วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การหามูลค่าหุ้น
1.การหามูลค่าหุ้นจากเงินปันผล (Dividend Discount Model)
2.การคิดมูลค่าแบบการใช้ส่วนลดของกระแสเงินสดอิสระ (DCF – Discount Cashflow Model)
3.การวัดมูลค่าหุ้นที่กำลังเติบโต (Growth Stock Valuation)
4.การหามูลค่าหุ้นวัฎจักร (Cyclical Stock)
5.การหามูลค่าของวอร์แรนต์ (Warrant)
สิ่งที่ต้องทำสำหรับผู้เริ่มต้น
1.เริ่มศึกษาหาความรู้ในหลักการลงทุนที่ถูก ต้อง
2.หาข้อมูลของบริษัท จากรายงานประจำปี แบบ56-1 และงบการเงิน
3.เมื่อแน่ใจในข้อมูลบริษัทที่วิเคราะห์มาอย่าง ดีแล้ว คราวนี้มาดูว่าราคาหุ้นนั้นมันสูงหรือต่ำกว่ามูลค่าที่เราประเมินได้ มีส่วนต่างความปลอดภัยเพียงพอไหม สิ่งนี้จะช่วยทำให้คุณนิ่งมากขึ้นเพราะอย่างไรก็ตามคนไม่เจ็บตัวมากแน่ๆ
4.ติดตามผลดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อดูพัฒนาการทั้งด้านดีและด้านที่อ่อนแอของบริษัทเพื่อประกอบการตัดสินใจ ว่าจะขายออกหรือถือต่อไป
5.โดยปกติผมจะใช้เวลาในการศึกษาบริษัทนั้น เป็นเวลานานก่อนจะซื้อ ดังนั้นผมไม่มีปัญญาศึกษาหุ้นได้มากมาย ผมจึงมีหุ้นเพียงไม่เกินสี่บริษัทเท่านั้น หรือช่วงที่มากสุดก็ไม่เกินห้าบริษัท 
              ถ้าคุณลดความเสี่ยงนั่นคือคุณทำความเสี่ยงให้ลดลงไปด้วยความรู้ความเข้า ใจในบริษัทที่ชาวบ้านรู้แค่ผิวเผิน และแน่นอนคุณได้เปรียบคนอื่นเขาอยู่หลายก้าว
------------------------------------------------------------------------
การซื้อหุ้นขณะที่หุ้นกำลังถูกเลหลัง ถือว่าเป็นกลยุทธในการลงทุนแบบหนึ่งเลยทีเดียว 
หุ้นก้นบุหรี่(Cigar Butt) ก็ได้ คือหุ้นเหล่านี้มีราคาถูกเมื่อเทียบกับมูลค่า แต่ถ้าราคามันเข้าใกล้มูลค่าแล้วสิ่งที่ต้องทำคือต้องรีบขายมันออกไป การค้นหาหุ้นประเภทนี้ต้องใช้ความพยายามมากสักหน่อย ต้องคอยตรวจสอบงบการเงิน ค้นหาข้อมูลทางธุรกิจเพื่อตามรอยการเปลี่ยนแปลงของกิจการให้พบ และที่สำคัญหุ้นประเภทนี้มีอยู่ตลอดเวลา ให้ผลตอบแทนที่สูงในเวลาไม่นาน
       ส่วนหุ้นของบริษัทที่มีรูปแบบการดำเนินธุรกิจ(Business Model) ที่ดีนั้นอาจจะต้องค้นหากันมากหน่อย ต้องศึกษารูปแบบการดำเนินธุรกิจให้ลึกซึ้ง ธุรกิจที่มีรูปแบบธุรกิจที่ดีนั้นมักจะสามารถสร้างมูลค่าที่ยั่งยืนได้อยู่ ตลอดเวลา ฉะนั้นเราไม่จำเป็นต้องรีบขายหุ้นไปในระยะเวลาสั้นๆ
--------------------------------------------------------------------------

มูลค่า ต่อลูกค้า (Customer Value): ทรัพยากรที่บริษัทใช้นั้น สามารถสร้างสินค้าและบริการที่มีคุณค่าต่อลูกค้าหรือไม่?
ลักษณะ เฉพาะของทรัพยากร (Rareness): มีเพียงบริษัทนี้เท่านั้นหรือไม่ที่มีทรัพยากรนี้? ถ้าไม่ ความสามารถที่บริษัทใช้ทรัพยากรนี้สูงกว่าคู่แข่งอย่างไร?
ความ สามารถในการเลียนแบบ (Immutability): บริษัทอื่นสามารถลอกเลียนแบบได้ง่ายหรือไม่?
การทดแทนกันได้ (Substitutability): มีทรัพยากรอย่างอื่นที่สามารถทดแทนกัน และสามารถสร้างคุณค่าต่อลูกค้าได้เท่าเทียมกันหรือไม่?
ความเหมาะสม ของทรัพยากรที่บริษัทมี (Appropriability): ใครเป็นผู้ได้ประโยชน์จริงๆ จากทรัพยากรนี้
-------------------------------------------------------------
ธรรมชาติของธุรกิจค้าปลีกคือ ซื้อสินค้าเงินเชื่อ ขายสินค้าเงินสด ยิ่งขายมากยิ่งได้เงินสดมาเก็บไว้(ในรูปเจ้าหนี้การค้า)มากซึ่งไม่เสียดอก เบี้ย ประหยัดต้นทุนเงินทุนได้มากโข

