การเทคโอเวอร์นั้น สามารถนำมาซึ่งการ “เติบโต” ของบริษัทอย่างรวดเร็ว การเติบโตจะทำให้กำไรเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด กำไรที่จะเพิ่มขึ้นจะผลักดันให้ราคาหุ้นเพิ่มขึ้นตามผลกำไรที่จะเพิ่มขึ้น มักใช้โอกาสที่ตลาดเอื้ออำนวย ทำการเทคโอเวอร์อย่าง Aggressive หรือเทคโอเวอร์อย่างรุนแรงและต่อเนื่อง ซึ่งหลายครั้งสามารถทำให้ราคาหุ้นวิ่งขึ้นไปอย่างโดดเด่นโดยที่ธุรกิจหรือบริษัทที่ดำเนินการอยู่นั้น ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรนัก
ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาโดยเฉพาะจากตลาดในอเมริกาพบว่า การเทคโอเวอร์ส่วนใหญ่นั้น ได้ผลตรงกันข้ามและภายหลังต้องขายกิจการที่เทคมาทิ้งพร้อมกับการขาดทุนอย่างยับเยิน ในตลาดหุ้นไทยนั้น กรณียังไม่ชัดเนื่องจากมีกรณีไม่มาก อย่างไรก็ตาม ราคาหุ้นที่ขึ้นไปก่อนหลังจากมีการเทคโอเวอร์นั้น
---------------------------------------------------------------
ข้อคิดดี ๆ ที่เป็น “สุดยอด” ของบัฟเฟตต์
1.กฎข้อที่หนึ่งก็คือ อย่าขาดทุน
กฎข้อที่สองก็คือ ให้กลับไปดูกฎข้อที่หนึ่ง”
สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการลงทุนก็คือ คุณต้องพยายามอย่าให้ขาดทุน
เขาดูความเสี่ยงที่เป็น Down Side หรือขาลง มากกว่าโอกาสที่จะได้ผลตอบแทนสูงในด้านขาขึ้น
2.“เป็นเรื่องที่ดีกว่าที่เราจะซื้อธุรกิจที่ดีสุดยอดในราคาปานกลาง แทนที่จะซื้อธุรกิจปานกลางในราคาที่ดีสุดยอด” บัฟเฟตต์นั้นไม่เน้นซื้อของถูกหรือซื้อได้ในราคาที่ “ดีสุดยอด” เขาคิดว่าธุรกิจที่ดีสุดยอดนั้น ในระยะยาวแล้วมูลค่าของกิจการก็จะเติบโตขึ้นไปเรื่อย ๆ ดังนั้น ถ้าเราสามารถซื้อได้ในราคาที่เหมาะสม ไม่แพง ราคาหุ้นก็จะปรับเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามผลประกอบการของมัน ยิ่งถือนานก็ยิ่งดี
3.“เวลาเป็นเพื่อนของธุรกิจที่มหัศจรรย์ แต่เป็นศัตรูของธุรกิจพื้น ๆ” เราถือหุ้นของ “ธุรกิจมหัศจรรย์” หรือธุรกิจที่ดีสุดยอด คุณจะอยากถือไว้นานที่สุด ให้เวลากับการลงทุน เพราะยิ่งเวลาผ่านไป กำไรของบริษัทก็จะดีขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้ราคาหุ้นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในอัตราที่สูงต่อเนื่อง ตรงกันข้าม ธุรกิจพื้น ๆ นั้น ในบางช่วงเช่นช่วงแรก ๆ ราคาอาจจะปรับตัวขึ้นด้วยสาเหตุอะไรบางอย่างซึ่งอาจจะรวมถึงการที่มีคนเห็นว่ามันเป็นหุ้นที่ถูกและเข้ามาซื้อทำให้หุ้นปรับตัวขึ้น แต่เมื่อถือหุ้นนานขึ้นเรื่อย ๆ แต่กำไรของบริษัทและราคาหุ้นกลับไม่ปรับตัวขึ้น ผลก็คือ เมื่อเวลาผ่านไป ผลตอบแทนต่อปีก็จะลดลงเรื่อย ๆ ยิ่งถือนานก็ยิ่งแย่
4.“แนวทางของเราก็คือ กำไรจากการไม่มีการเปลี่ยนแปลงแทนที่จะเปลี่ยนแปลง อย่างหมากฝรั่ง Wrigley มันเป็นเรื่องของการไม่เปลี่ยนแปลงที่ดึงดูดใจผม ผมไม่คิดว่ามันจะถูกเปลี่ยนโดยอินเตอร์เน็ต นั่นคือธุรกิจที่ผมชอบ”
