วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ความคิดเห็นของผมเกี่ยวกับข้อคิดของ Warren Buffett 
1.ปรัชญาการลงทุนข้อแรก
กฎข้อที่1 อย่ายอมขาดทุน
กฎข้อที่2 อย่าลืมกฎข้อที่ 1
Warren กล่าวเอาไว้ว่า ‘เมื่อใดที่คุณมีสภาพจิตใจที่เหมาะสม ประกอบกับสติปัญญาที่ดี เมื่อนั้นแหละ คุณจะประพฤติตัวอย่างมีเหตุผล’ การลงทุนนั้นไม่ได้มีอะไรสลับซับซ้อน ไม่ต้องการการคำนวณชั้นสูงอย่างที่เรียนกันในมหาวิทยาลัย หุ้นคือส่วนหนึ่งของธุรกิจ ตลาดหุ้นซึ่งเปลี่ยนแปลงขึ้นลง ไม่ใช่ศัตรูแต่เป็นมิตรกับเรา เพียงแต่เราไม่เขาไปมีส่วนร่วมในความโง่เขลานั้น แต่เราหาโอกาสทำกำไรจากสิ่งนั้นต่างหาก
สิ่งที่จะทำให้เราปลอดภัยได้นั้นคือ ‘ส่วนต่างความปลอดภัย หรือ Margin of Safety
Warren กล่าวไว้ว่า ‘หากคุณคิดว่า คุณสามารถเอาชนะภาวะเงินเฟ้อได้ด้วยการวิ่งเข้าวิ่งออกตลาดหุ้น ผมอยากจะเป็นโบรกเกอร์ของคุณ แต่ผมไม่ขอยอมเป็นหุ้นส่วนของคุณแน่’ เรื่องนี้ผมเห็นด้วยอย่างมาก หากลองคิดย้อนหลังดูว่าที่ผ่านมาคุณจ่ายค่านายหน้าซื้อขายไปเป็นจำนวนเท่าไร คุณจะตกใจว่าทำไมมันมากนัก (สำหรับการซื้อขายบ่อยๆ) และสำหรับการลงทุนยาวๆ แล้วน่าตกใจเช่นกัน เพราะทำไมมันน้อยนัก
Warren กำลังจะบอกว่า เขาใช้ประโยชน์จากการที่ตลาดไม่ได้มีประสิทธิภาพตลอดเวลา โดยเฉพาะตลาดที่มีผู้เล่นส่วนใหญ่ขาดเหตุผลในการลงทุนบ้านเรา ตลาดหุ้นเป็นตลาดเกิดใหม่และมีมูลค่าตลาดรวมน้อยมาก มีบริษัทเล็กบริษัทน้อยมากมายกลุ่มคนที่เห็นโอกาสทำกำไรจากความไม่มีประสิทธิภาพของตลาดก็มีไม่น้อย และในการสร้างภาพลวงตาให้แก่ผู้เล่นรายเล็กรายน้อย ซึ่งรวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ก็จะทำได้ง่ายและใช้เงินจำนวนไม่มาก ที่ผ่านมาเราได้เห็นปรากฏการณ์ทำนองนี้บ่อยครั้ง แต่ละครั้งก็สร้างความสูญเสียให้แก่รายย่อยไม่ใช่น้อย แต่ปรากฏการเช่นนี้ก็ยังคงเกิดซ้ำแล้วซ้ำอีก เพียงแต่ต่างโอกาส ต่างเวลาและต่างหุ้นกันไป
------------------------------------------------------------------------------
Warren Buffett กล่าวว่า ‘ผลสำเร็จของการลงทุน ไม่ได้เป็นสัดส่วนกับ IQ แม้แต่น้อย’ และมันเป็นสัดส่วนกับอะไรละครับ?
