วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วัน ๆ หนึ่งบัฟเฟตต์ทำอะไรบ้าง
            วลาประมาณ 75-80% ของเขาหมดไปกับการอ่าน  วัน ๆ  หนึ่งเขาอ่านหนังสือพิมพ์ 5 ฉบับ  รายงานประจำปีของบริษัทจดทะเบียน  รายงานรายไตรมาศ แมกกาซีน และอื่น ๆ  สารพัด  เวลาที่เหลือนั้นเขาใช้ไปกับการพูดคุยโทรศัพท์   สั่งซื้อขายหุ้นหรือเงินตราต่างประเทศ  แต่พวกนี้ไม่ได้ใช้เวลามาก  หลังจากนั้น  เขาก็กลับบ้านซึ่งก็อาจจะประมาณห้าโมงครึ่งหรือหกโมงเย็นไม่ค่อยแน่นอน   ในตอนค่ำเขาก็มักจะอ่านหนังสือต่อ  หรือไม่บางวันก็เล่นบริดจ์ทางอินเตอร์เน็ต 
            โฮวาร์ด  ลูกของบัฟเฟตต์เล่าว่า บัฟเฟตต์นั้น  แม้แต่เครื่องตัดหญ้าก็ใช้ไม่เป็น  นอกจากนั้น  เขาไม่เคยเห็นบัฟเฟตต์ล้างรถ  หรือทำงานบ้านอะไรเลย  ในตอนเด็กเขารู้สึกแย่แต่เมื่อโตขึ้นและรู้จักคุณค่าของเวลาแล้ว  เขาถึงได้ตระหนักว่าทำไมบัฟเฟตต์จึงทำอย่างนั้น  นั่นก็คือ  เวลาสำหรับบัฟเฟตต์นั้นมีค่ามาก  เขาไม่ยอมเสียเวลากับสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
            การลงทุนนั้นเป็นเรื่องของความคิดล้วน ๆ  คุณภาพของการตัดสินใจเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่สุด


การลงทุนนั้นไม่ได้หมายความว่าคุณไม่ต้องทำงาน  เพียงแต่งานนั้นก็คือการเพิ่มคุณภาพของการตัดสินใจขึ้นไปเรื่อย  และวิธีการเพิ่มคุณภาพก็คือการอ่าน  อ่าน  และอ่าน  หนังสือและข้อมูลสารพัดอย่างที่ บัฟเฟตต์และมังเกอร์ทำ
-----------------------------