5.“สิ่งที่ดีที่สุดที่เกิดขึ้นกับเราก็คือ บริษัทที่ยิ่งใหญ่ ประสบกับปัญหาชั่วคราว เราต้องการซื้อมันเมื่อมันอยู่บนโต๊ะผ่าตัด” นี่เป็น “โอกาสทอง” ที่บัฟเฟตต์แสวงหาตลอดมา จากอดีตจะเห็นว่าเขาเคยทำเงินมหาศาลอย่างรวดเร็วจากการซื้อหุ้นของกิจการที่ดีสุดยอดแต่ประสบปัญหาชั่วคราวที่สามารถแก้ไขได้
- หุ้นของอเมริกันเอ็กซเพรส
-
-------------------------------------------------------------------------------
การเปลี่ยนแปลงในพื้นฐานที่สำคัญของกิจการ
1.บริษัทขนาดเล็กและโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทที่มีปัญหาหรือเคยมีปัญหาในการดำเนินงานและกำลัง “ฟื้นฟู” กิจการโดยผู้ถือหุ้นและผู้บริหารกลุ่มใหม่ การที่เป็นบริษัทขนาดเล็กทำให้การเปลี่ยนแปลงแบบ “พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ” นั้นทำได้ง่าย วิธีการก็คือทำการเพิ่มทุนโดยผู้ถือหุ้นกลุ่มใหม่ แล้วก็ประกาศเปลี่ยนธุรกิจ จากธุรกิจเดิมเป็นธุรกิจที่ “มีโอกาส” ทำกำไรได้อย่างรวดเร็ว
2.การเปลี่ยนแปลง “พื้นฐาน” ของกิจการเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงธุรกิจหรือผลิตภัณฑ์ของบริษัทอย่างสิ้นเชิงนั้น ถ้าว่ากันตามทฤษฎีแล้ว ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะประสบความสำเร็จ จริงอยู่ ในระยะยาวบริษัทก็อาจจะมีกำไรและทำให้บริษัทที่เคยมีปัญหาฟื้นตัวได้ แต่ถ้าหากกำไรที่ทำได้นั้น เป็น “กำไรปกติ” หรือเป็นกำไรที่เหมาะสมกับ “เงินลงทุน” ที่ใส่เข้าไปในบริษัท ผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นอาจจะเท่ากับ 10% ต่อปีในระยะยาว ถ้าเป็นแบบนี้ มูลค่าพื้นฐานที่แท้จริงของบริษัทก็ไม่น่าจะเพิ่มขึ้น ดังนั้น ราคาหุ้นก็ไม่น่าจะเพิ่มขึ้น—ในระยะยาว
ในระยะสั้น ราคาหุ้นนั้นย่อมขึ้นอยู่กับ “ความเชื่อ” ของนักเล่นหุ้นหรือนักลงทุน
- กลุ่มที่มีการเปลี่ยนแปลงในพื้นฐานของกิจการที่เป็นบริษัทใหญ่ขึ้นมาและไม่มีปัญหาการดำเนินงานนั้น น่าจะเป็นกิจการที่มีการเปลี่ยนแปลงในวิธีหรือกลยุทธ์สำคัญในการทำธุรกิจ ส่วนสำคัญส่วนหนึ่งอาจจะมาจากการเทคโอเวอร์กิจการที่เป็นคู่แข่ง และ/หรือ เป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเดิมของตน และในกระบวนการนั้น ทำให้เกิดความได้เปรียบเนื่องจากขนาดหรือทำให้เกิดความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ในสายตาของลูกค้า ส่งผลให้ผลประกอบการดีขึ้นชัดเจนเมื่อเทียบกับเงินลงทุนที่บริษัทจ่ายไป ลักษณะนี้จะทำให้กำไรต่อหุ้นของบริษัทเพิ่มขึ้นอย่างมั่นคงและส่งผลให้ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นรับกับ “พื้นฐานใหม่” คนที่เข้าไปซื้อหุ้นไว้ก่อนในราคาต่ำก็จะได้กำไรเป็นกอบเป็นกำ และก็เช่นเดียวกัน ราคาหุ้นอาจจะปรับตัวขึ้นไปทันทีเพียงเพราะว่านักเล่นหุ้นหรือนักลงทุนเชื่อว่าสิ่งที่บริษัททำนั้นจะเป็นจริง อย่างไรก็ตาม ในระยะยาวแล้ว ผลประกอบการที่ประกาศออกมาจะเป็นตัวกำหนดว่าพื้นฐานที่เปลี่ยนแปลงไปนั้น ดีขึ้นหรือเลวลง และราคาหุ้นจะสะท้อนพื้นฐานนั้น