คำตอบสำหรับผมคือ
-คุณควบคุมให้ตัวเองศึกษาธุรกิจของบริษัทที่คุณจะลงทุนให้ได้อย่างทะลุปรุ โปร่งหรือไม่
-คุณควบคุมให้ตัวเองอดทนรอที่จะซื้อหุ้นบริษัทดีๆ ที่คุณศึกษามาอย่างทะลุปรุโปร่งในตอนที่ราคาลดกระหน่ำได้หรือไม่
-คุณควบคุมให้ตัวเองอดทนรอที่จะให้บริษัทของคุณสร้างมูลค่าเพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้น และสะท้อนออกมาได้หรือไม่
-คุณมีวินัยพอที่จะไม่ทำอะไรที่เสี่ยงๆ แม้แต่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ได้หรือไม่
-คุณทนเห็นหุ้นของคุณอยู่นิ่งๆ แต่หุ้นอื่นวิ่งแซงไปหลายช่วงตัวได้หรือไม่
---------------------------------------------------------------------------
ระดับการลงทุนของแต่ละคนได้ 7 ระดับ
1.ระดับศูนย์: ไร้ระดับ (Non-Existent)
จริงๆ แล้วพวกเขาไม่เข้าใจว่า ปัญหาไม่ได้เกิดขึ้นเพราะหาเงินได้ไม่พอ แต่ปัญหาเกิดจากนิสัยการใช้จ่ายเงินเกินตัวของตนเองมากกว่า
2.ระดับหนึ่ง: ช่างกู้ (Borrower)
คนอยู่ในระดับนี้มักจะใช้เงินที่หาได้ไปซื้อนู้นซื้อนี่จนหมด เรียกว่าใช้เงินเดือนชนเดือน ถ้ามีเงินไม่พอใช้ วิธีแก้ปัญหาของชนกลุ่มนี้ก็คือ “กู้เพิ่ม”
3.ระดับสอง: ช่างเก็บ (Saver)
เก็บออมเงินที่หาได้ในแต่ละเดือนอย่างสม่ำเสมอ เงินที่เก็บได้ก็มักจะฝากเอาไว้ในธนาคารที่มี “ความเสี่ยงต่ำ’  ถึงต่ำที่สุด เช่น บัญชีออมทรัพย์ หรือ บัญชีเงินฝากประจำ คนกลุ่มนี้มักจะเก็บเงินเอาไว้เพื่อ “ใช้จ่าย” มากกว่านำไป “ลงทุน” เช่น เก็บเงินเพื่อซื้อโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ หรือ ซื้อเครื่องเสียงชุดใหม่ ฯลฯ
พวกเขาไม่ชอบ”ความเสี่ยง” แม้แต่นิดเดียว วิธีการลงทุนที่เยี่ยมยอดของคนกลุ่มนี้ก็คือ การซื้อประกันแบบสะสมทรัพย์ หรือฝากเงินไว้กับธนาคารที่เขามั่นใจได้ว่าเงินต้นไม่มีวันลดลง ซึ่งในความเป็นจริง พวกเขาไม่เข้าใจว่าผลตอบแทนจากเงินฝากธนาคารที่แท้จริงนั้นติดลบ เพราะอัตราเงินเฟ้อในปัจจุบันสูงกว่าดอกเบี้ยที่ได้รับ ในระยะยาวแล้วเงินออมที่มีอยู่อาจจะไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นใน อนาคต เมื่อถึงคราวเกษียณ พวกเขาอาจจะต้องพึ่งพาลูกหลาน
4.ระดับสาม: นักลงทุนผู้ล้าหลัง (Passive Investor)
นักลงทุนประเภทนี้ รู้สึกว่าตนเองมีความจำเป็นจะต้องลงทุนบ้าง ส่วนใหญ่มักจะลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือลงทุนในกองทุนรวมอื่นๆ พูดได้ว่าคนกลุ่มนี้เป็นคนฉลาด มีการศึกษาดี ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่ม”คนชั้นกลาง”ของประทศ แต่ถ้าพูดถึงเรื่อง”การลงทุน”แล้ว คนกลุ่มนี้เรียกว่าแทบจะไม่มีความรู้เรื่องการเงินแต่อย่างใดหรือถ้ามีก็มี น้อยมาก
