สัญญาณแห่งคุณค่า
1.Market Share ก่อให้เกิดความได้เปรียบในแง่ของต้นทุนการผลิตและการขายของสินค้าต่อหน่วยซึ่งจะลดลง และนั่นก็จะทำให้ได้เปรียบในการแข่งขันมากขึ้นไปอีก ก่อให้เกิด “วงจรแห่งความรุ่งเรือง” ต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ
2.บริษัทสามารถควบคุมราคาขายของสินค้าของบริษัทได้ดี นั่นก็คือ บริษัทสามารถกำหนดหรือควบคุมราคาขายสินค้าของบริษัทได้ในระดับที่มีเหตุผล คือมีกำไรที่เพียงพอ นี่เป็น Value หรือคุณค่าของกิจการ
3.ลูกค้ามีความภักดีต่อสินค้าหรือยี่ห้อของบริษัท ถ้าพบว่าลูกค้ามีความภักดีมาก ไม่เปลี่ยนไปใช้สินค้าหรือบริการของคู่แข่งง่าย ๆ แบบนี้ก็ถือว่าเป็น Value ที่มีคุณค่า
4.Profit Margin หรือเปอร์เซ็นต์กำไรเมื่อเทียบกับยอดขายของบริษัทเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นี่เป็นสัญญาณที่ต้องมองย้อนหลังไปหลาย ๆ ไตรมาศ สาเหตุหลายอย่างเช่น บริษัทสามารถขายสินค้าในราคาแพงขึ้นหรือสามารถลดต้นทุนลงไปเรื่อย ๆ ซึ่งถือว่าเป็น Value หรือคุณค่าที่ดีมาก
5.Return On Equity (ROE) หรือ ผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นค่อนข้างสูงและสม่ำเสมอหรือเพิ่มขึ้น ตัวเลขที่จะแสดงถึง Value หรือคุณค่านั้นผมคิดว่าน่าจะต้องไม่ต่ำกว่า 14-15% ต่อปี ยิ่งสูงก็ถือว่ามี Value มากขึ้นเท่านั้น แต่นี่ก็ต้องหมายถึงว่าบริษัทไม่ได้กู้หนี้มากเกินกว่าที่ควรเป็นซึ่งก็คือควรจะมีหนี้ไม่เกิน 4-5 เท่าของกำไรต่อปี ยกเว้นกิจการที่มีรายได้และกำไรค่อนข้างแน่นอนเช่นพวกกิจการสาธารณูปโภคที่อาจจะยอมให้มีหนี้มากกว่านั้นได้ เรื่องของ ROE นั้น ผมคิดว่าแทบจะบอกได้เลยว่าถ้ากิจการไหนมี ROE ต่ำมากเช่นต่ำกว่า 10% ต่อปีอย่างต่อเนื่องยาวนาน แบบนี้ต้องบอกว่าหุ้นไม่ค่อยมี Value เท่าไร
6.กิจการที่สร้างกระแสเงินสดดี ไม่ใช่กิจการที่ต้องลงทุนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ หรือเป็นกิจการที่ต้องใช้เงินเพื่อบำรุงรักษาเครื่องจักร อุปกรณ์ค่อนข้างมากและตลอดเวลา ยิ่งกิจการที่ขยายตัวได้โดยแทบจะไม่ต้องลงทุนเพิ่มก็ต้องถือว่าเป็นกิจการที่มีคุณค่าสูง เพราะกิจการแบบนี้เมื่อมีกำไรก็มักจะสามารถจ่ายปันผลได้ในอัตราที่สูง
7.เรื่องของผู้บริหาร คุณค่าของกิจการนั้นขึ้นอยู่กับตัวผู้บริหารค่อนข้างมาก ผู้บริหารที่มีความโปร่งใส เปิดเผยหรือเปิดตัวต่อสาธารณชนไม่แอบอยู่ใน “มุมมืด” ผู้บริหารที่มีความซื่อสัตย์สุจริต ผู้บริหารที่ทำอะไรมีเหตุมีผล ผู้บริหารที่ตัดสินใจอะไรก็คำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น และที่สำคัญ ผู้บริหารที่จัดสรรผลกำไรอย่างเหมาะสม นั่นคือ จ่ายปันผลให้กับผู้ถือหุ้นอย่างยุติธรรม เหล่านี้เป็นคุณค่าของบริษัท
----------------------------------------------------
Effect นั้น หมายถึงผลกระทบ หรืออิทธิพลอันเนื่องมาจากการกระทำของคนหรือกลุ่มของนักลงทุนที่มีต่อราคาหุ้นซึ่งอาจจะไม่นับหรือยังไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องของพื้นฐานของบริษัท แต่เป็นเรื่องที่การกระทำของคนหรือกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่ส่งผลให้มีคนทำตามจำนวนมาก ซึ่งส่งผลให้ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นหรือลงมากกว่าที่ควรเป็น
