลักทรัพย์ที่บริษัทลงทุนไว้และปรับค่าตามนั้น
    งานที่ยุ่งยากขึ้นเห็นจะเป็นเรื่องลูกหนี้การค้า ซึ่งเราต้องจัดการปรับค่าขึ้นหรือลงให้เป็นจริง เราสามารถหาข้อมูลจากหมายเหตุประกอบงบการเงิน บวกค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญและตรวจดูยอดเงินที่บริษัทเคยเก็บได้จริงๆ และตัดหนี้สูญออกจริงๆ เพื่อให้ได้ค่าที่ใกล้เคียงที่สุด
    และส่วนที่ยุ่งยากไม่แพ้กันเห็นจะเป็นเรื่องสินค้าคงเหลือ ต้องดูว่าเป็นสินค้าอะไร กรณีนี้เป็นพวกกระดาษ หนังสือนิตยสารเก่าๆ และหนังสือเล่ม เราต้องไปดูว่าแต่ละอย่างมีเท่าไรและปรับค่าไปตามนั้น สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น รายการนี้มักเป็นที่หมกอะไรต่อมิอะไรเอาไว้ ต้องดูให้ หากหาไม่ได้ว่าเป็นอะไรต้องเผื่อค่าเอาไว้มากๆ
    ในส่วนของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ส่วนหลักก็คือ ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ส่วนนี้หาข้อมูลจากหมายเหตุประกอบงบได้ แต่ควรตรวจดูราคาที่ดินก็จะดี เพราะบางที่บริษัทบันทึกบัญชีเอาไว้นานแล้วยังไม่ได้ปรับปรุง ราคาที่ดิน อาคารอาจสูงกว่าที่บันทึกเอาไว้ก็เป็นได้ ส่วนเครื่องจักรนั้นให้หักค่าเสื่อมราคาและปรับลดเผื่อเอาไว้มากๆ หน่อย เพราะของพวกนี้กว่าจะขายได้คงนาน ส่วนอื่นเล็กๆ น้อยๆ ส่วนมากจะตัดทิ้งหมด ให้สังเกตว่าบริษัทนี้ไม่มีค่าความนิยม เพราะไม่ได้ไปซื้อบริษัทอื่นมาไว้จึงไม่มี
    เมื่อปรับค่าต่างๆ เรียบร้อยแล้ว จากสินทรัพย์ทั้งหมด 1,370.11 ล้านบาท จะเหลือเพียงแต่ 936.41 ล้านบาท บริษัทนี้ขณะนั้นมีหุ้นอยู่ 19 หุ้น
    ดังนั้น ราคาจึงอยู่ที่ 49.28 บาทต่อหุ้น ณ ปี 2002 บริษัทนี้ต้นปี ราคาหุ้นเปิดที่ 41.25 บาท และเป็นราคาที่ต่ำที่สุดของปี เมื่อเทียบกับประมาณการของเราแล้ว ราคาหุ้นยังต่ำกว่ามูลค่าถึง 8 บาท หรือ 19.40% ทั้งนี้ยังไม่รวมมูลค่าของตราสินค้าอย่างนิตยสารชื่อดัง และผู้บริหารที่มีความสามารถ และเป็นผู้นำในธุรกิจนี้ ซึ่งในที่สุดส่งผลให้หุ้นของบริษัทนี้มีราคาปิดที่ปลายปีที่  90 บาท ซึ่งเป็นราคาสูงสุดของปี
    ปัจจุบัน ราคาหุ้นบริษัทนี้ก็ยังวนเวียนอยู่ในระดับ 100 บาท หรือ 10 บาทที่ราคาพาร์ 1 บาท พร้อมกับการจ่ายปันผล ทุกๆ ไตรมาส ซึ่งถ้าใครถือมาจนทุกวันนี้แล้วก็จะได้ผลตอบแทนมากกว่า 100% ยังไม่รวมเงินปันผล
    จะเห็นว่าวิธีการนี้ใช้ได้ดีทีเดียว เพียงแต่เราต้องพยายามหาบริษัทที่มีคุณภาพ  และต้องแน่ใจว่าบริษัทนี้ไม่ล้มแน่ๆ แถมยังมีมูลค่าแฝงเอาไว้อีก วิธีการนี้ยังสามารถใช้ได้กับบริษัทที่เป็นอุตสาหกรรมหนักๆ เช่น ปิโตรเคมีได้อีก เลือกบริษัทที่ไม่ล้มแน่ๆ แต่ราคาต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชีมากๆ เมื่อถึงรอบขาขึ้นของสินค้าราคาก็จะปรับขึ้นหลายเท่าตัวแน่นอน
    ในบริษัทที่มีสินค้าที่ตราสินค้าเข้มแข็งก็สามารถใช้ได้ดี อย่างเช่น โคคา โคลา ลองคิดดูว่าเราต้องใช้เงินมากแค่ไหนในการทำลายตราสินค้านี้ให้หายไปจากโลก ได้ และเงินจำนวนนั้นก็คือมูลค่าของกิจการนั้นนั่นเอง
    ในบ้านเราเองก็มีบริษัทที่ตราสินค้าเข้มแข็ง และมีมูลค่ามากเช่นกัน เพียงแต่เราต้องสรรหาและเฝ้ารอคอยโอกาสงามๆ ที่ราคาหุ้นจะตกต่ำลงมาให้เราได้ซื้อในราคาถูกๆ และต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงมากๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น