นักลงทุนผู้ล้าหลังประเภทหนึ่งเรียกว่า พวกชอบอยู่ในกระดอง (Gone-into-a-shell Passive Investor) คือ กลุ่มคนที่มักจะคิดอยู่เสมอว่า ตนเองไม่มีวันที่จะเข้าใจเรื่องเงินๆ ทองๆ ได้
- นักลงทุนผู้ล้าหลังประเภทสอง คือ พวกที่ชอบคิดว่า ‘ไม่มีทางทำได้’ (It-Can’t-Be-Done Passive Investor) นักลงทุนประเภทนี้เข้าใจว่ามีทางที่จะได้ผลตอบแทนจากการลงทุนมากกว่า ดอกเบี้ยเงินฝากในธนาคาร แต่การที่จะทำอย่างนั้นได้อยู่นอกเหนือความสามารถของตนเองและคนอื่น คนที่จะลงทุนได้ประสบความสำเร็จในความเห็นของคนกลุ่มนี้จะต้องเป็นคนที่มี “พรสวรรค์” หรือไม่ก็เป็นคนที่”โชคดี”ที่รู้ข่าววงใน หรือไม่ก็ต้องเป็น”ผู้เชี่ยวชาญ”ทางการเงินเท่านั้น 
- นักลงทุนผู้ล้าหลังประเภทสุดท้ายคือ นักลงทุนผู้ตกเป็น ‘เหยื่อ’ (Victim Passive Investor)เช่นเดียวกับสองพวกแรก นักลงทุนประเภทนี้เป็นกลุ่มคนที่ฉลาด มีการศึกษา มีหน้าที่การงานดี แต่เมื่อพูดถึงการลงทุนแล้ว นักลงทุนประเภทนี้ไม่มี ‘หลักการ’ หรือ ‘กฎ’ ในการลงทุนแต่อย่างไร มักจะชอบซื้อหุ้นตอนราคาสูงเพราะกลัวตกรถไฟ แต่แล้วก็ตกใจขายเมื่อเห็นราคาหุ้นปรับตัวลงส่วนใหญ่มากกว่า 90% มักจะขาดทุนในตลาดหุ้น แต่กระนั้นก็ยังไม่เข็ดและพยายามค้นหา″เคล็ดลับ”ในการลงทุนในตลาดหุ้นต่อไป พวกเขามองตลาดหุ้นเหมือน”บ่อนพนัน”ที่ถูกกฎหมาย
5.ระดับที่สี่: นักลงทุนอัตโนมัติ (Automatic Investor)

นักลงทุนระดับนี้เข้าใจอย่างชัด แจ้งว่าการลงทุนเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากในชีวิตปัจจุบัน สิ่งหนึ่งที่ทำให้เขาเหล่านั้นต่างจากนักลงทุนผู้ล้าหลัง (Passive Investor) ก็คือ นักลงทุนอัตโนมัติมีส่วนร่วมในการตัดสินใจลงทุนของตนเอง และมีแผนการในการลงทุนระยะยาวที่ชัดเจนในการที่จะไปให้ถึงเป้าหมายทางการ เงินที่วางไว้ พวกเขาไม่ค่อยสนใจที่จะ”เก็งกำไร”สักเท่าไหร่นัก ถ้าจะเก็งกำไรก็มักจะใช้เงินเพียง 5-10% ของเงินลงทุนเท่านั้น พร้อมทั้งมีกฎตายตัวที่แน่นอนที่จะ”จำกัด”ความเสี่ยงของการเก็งกำไรส่วน ใหญ่จะใช้วิธีการลงทุนที่เน้น”ความเรียบง่าย” เช่น ลงทุนระยะยาวในหุ้นพื้นฐานดี หรือซื้อกองทุนที่มีการบริหารงานที่ดี โดยมีโอกาสในการทำผลตอบแทนได้ 10%+ ต่อปีพวกเขาลงทุนด้วยแผนการลงทุนอัตโนมัติ เช่น แบ่งเงินส่วนหนึ่งทุกๆ เดือนเพื่อนำไปซื้อหุ้นหรือกองทุน 
