วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วิธีการคัดเลือกว่าหุ้นตัวไหนเป็นหุ้น  Value หรือเป็นหุ้นคุณค่า
ก็คือ  การหาหุ้นที่มีค่า  PE ไม่เกิน  10  เท่า  ค่า PB ไม่เกิน 1 เท่า  และค่าผลตอบแทนปันผลหรือ Dividend Yield ไม่ต่ำกว่า 3%   โดยที่หุ้นตัวไหนเข้าเกณฑ์ดังกล่าวในตอนสิ้นปีที่แล้ว  เราก็ซื้อหุ้นเข้าพอร์ตเพื่อลงทุนในปีต่อมา   เราจะถือหุ้นดังกล่าวเป็นเวลาหนึ่งปี   พอถึงสิ้นปีเราก็มาดูอีกทีหนึ่งว่าหุ้นยังเข้าเกณฑ์หรือไม่   ถ้ายังเข้าเกณฑ์เราก็ยังถือต่อไปเพราะมันยังเป็นหุ้น Value อยู่   ถ้าไม่เข้าเกณฑ์แล้วเราก็ขายทิ้งแล้วเอาเงินไปลงในหุ้นอื่นที่เข้าเกณฑ์แทน  ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ  ทุกปี แล้วมาดูว่าจะได้ผลตอบแทนเท่าไรเทียบกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์
ผลของการศึกษาสรุปได้
1  จำนวนหุ้น Value ที่เข้าเกณฑ์และถูกเลือกลงทุนในปี 2543 มี 47 บริษัท และถือว่ามีจำนวนน้อยที่สุดในช่วง 9 ปีที่ศึกษา  สาเหตุคงเป็นเพราะในปีนั้นบริษัทจำนวนมากคงยังขาดทุนกันอยู่ทำให้หาหุ้นที่มีค่า PE ต่ำได้ยาก  หลังจากนั้นแล้ว  จำนวนหุ้นที่เข้าข่ายเป็นหุ้น Value ในแต่ละปีเฉลี่ยอยู่ที่ 70 บริษัท
2.พอร์ตของหุ้น Value ที่มีหุ้นประมาณ 70 ตัว ในแต่ละปีในช่วงเก้าปีนั้น  กำไรทุกปียกเว้นปี 2551 ที่ขาดทุนประมาณ 2%  ปีที่กำไรสูงสุดคือปี 2549 ที่กำไร 73.56%  โดยที่กำไรเฉลี่ยแบบทบต้นเท่ากับประมาณ 34%  ต่อปี  ในขณะที่ผลตอบแทนของตลาดหลักทรัพย์คิดจากดัชนีตลาดนั้น  ในช่วง 9 ปี  มีขาดทุน  4  ปี  และขาดทุนหนักที่สุดในปี 2551 ที่ประมาณ 43%  ปีที่ดีที่สุดคือปี 2546 ซึ่งดัชนีตลาดขึ้นไปถึง 118%  และเป็นปีเดียวที่ผลตอบแทนของตลาดดีกว่าผลตอบแทนของหุ้น VI  โดยเฉลี่ยแล้ว  ผลตอบแทนทบต้นของตลาดในช่วง 9 ปีนั้น  ให้ผลตอบแทนประมาณ 4.8%  ต่อปี ซึ่งน้อยกว่าพอร์ต  VI ถึงปีละประมาณ 29%
3.ถ้าสมมุติว่าเราลงทุนเริ่มต้นในปี 2543 จำนวน 1 ล้านบาท  ภายในสิ้นปี 2551 พอร์ต VI จะโตขึ้นเป็นประมาณ 13.6 ล้านบาท  ขณะที่ถ้าลงทุนตามดัชนีตลาดหุ้น  พอร์ตจะเพิ่มขึ้นเป็นเพียง 1.5 ล้านบาทในเวลา 9 ปี
----------------------------------------------------------
“ผู้คุมสื่อคือผู้ที่คุมอำนาจ”
อเร็น บัฟเฟตต์ ได้มองเห็นจุดนี้ก่อนคนอื่นและได้เข้าซื้อหุ้นของบริษัทวอชิงตันโพสต์ในช่วงที่ราคาหุ้นยังต่ำมากเมื่อหลายสิบปีก่อน  หลังจากนั้น  ราคาหุ้นของโพสต์ก็ปรับตัวขึ้นมามากและกลายเป็น “ตำนาน” การลงทุนหนึ่งของบัฟเฟตต์  ต่อมา เขาก็ยังได้ลงทุนในหุ้นของบริษัทโทรทัศน์ชั้นนำที่ก้าวขึ้นมาโดดเด่นแทนที่หนังสือพิมพ์  อย่างไรก็ตาม  เมื่อเร็ว ๆ  นี้ บัฟเฟตต์เองก็ยอมรับว่า  ธุรกิจและความสามารถในการทำเงินของหุ้นสื่อนั้น “เปลี่ยนไปแล้ว”  มันไม่ดีเหมือนก่อนเพราะเทคโนโลยี่การสื่อสารมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง  สื่อมีการขยายตัวออกไปกว้างขวางมากผ่านอินเตอร์เน็ตและเคเบิลทีวีที่สามารถทำได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำมาก สิ่งเหล่านี้กัดกร่อนกำไรของสื่อยุคเก่ามหาศาล
-ในอดีตหนังสือพิมพ์ค่อนข้างจะมีบทบาทพอสมควรเนื่องจากการเปิดหนังสือพิมพ์ทำได้ยาก
หนังสือพิมพ์นั้นเป็นอุตสาหกรรมที่กำลัง “ตกดิน”