ขอบเขตของความรอบรู้


1.การปั่นหุ้น  นี่คือวิธีทำเงินที่ได้ผลดีมากในช่วงที่ตลาดหุ้นไทยเป็นกระทิง

2.การเก็งกำไร ปั่น+การวิเคราะห์  “ทางเทคนิค
3.คนพัฒนาตนเองจนมีความเชี่ยวชาญและประสบความสำเร็จในการลงทุนที่น่าประทับใจก็คือ  “การเก็งกำไรกับผลประกอบการ”  นี่เป็นกลยุทธ์ในสไตล์ VI ที่ทำเงินได้เร็วและได้ผลตอบแทนที่สูงมากในช่วงที่ผ่านมาเร็ว ๆ  นี้   คนที่เชี่ยวชาญในการเก็งกำไรกับผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนนั้น  แน่นอนต้องมีความเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์กิจการของบริษัท  เขาอาจจะต้องเจาะข้อมูลลึก ๆ  จากผู้บริหารรวมถึงต้องวิเคราะห์ภาวะอุตสาหกรรมและอื่น ๆ    ที่สำคัญเขาจะต้องหาบริษัทที่จะมีผลกำไรเติบโตโดดเด่นมากผิดปกติไม่ใช่การเติบโตธรรมดา ๆ  ปัจจัยที่สำคัญอื่น ๆ  ก็เช่นต้องเป็นกิจการที่ไม่มีหรือไม่ใคร่มีนักวิเคราะห์สนใจด้วยเหตุที่อาจจะเป็นหุ้นเล็กเกินไปหรือเป็นกิจการที่ซบเซามานานซึ่งทำให้ราคาหุ้นค่อนข้างเหงาและอยู่ในระดับต่ำ  นอกจากนั้น  คนที่จะประสบความสำเร็จอาจจะต้องมีความสามารถในการ  “โปรโมต”  หุ้นให้เป็นที่รับรู้และสนใจแก่นักลงทุนหลังจากที่ตนเองได้ซื้อหุ้นไว้แล้ว
4.“การลงทุนระยะยาวในหุ้นของกิจการที่โดดเด่น”  ระยะเวลาของการลงทุนที่มักจะยาวกว่ามาก  การเลือกกิจการที่ลงทุนก็จะเน้นที่กิจการที่มีความเข้มแข็งในเชิงโครงสร้างสูงกว่า  พูดง่าย ๆ  เน้นไปที่ DCA หรือความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืนของบริษัทมากกว่าเรื่องของผลประกอบการในระยะสั้นเพียงหนึ่งหรือสองปี
5.ความเชี่ยวชาญในแง่ของ  อุตสาหกรรม  นี่คือความรอบรู้ในการที่จะวิเคราะห์และเข้าใจธุรกิจที่จะลงทุน  เช่น  คนที่เชี่ยวชาญเรื่องธุรกิจค้าปลีกก็จะรู้ว่าอะไรเป็นปัจจัยในการที่บริษัทจะทำกำไรได้ดี  อะไรเป็นความเสี่ยง  เขาจะสามารถคาดการณ์ถึง ยอดขาย กำไร การเติบโต  และอื่น ๆ  ของบริษัทได้ใกล้เคียงและสามารถนำมาใช้ในการตัดสินใจลงทุนได้
6.คนที่เชี่ยวชาญสามารถทำเงินร่ำรวยได้ก็คือ  การเล่นหุ้นของกิจการที่เป็นวัฏจักร์  นี่เป็น COC ที่น่าสนใจเพราะว่ามันสามารถทำเงินได้เร็วและมากในเวลาอันสั้น  นี่คือการสร้างความเชี่ยวชาญโดยเน้นไปที่อุตสาหกรรมที่มีความผันผวนตามภาวะเศรษฐกิจ  พวกเขาจะมองอุตสาหกรรมที่ตกต่ำลงโดยเฉพาะจากเหตุผลทางเศรษฐกิจและกำลังฟื้นตัวขึ้น  เข้าไปซื้อหุ้นในราคาต่ำและรอขายเมื่อผลประกอบการฟื้นตัว
--------------------------------------------------------
จิตวิทยาที่บดบังความเข้าใจที่ถูกต้องของเรา
1.“ดีเป็นเพราะฝีมือเรา แย่เป็นเพราะคนอื่นหรือเรื่องอื่น”   หรือที่เรียกว่า  Self-Attribution Bias ช่นเดียวกัน  เวลาที่เราลงทุนและได้กำไรดีนั้น  เรามักจะคิดว่าเป็นฝีมือของเรา   แต่เวลาขาดทุน  บางครั้งเราก็คิดว่ามันเป็นสาเหตุอื่นหรือโชคร้ายหรือเหตุบังเอิญที่เราไม่อาจคาดได้   การไม่ยอมรับความผิดพลาดของตนเองนั้น  ย่อมทำให้เราไม่สามารถปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องนั้นได้
2.ใช้สำนวนว่า  “ผมว่าแล้ว”  นี่คือสิ่งที่คนเราเห็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นก่อนที่จะกลับไปอธิบายเหตุผลที่ทำให้มันเกิดขึ้นหรือที่เรียกในทางวิชาการว่า  Hindsight Bias  นี่เป็นความลำเอียงของจิตใจที่คิดว่าเรา “แน่”  เรารู้ว่าอะไรเป็นอะไรทั้งที่เราไม่รู้และเราไม่ได้คิดคาดการณ์เอาไว้ก่อน   เรามา “รู้”  ก็ตอนที่เราเห็นแล้วว่าอะไรมันเกิดขึ้น    วิธีที่จะแก้ปัญหาความลำเอียงข้อนี้ก็คือ  การจดบันทึกสิ่งที่เราคิดหรือคาดการณ์ไว้ก่อน  เมื่อเกิดผลลัพธ์ขึ้น  เราก็จะได้รู้ว่าเราคิดถูกหรือคิดผิด   ในกรณีของการลงทุนนั้น  เราจะเรียกมันว่า  Investment Diary  นี่ก็คือไดอารี่ที่เราจะจดบันทึกเกี่ยวกับความคิดหรือการวิเคราะห์ของเราในการลงทุนในหุ้นหรืออื่น ๆ   การซื้อหุ้นแต่ละตัวเราจะบันทึกว่าอะไรคือเหตุผลที่เราซื้อหุ้นตัวนั้น