ขณะที่ผู้ คนส่วนใหญ่มักจะ”เก็บเงิน” ที่เหลือจากการใช้จ่าย เช่น ทำงานได้เงินเดือนประจำ เมื่อเงินเดือนออกก็เริ่มใช้จ่ายไปเรื่อยๆ โดยไม่มีการกำหนดว่าจะใช้จ่ายรายการไหนเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ เมื่อถึงสิ้นเดือนมักจะพบว่า เงินเดือนที่ได้รับมานั้นหมดลงพอดี ถึงแม้จะตั้งใจไว้ว่าจะเก็บเงิน แต่ก็มักมีค่าใช้จ่าย “ฉุกเฉิน” ในแต่ละเดือนอยู่เสมอๆ สุดท้ายแล้วก็เก็บเงินไม่ได้สักที
สำหรับนัก ลงทุนระดับนี้จะใช้จ่ายเงินที่เหลือจาก “เงินเก็บ” นั่นคือเมื่อได้รับเงินเดือนจะแบ่งนำไปลงทุนส่วนหนึ่งอย่างสม่ำเสมอทุกๆ เดือน อาจแบ่งเป็นเงินเก็บประมาณ 30-50% ที่เหลือถึงนำไปใช้จ่าย
ระดับ ขั้นของการลงทุนระดับนี้เป็นจุดเริ่มต้นของความร่ำรวย พวกเขาเข้าใจว่า อิสรภาพทางการเงินไม่ได้เกิดจาก “โชค” แต่เกิดจากความอดทนและการวางแผนทางการเงินที่ดี
6.ระดับห้า: นักลงทุนผู้ก้าวหน้า(Active Investor)
นัก ลงทุนระดับห้าเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า การที่จะมาถึงระดับนี้ได้จำเป็นต้องมี”หลักการ”และ”กฎ”ในการลงทุนที่ต้อง ปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ถึงแม้พวกเขาจะลงทุนในเครื่องมือที่แตกต่างกัน เช่น หุ้น อสังหาริมทรัพย์ หรืออัตราแลกเปลี่ยนก็ตาม แต่หลักการและกฎเกณท์ต่างๆ ที่ใช้ ไม่ได้มีความแตกต่างกัน พวกเขาเข้าใจในสิ่งที่กำลังทำอยู่ และพยายามที่จะทำผลตอบแทนจากการลงทุนได้มากที่สุด ขณะเดียวกันก็สามารถ”จำกัด”ความเสี่ยงในการลงทุนได้เป็นอย่างดี ผลตอบแทนจากการลงทุนปีละ 20-100% ถือเป็นเรื่องปกติ สำหรับนักลงทุนระดับนี้
ขณะ ที่คนส่วนใหญ่”ทำงานเพื่อเงิน” แต่นักลงทุนระดับห้า″ใช้เงินทำงาน”อย่างขะมักเขม้น
7.ระดับหก: นักลงทุนผู้ยิ่งใหญ่ (Capitalist)

นักลงทุนผู้ยิ่งใหญ่ นักลงทุนระดับนี้เป็นผู้สร้างความเจริญให้กับสังคมและมนุษยชาติ เป็นผู้สร้างงานให้กับคนมากมาย และยกระดับมาตรฐานการครองชีพของคนในโลกให้ดีขึ้น สิ่งที่พวกเขาต้องการก็คือ การที่สิ่งต่างๆ ที่พวกเขาสร้างขึ้นมาจะคงอยู่ตลอดไปถึงแม้พวกเขาจะจากโลกนี้ไปแล้ว มีน้อยคนที่จะมาถึงระดับขั้นนี้ได้ในโลก
ลองนึกถึงฟอร์ด, ร็อคกี้เฟลเลอร์, หรือแม้กระทั่งบิล เกตต์ ซึ่งเป็นผู้ที่แทบจะเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตของคนเราทุกคนในโลกนี้ ด้วยรถยนต์ราคาถูก หรือซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ที่คนทั่วโลกใช้ในการติดต่อสื่อสารกันในชีวิตประจำ วัน





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น