ธุรกิจแมกกาซีนนั้น  มักมีลูกค้าหรือผู้อ่านชัดเจน  และสิ่งที่จะมาทดแทนยังไม่ชัดเจน  ดังนั้น แมกกาซีนที่ติดตลาดก็ยังสามารถรักษาลูกค้าและทำกำไรได้  อย่างไรก็ตาม  การเติบโตของแมกกาซีนนั้นทำได้ยากมากเนื่องจากความสนใจของคนรุ่นใหม่นั้น  เน้นไปที่สื่อสารประเภทอื่นโดยเฉพาะที่ผ่านทางอินเตอร์เน็ตและเป็นแบบมัลติมีเดีย  ดังนั้น  ธุรกิจนิตยสารต่าง ๆ  สำหรับผมแล้วก็คงไม่ดีนัก  และแม้ว่าจะไม่ถึงกับ “ตกดิน” แต่ก็คงจะโตช้ามาก
ธุรกิจทีวีมวลชนซึ่งออกอากาศให้ชมฟรีนั้น  เป็นธุรกิจที่ดีมากจนถึงปัจจุบัน  สาเหตุหนึ่งนั้นเป็นเพราะมันมีสถานีไม่กี่แห่งและมันฟรี  ดังนั้น  มันจึงมี “ลูกค้า” หรือผู้ชมมากมายเป็นล้าน ๆ  คน  ดังนั้น  แต่ละสถานีจึงสามารถขายโฆษณาได้เป็นกอบเป็นกำ  แต่ต้นทุนในการทำรายการและการส่งออกอากาศนั้นไม่สูงนัก  กำไรของบริษัททีวีจึงค่อนข้างดี  นอกจากนั้นหลังจากการลงทุนไปในครั้งแรกแล้ว  สถานีโทรทัศน์ก็ไม่ต้องลงทุนอะไรเพิ่มอีก  และการบำรุงรักษาเครื่องมืออุปกรณ์ในการส่งสัญญาณทีวีก็มีน้อยมาก  ทำให้กระแสเงินสดของกิจการดีมาก  ส่งผลให้หุ้นบริษัททีวีสามารถจ่ายปันผลได้ค่อนข้างสูง
แต่อนาคตของธุรกิจฟรีทีวีนั้นกลับเป็นเรื่องที่ไม่แน่นอน  เหตุผลก็คือ  ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี่การสื่อสารและอินเตอร์เน็ต  ทำให้เคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมสามารถเกิดขึ้นได้อย่างง่ายดายเป็นร้อย ๆ  ช่องและด้วยต้นทุนที่ต่ำมาก  ผู้ชมก็สามารถรับสัญญาณเคเบิลทีวีหรือทีวีดาวเทียมได้ด้วยค่าใช้จ่ายที่ต่ำมาก  ดังนั้น  ฟรีทีวีจึงต้องเผชิญกับคู่แข่งใหม่จำนวนมหาศาล  ยิ่งไปกว่านั้น  คนจำนวนมากโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ก็เริ่มหันเหจากการชมทีวีไปเป็นการเข้าไปอ่านหรือชมข่าวสารข้อมูลและบันเทิงทางอินเตอร์เน็ต  ปรากฏการณ์เหล่านี้เริ่มขึ้นแล้ว  ว่าที่จริงในประเทศที่เจริญแล้วก็พบว่าโฆษณาที่ผ่านทางอินเตอร์เน็ตนั้นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและเริ่มท้าทายทีวีอย่างมีนัยสำคัญ  
วิทยุ  นี่เป็นสื่อที่พอใช้ได้เฉพาะสำหรับคลื่นที่ติดตลาด  อย่างไรก็ตาม  วิทยุไม่ใช่ธุรกิจที่ใหญ่อีกต่อไป  ผู้ฟังวิทยุนั้น  จำนวนมากฟังในขณะขับรถที่ไม่สามารถทำอย่างอื่นได้นอกจากฟัง  ดังนั้น  ธุรกิจวิทยุนั้น  เป็นได้เฉพาะ “ธุรกิจเสริม”  ของธุรกิจอื่น  เช่น ทีวี   บันเทิง  เป็นต้นและไม่ว่าจะเป็นอย่างไร  วิทยุ นั้น  ไม่ใช่ธุรกิจที่จะเติบโตได้อีกต่อไป
อนาคตสำหรับธุรกิจสื่อนั้น  ถ้าเป็นในระดับโลกก็คือ  “สื่อยุคใหม่”  เช่นพวกเว็บไซ้ต์อย่างกูเกิล และอื่น ๆ   สื่อที่ประสบความสำเร็จเหล่านั้น  จะทำกำไรได้อย่างมหาศาลแต่ก็จะมีจำนวนน้อยมาก  เพราะสื่อยุคใหม่นั้นมักจะเป็นลักษณะ  “ผู้ชนะกินรวบ” นั่นคือ  ผู้แพ้จะถูกบีบให้ออกจากตลาดหมด  ทำให้ผู้ชนะได้ลูกค้ามากขึ้น ๆ และได้กำไรทบทวีขึ้น  ส่งผลให้หุ้นมีค่ามหาศาล  อย่างไรก็ตาม  หุ้นลักษณะดังกล่าวนั้น  มักจะมีการให้บริการทั่วโลก  ดังนั้น  จึงเป็นการยากสำหรับหุ้นสื่อของประเทศไทยที่จะสามารถต่อสู้ได้  ข้อสรุปสุดท้ายของผมก็คือ  บริษัทและหุ้นสื่อนั้น  “เหนื่อย” ครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น