จริงๆแล้วค่า ROA นี้ เราจะต้องนำมาเปรียบเทียบกับต้นทุนเงินทุนที่มาจากทั้งหนี้สินและเงินทุนจาก ผู้ถือหุ้น ถ้า ROA สูงกว่าต้นทุนเงินทุนแสดงว่าบริษัทนั้น กำลังสร้างมูลค่าเพิ่ม ในบางครั้งเราพบว่า ROA สูงมาก แต่เราไม่ได้ดูว่าต้นทุนเงินทุนก็สูงด้วย

บริษัททั่วๆไปแล้ว เงินทุนมักจะมาจากสองส่วนคือ 
1.เงินกู้ซึ่งเป็นการก่อหนี้ 
2.อีกส่วนหนึ่งมาจากส่วนทุนของผู้ถือหุ้น

---------------------------------------------------------------------------------------
ผล ตอบแทนที่ผู้ถือหุ้นคาดหวัง
1.ค่าเสียโอกาส
2.ค่าชดเชยความเสี่ยง


             ปกติแล้ว ROE ควรจะมีค่าสูงกว่า ROA ในกรณีที่บริษัทมีหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย



Common Earning Leverage, CEL (Net Income/EBIT) หมายถึง ในกำไรสุทธินั้นเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของEBIT เพราะเนื่องจาก กำไรสุทธินั้นคือ EBIT – ดอกเบี้ยจ่าย  ภาษี หรือ หมายถึงว่า ในEBIT 100% ผู้ถือหุ้นมีสิทธิกี่เปอร์เซ็นต์
Capital Structure Leverage, CSL (Assets/Shareholder’ Equity) หมายถึงใน สินทรัพย์100% นั้น ใช้ส่วนผู้ถือหุ้นกี่เปอร์เซ็นต์
CEL จะสูงหรือ ต่ำนั้นขึ้นอยู่กับ ดอกเบี้ยจ่าย และภาษี ที่น่าสนใจคือดอกเบี้ยจ่าย ส่วนภาษีนั้นจ่ายในอัตราเท่ากันเกือบทุกบริษัท ตัวแปรของดอกเบี้ยจ่ายมีสองส่วน คือ ถ้ามีหนี้มาก ก็เสียดอกเบี้ยมาก หรือ อัตราดอกเบี้ยที่บริษัทเสียสูงหรือต่ำ ค่าๆนี้จะไปสัมพันธ์กับ CSL


CSL จะสูงหรือต่ำนั้นให้ดูว่า สินทรัพย์ที่มีอยู่ทั้งหมดมาจากส่วนทุนกี่เปอร์เซ็นต์ ค่าๆนี้ควรมีค่าไม่น้อยไปกว่าในกรณีของบริษัทที่ดำเนิน งานอย่างต่อเนื่องได้ ไม่นับรวมบริษัทที่ขาดทุนเกินทุน ค่านี้น่าสนใจตรงที่ในกรณีที่อัตราดอกเบี้ยต่ำๆ การใช้เงินกู้มาลงทุนจะทำให้ROEสูงขึ้น เพราะCELจะ มีค่าไม่ต่ำ เมื่อคูณกับCSLที่มีค่าสูงๆ (ใช้เงินกู้มาก) เมื่อนำไปคูณกับROAแล้วจะทำให้ROEสูงกว่า ROAมาก แต่ในทางกับกัน หากอัตราดอกเบี้ยสูง การมีCSLสูง มันจะไปลดROEให้ ต่ำลง


ดัง นั้นพอจะสรุปได้ว่า ตราบใดที่ ROA มี ค่าสูงกว่าอัตราดอกเบี้ย ตราบนั้น ROEก็จะยังสูงกว่าROA การหาค่าต่างๆเหล่านี้ออกมาก็เพื่อตรวจสอบว่า การที่ROEสูง นั้น สูงมาจาก ROA ซึ่งเป็นการใช้สินทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพ หรือ ว่าเกิดจากการใช้ข้อได้เปรียบจากการก่อหนี้ในสภาวะที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ใน ระดับต่ำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น