3.การเล่นหุ้นที่กำลังมีการ “เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ” นั้น เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นเร้าใจ บ่อยครั้งเราไม่จำเป็นต้องคาดถูกหรือคาดผิดด้วยซ้ำ เราเพียงแต่คาดถูกต้องว่า “คนอื่นเชื่ออย่างไร” เพราะราคาหุ้นในระยะสั้นนั้นอยู่ที่ความเชื่อไม่ใช่ความจริง ผลตอบแทนของการคาดการณ์ถูกต้องนั้นสูงมาก เช่นเดียวกัน ผลตอบแทนจากการคาดผิดก็เลวร้ายได้ไม่แพ้กัน อย่างไรก็ตาม คนที่เล่นเกมนี้ต้องเข้าใจว่ามีบางคนที่ได้เปรียบกว่าคนอื่น อย่างน้อย “สปอนเซอร์” ก็รู้ดีกว่าคนนอก ผู้เล่นรายใหญ่ที่มีพลังการซื้อและการชี้นำสูงก็อาจจะได้เปรียบรายย่อยที่เป็นฝ่ายรับข้อมูลมากกว่า
4.กลับมาในกลุ่มของคนที่หากินกับการ “ไม่เปลี่ยนแปลง” นี่คือยุทธศาสตร์การลงทุนที่ “น่าเบื่อ” เพราะโดยตัวธุรกิจเองนั้น ธุรกิจที่บริษัททำอยู่นั้นมักเป็นธุรกิจที่ไม่ใคร่มีความคิดสร้างสรรค์มากมายนัก เป็นธุรกิจที่เรียกว่า “รูทีน” ทำอย่างไรก็ทำอย่างนั้นมานานส่วนใหญ่อาจจะนับสิบ ๆ ปี หุ้นเหล่านี้ส่วนใหญ่ที่เข้าข่ายก็มักจะเป็นกิจการที่ “แข็งแกร่ง” หรือ “ยิ่งใหญ่” ทั้งในด้านการตลาดและการเงินเมื่อเทียบกับคู่แข่งในธุรกิจเดียวกัน ผลประกอบการนั้นมักจะคาดการณ์ได้แต่การเติบโตขึ้นเป็นหลายสิบหรือร้อย ๆ เปอร์เซ็นต์ในระยะเวลาสั้น ๆ ก็เป็นไปไม่ได้ ตัวหุ้นเองก็มักจะไม่ปรับตัวขึ้นหรือลงหวือหวา ดังนั้น ถ้าคนชอบที่จะมีชีวิตการลงทุนที่มั่นคงพอสมควรและไม่ต้องการความกังวลใจกับการลงทุนตลอดเวลา นี่ก็เป็นกลยุทธ์ที่น่าสนใจและในระยะยาวแล้ว ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยก็อาจจะไม่แพ้การลงทุนที่เน้นการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจสำหรับนักลงทุนที่มีศักยภาพพอ ๆ กัน
-------------------------------------------------------------------------------
การเปลี่ยนแปลงในพื้นฐานที่สำคัญของกิจการ
1.บริษัทขนาดเล็กและโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทที่มีปัญหาหรือเคยมีปัญหาในการดำเนินงานและกำลัง “ฟื้นฟู” กิจการโดยผู้ถือหุ้นและผู้บริหารกลุ่มใหม่ การที่เป็นบริษัทขนาดเล็กทำให้การเปลี่ยนแปลงแบบ “พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ” นั้นทำได้ง่าย วิธีการก็คือทำการเพิ่มทุนโดยผู้ถือหุ้นกลุ่มใหม่ แล้วก็ประกาศเปลี่ยนธุรกิจ จากธุรกิจเดิมเป็นธุรกิจที่ “มีโอกาส” ทำกำไรได้อย่างรวดเร็ว
2.การเปลี่ยนแปลง “พื้นฐาน” ของกิจการเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงธุรกิจหรือผลิตภัณฑ์ของบริษัทอย่างสิ้นเชิงนั้น ถ้าว่ากันตามทฤษฎีแล้ว ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะประสบความสำเร็จ จริงอยู่ ในระยะยาวบริษัทก็อาจจะมีกำไรและทำให้บริษัทที่เคยมีปัญหาฟื้นตัวได้ แต่ถ้าหากกำไรที่ทำได้นั้น เป็น “กำไรปกติ” หรือเป็นกำไรที่เหมาะสมกับ “เงินลงทุน” ที่ใส่เข้าไปในบริษัท ผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นอาจจะเท่ากับ 10% ต่อปีในระยะยาว ถ้าเป็นแบบนี้ มูลค่าพื้นฐานที่แท้จริงของบริษัทก็ไม่น่าจะเพิ่มขึ้น ดังนั้น ราคาหุ้นก็ไม่น่าจะเพิ่มขึ้น—ในระยะยาว
ในระยะสั้น ราคาหุ้นนั้นย่อมขึ้นอยู่กับ “ความเชื่อ” ของนักเล่นหุ้นหรือนักลงทุน