ในเมืองไทยนั้น Effect ก่อนหน้านี้เท่าที่เห็นก็จะมีเฉพาะที่มาจากนักเก็งกำไรหรือ “นักปั่น” หุ้นรายใหญ่ที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ ในสมัยก่อนนั้น พอมีข่าวว่า เซียนหรือรายใหญ่กำลังเข้ามาเล่นหุ้นตัวไหน หุ้นตัวนั้นก็ “วิ่งกันกระจาย” เพราะคนเชื่อว่าต้องรีบซื้อก่อนที่มันจะวิ่ง พอคนจำนวนมากคิดแบบนั้น หุ้นก็ต้องขึ้นทั้ง ๆ ที่พื้นฐานบริษัทอาจจะแย่มาก อย่างไรก็ตาม Effect เนื่องจากขาใหญ่นั้น ในระยะหลังก็เริ่ม “เลือนลาง” ไปเนื่องจากคนที่ “ซื้อตาม” นั้นจำนวนมาก “หนีไม่ทัน” และมักจะขาดทุน จึงเลิกเชื่อถือ ผลก็คือ Effect เหล่านั้นก็หมดไปพร้อม ๆ กับความนิยมในการเล่นหุ้นเก็งกำไรที่ไม่มีพื้นฐาน และนั่นคงเป็นจุดเริ่มต้นของการลงทุนแบบ Value Investment ที่เริ่มแพร่หลายและได้รับการยอมรับมากขึ้น
VI Effect
1.พลังเงิน
2.ผลงานและความรอบรู้ในตัวกิจการของ VI ระดับ “เซียน”
3.พลังของการสื่อสาร
4.พลังของความคิดและความเชื่อที่คล้ายคลึงกันของ VI นี่เป็นเรื่องที่ทำให้เกิด Effect ง่ายขึ้นเข้าทำนอง “สามัคคีคือพลัง”
5.
------------------------------------------------
VI แบบ Aggressive
1.หุ้นของกิจการที่มีผลประกอบการที่เป็นวัฎจักรรุนแรง
2.หุ้นเล็กที่ไม่มีใครเหลียวแล บางคนเรียกว่า “หุ้นเงา”
3.หุ้น “นางฟ้าตกสวรรค์”
4.หุ้นฟื้นจากภาวะล้มละลายหรือปัญหารุนแรงทางการเงินและธุรกิจ
5.หุ้นบลูชิพที่มีราคาตกต่ำลงมากเนื่องจากปัญหาบางอย่างที่เกิดขึ้นครั้งเดียว
6.หุ้นซุปเปอร์สต็อก นี่คือการลงทุนในหุ้นที่มีคุณสมบัติ “สุดยอด”
------------------------------------------------
----------------------------------------------------
Effect นั้น หมายถึงผลกระทบ หรืออิทธิพลอันเนื่องมาจากการกระทำของคนหรือกลุ่มของนักลงทุนที่มีต่อราคาหุ้นซึ่งอาจจะไม่นับหรือยังไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องของพื้นฐานของบริษัท แต่เป็นเรื่องที่การกระทำของคนหรือกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่ส่งผลให้มีคนทำตามจำนวนมาก ซึ่งส่งผลให้ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นหรือลงมากกว่าที่ควรเป็น
ในเมืองไทยนั้น Effect ก่อนหน้านี้เท่าที่เห็นก็จะมีเฉพาะที่มาจากนักเก็งกำไรหรือ “นักปั่น” หุ้นรายใหญ่ที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ ในสมัยก่อนนั้น พอมีข่าวว่า เซียนหรือรายใหญ่กำลังเข้ามาเล่นหุ้นตัวไหน หุ้นตัวนั้นก็ “วิ่งกันกระจาย” เพราะคนเชื่อว่าต้องรีบซื้อก่อนที่มันจะวิ่ง พอคนจำนวนมากคิดแบบนั้น หุ้นก็ต้องขึ้นทั้ง ๆ ที่พื้นฐานบริษัทอาจจะแย่มาก อย่างไรก็ตาม Effect เนื่องจากขาใหญ่นั้น ในระยะหลังก็เริ่ม “เลือนลาง” ไปเนื่องจากคนที่ “ซื้อตาม” นั้นจำนวนมาก “หนีไม่ทัน” และมักจะขาดทุน จึงเลิกเชื่อถือ ผลก็คือ Effect เหล่านั้นก็หมดไปพร้อม ๆ กับความนิยมในการเล่นหุ้นเก็งกำไรที่ไม่มีพื้นฐาน และนั่นคงเป็นจุดเริ่มต้นของการลงทุนแบบ Value Investment ที่เริ่มแพร่หลายและได้รับการยอมรับมากขึ้น
VI Effect
1.พลังเงิน
2.ผลงานและความรอบรู้ในตัวกิจการของ VI ระดับ “เซียน”
3.พลังของการสื่อสาร
4.พลังของความคิดและความเชื่อที่คล้ายคลึงกันของ VI นี่เป็นเรื่องที่ทำให้เกิด Effect ง่ายขึ้นเข้าทำนอง “สามัคคีคือพลัง”
5.