2.1 กรณีที่เราได้กำไร  การลงทุนประสบความสำเร็จ  และเหตุผลที่เราใช้ในการตัดสินใจลงทุนถูกต้อง
เช่น  เราลงทุนในหุ้น ก. เพราะเราเชื่อว่ากำไรของบริษัทนี้กำลังเติบโตก้าวกระโดดในไตรมาศหน้าและจะเติบโตต่อไปอีกไม่น้อยกว่า 3-4 ปี โดยที่ราคาหุ้นที่เห็นนั้นยังไม่ได้ปรับตัวขึ้นสอดคล้องกับพื้นฐานที่กำลังดีขึ้นและราคายังต่ำกว่าที่ควรจะเป็นมาก  เราก็จดบันทึกไว้  หลังจากนั้น  เมื่อกำไรในไตรมาศถูกประกาศออกมาก็เป็นจริงดังคาดและดูแล้วอนาคตก็น่าจะยังโตต่อเนื่อง  ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นไปในระดับหนึ่งประมาณ 20%  ซึ่งสอดคล้องกับกำไรที่ดีขึ้น  ถ้าเป็นแบบนี้  เราอาจจะสรุปได้ว่าสิ่งที่เราคิดนั้นถูกต้องแล้ว   อย่างไรก็ตาม  เรายังไม่ขายหุ้นออกไปเพราะเราเชื่อว่ากำไรจะยังเติบโตดีมากอยู่และในอนาคตราคาก็จะยังปรับตัวขึ้นไปได้อีกมาก  ในภาษาของนักลงทุน  เรา  “Right for the right reason”  เราถูกต้อง  นั่นอาจจะหมายความว่าเรามีฝีมือ
2.2 แบบที่สอง  ในกรณีที่เราได้กำไร  การลงทุนประสบความสำเร็จ  แต่เหตุผลที่เราใช้ในการตัดสินใจนั้นกลับไม่ถูกต้อง  เช่น  เราลงทุนในหุ้น ข. เพราะเราคิดว่ากำไรในไตรมาศหน้าจะดีมาก  เวลาผ่านไปสักระยะหนึ่งบริษัทได้ประกาศแจกวอแร้นต์ฟรีจำนวนมาก  ราคาหุ้นวิ่งขึ้นไปอย่างแรง  เราขายหุ้นทิ้งได้กำไรงดงาม  อย่างไรก็ตาม  งบรายไตรมาศที่ประกาศออกมาภายหลังพบว่ากำไรของบริษัทลดลงมาก  แบบนี้เราเรียกว่า  “Right for the wrong reason”  เราซื้อหุ้นถูกตัวด้วยเหตุผลที่ผิด  พูดง่าย ๆ เราประสบความสำเร็จเพราะโชคไม่ใช่ฝีมือ  อย่าหลอกตัวเองว่าตนเองเก่ง
2.3 ในกรณีที่เราขาดทุน  การลงทุนไม่ประสบความสำเร็จ  เหตุผลในการลงทุนของเราผิด  เช่น  เราคิดว่าบริษัท ค. กำลังจะมีผลประกอบการที่ดี  เราซื้อหุ้นลงทุน  ผลประกอบการออกมาปรากฏว่าบริษัทขาดทุนอย่างหนัก  ราคาหุ้นตกต่ำลงมามาก   เราขายหุ้นทิ้ง ในกรณีนี้เรียกว่าเรา  “Wrong for the wrong reason”  เราลงทุนผิดเพราะเราวิเคราะห์ผิด  เราจำเป็นต้องเรียนรู้จากความผิดพลาดนี้
2.4 ในกรณีที่เราขาดทุน  การลงทุนไม่ประสบความสำเร็จ  แต่เหตุผลที่เราใช้ในการตัดสินใจลงทุนนั้นถูกต้องเป็นไปตามคาด  เช่น  เราซื้อหุ้น ง. เพราะคิดว่ากำไรของบริษัทในไตรมาศที่กำลังมาถึงนั้นจะเติบโตขึ้น  เมื่องบไตรมาศถูกประกาศออกมาปรากฏว่ากำไรของบริษัทก็ปรับเพิ่มขึ้นจริง  อย่างไรก็ตาม  ในช่วงเวลาเดียวกัน  ตลาดหุ้นเกิดภาวะวิกฤติอันเป็นผลมาจากต่างประเทศ  ราคาหุ้น ง. ตกลงอย่างหนัก  เราขาดทุนแต่เป็นเพราะว่าโชคไม่ดี  ไม่ใช่เพราะเราคิดผิด  เรา  “Wrong for the right reason”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น