- กลุ่มที่มีการเปลี่ยนแปลงในพื้นฐานของกิจการที่เป็นบริษัทใหญ่ขึ้นมาและไม่มีปัญหาการดำเนินงานนั้น น่าจะเป็นกิจการที่มีการเปลี่ยนแปลงในวิธีหรือกลยุทธ์สำคัญในการทำธุรกิจ ส่วนสำคัญส่วนหนึ่งอาจจะมาจากการเทคโอเวอร์กิจการที่เป็นคู่แข่ง และ/หรือ เป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเดิมของตน และในกระบวนการนั้น ทำให้เกิดความได้เปรียบเนื่องจากขนาดหรือทำให้เกิดความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ในสายตาของลูกค้า ส่งผลให้ผลประกอบการดีขึ้นชัดเจนเมื่อเทียบกับเงินลงทุนที่บริษัทจ่ายไป ลักษณะนี้จะทำให้กำไรต่อหุ้นของบริษัทเพิ่มขึ้นอย่างมั่นคงและส่งผลให้ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นรับกับ “พื้นฐานใหม่” คนที่เข้าไปซื้อหุ้นไว้ก่อนในราคาต่ำก็จะได้กำไรเป็นกอบเป็นกำ และก็เช่นเดียวกัน ราคาหุ้นอาจจะปรับตัวขึ้นไปทันทีเพียงเพราะว่านักเล่นหุ้นหรือนักลงทุนเชื่อว่าสิ่งที่บริษัททำนั้นจะเป็นจริง อย่างไรก็ตาม ในระยะยาวแล้ว ผลประกอบการที่ประกาศออกมาจะเป็นตัวกำหนดว่าพื้นฐานที่เปลี่ยนแปลงไปนั้น ดีขึ้นหรือเลวลง และราคาหุ้นจะสะท้อนพื้นฐานนั้น
3.การเล่นหุ้นที่กำลังมีการ “เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ” นั้น เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นเร้าใจ บ่อยครั้งเราไม่จำเป็นต้องคาดถูกหรือคาดผิดด้วยซ้ำ เราเพียงแต่คาดถูกต้องว่า “คนอื่นเชื่ออย่างไร” เพราะราคาหุ้นในระยะสั้นนั้นอยู่ที่ความเชื่อไม่ใช่ความจริง ผลตอบแทนของการคาดการณ์ถูกต้องนั้นสูงมาก เช่นเดียวกัน ผลตอบแทนจากการคาดผิดก็เลวร้ายได้ไม่แพ้กัน อย่างไรก็ตาม คนที่เล่นเกมนี้ต้องเข้าใจว่ามีบางคนที่ได้เปรียบกว่าคนอื่น อย่างน้อย “สปอนเซอร์” ก็รู้ดีกว่าคนนอก ผู้เล่นรายใหญ่ที่มีพลังการซื้อและการชี้นำสูงก็อาจจะได้เปรียบรายย่อยที่เป็นฝ่ายรับข้อมูลมากกว่า
4.กลับมาในกลุ่มของคนที่หากินกับการ “ไม่เปลี่ยนแปลง” นี่คือยุทธศาสตร์การลงทุนที่ “น่าเบื่อ” เพราะโดยตัวธุรกิจเองนั้น ธุรกิจที่บริษัททำอยู่นั้นมักเป็นธุรกิจที่ไม่ใคร่มีความคิดสร้างสรรค์มากมายนัก เป็นธุรกิจที่เรียกว่า “รูทีน” ทำอย่างไรก็ทำอย่างนั้นมานานส่วนใหญ่อาจจะนับสิบ ๆ ปี หุ้นเหล่านี้ส่วนใหญ่ที่เข้าข่ายก็มักจะเป็นกิจการที่ “แข็งแกร่ง” หรือ “ยิ่งใหญ่” ทั้งในด้านการตลาดและการเงินเมื่อเทียบกับคู่แข่งในธุรกิจเดียวกัน ผลประกอบการนั้นมักจะคาดการณ์ได้แต่การเติบโตขึ้นเป็นหลายสิบหรือร้อย ๆ เปอร์เซ็นต์ในระยะเวลาสั้น ๆ ก็เป็นไปไม่ได้ ตัวหุ้นเองก็มักจะไม่ปรับตัวขึ้นหรือลงหวือหวา ดังนั้น ถ้าคนชอบที่จะมีชีวิตการลงทุนที่มั่นคงพอสมควรและไม่ต้องการความกังวลใจกับการลงทุนตลอดเวลา นี่ก็เป็นกลยุทธ์ที่น่าสนใจและในระยะยาวแล้ว ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยก็อาจจะไม่แพ้การลงทุนที่เน้นการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจสำหรับนักลงทุนที่มีศักยภาพพอ ๆ กัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น