------------------------------------------------
VI แบบ Aggressive
1.หุ้นของกิจการที่มีผลประกอบการที่เป็นวัฎจักรรุนแรง
2.หุ้นเล็กที่ไม่มีใครเหลียวแล บางคนเรียกว่า “หุ้นเงา”
3.หุ้น “นางฟ้าตกสวรรค์”
4.หุ้นฟื้นจากภาวะล้มละลายหรือปัญหารุนแรงทางการเงินและธุรกิจ
5.หุ้นบลูชิพที่มีราคาตกต่ำลงมากเนื่องจากปัญหาบางอย่างที่เกิดขึ้นครั้งเดียว
6.หุ้นซุปเปอร์สต็อก นี่คือการลงทุนในหุ้นที่มีคุณสมบัติ “สุดยอด”
------------------------------------------------
สัญญาณแห่งความรุ่งเรือง
1.ร้านสะดวกซื้อมีคนเดินหยิบสินค้าและเข้าคิวจ่ายเงินมากขึ้น ร้านสะดวกซื้อนั้น จริง ๆ แล้วเป็นสัญญาณที่ไม่แรงหรือเป็นสัญญาณอ่อน สัญญาณว่าคนชั้นกลาง-ล่าง มีเงินมากขึ้นในการซื้อสินค้า เครื่องดื่มและอาหารบริโภคในชีวิตประจำวัน ดังนั้น นี่เป็นสัญญาณว่าเศรษฐกิจในระดับรากหญ้าน่าจะดีขึ้น
2.ห้างสรรพสินค้าขนาดเล็กที่ให้บริการคนใน “ท้องถิ่น” และคนชั้นกลางที่เป็นพนักงานออฟฟิสที่มาต่อรถแถว ๆ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เริ่มรู้สึกว่า ร้านอาหารที่มีอยู่หลายร้านต่างก็เริ่มมีคิว เมื่อสั่งอาหารแล้วก็ต้องรอนานขึ้นกว่าที่อาหารจะมาเสิร์พ สัญญาณว่าคนชั้นกลางมีเงินมากขึ้น และอาหารเป็นสิ่งแรกที่พวกเขาจะใช้เงินเพิ่ม
3. ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่และหรูหรากลางเมือง นี่คือสถานที่ที่ผมจะต้องเข้าไปซื้อหาสินค้าและอาหารเพื่อที่จะรับประทานตลอดสัปดาห์ เรื่องที่จอดรถ ก่อนหน้านี้การหาที่จอดรถก็ไม่ง่ายอยู่แล้ว แต่ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมานั้น การหาที่จอดรถก็ยากขึ้นเรื่อย ๆ บางวันต้องถูกปัดให้ไปจอดรถในจุดที่อยู่ใกล้เคียงเนื่องจากที่จอดรถเต็มเกินไป สร้างความยุ่งยากให้กับผมที่ต้องขนอาหารจำนวนมากในแต่ละครั้ง และนี่เป็นสัญญาณว่า “คนรวย” กำลังใช้จ่ายมากขึ้น
4.สัญญาณที่แรงมาก “รถป้ายแดง” ที่วิ่งอยู่ในท้องถนน ในยุคนั้น รถป้ายแดงที่วิ่งอยู่บนท้องถนนนั้นมีจำนวนมากจนเป็นที่สังเกตได้ชัดเจน เป็นสัญญาณที่บอกว่าคนมีรายได้สูงและคนชั้นกลางระดับสูงมีความมั่นใจและมีเงินหรือมีปัญญาที่จะซื้อรถมาใช้ได้มากขึ้น นั่นหมายความว่าเศรษฐกิจกำลังร้อนแรง และก็คงเติบโตสูงมากอย่างที่มีการคาดกันว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้อาจจะโตถึงเกือบ 10% ได้
5.การซื้ออสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะคอนโดมิเนียม นี่เป็นสัญญาณที่แรงมาก การซื้อบ้านและคอนโดก็อยู่ในระดับที่ดีมาตลอดหลายปีที่ผ่านมา และเป็นการแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยแข็งแรงดี คนระดับกลางและสูงมีเงินและพร้อมที่จะซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่ออยู่อาศัยและลงทุนจำนวนมาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น