1.ทำธุรกิจเหมืองถ่านหิน
2.อสังหาริมทรัพย์
การที่ธุรกิจจะทำได้ง่ายหรือทำได้ยาก
1.ธรรมชาติของอุตสาหกรรม
2.ตัวโครงสร้างและวงจรชีวิตของอุตสาหกรรมว่าในขณะนั้นเป็นอย่างไร ในบางธุรกิจที่วงจรชีวิตยังเพิ่งจะเริ่มต้นไม่มีผู้นำหรือรายใหญ่ที่แท้จริง การทำธุรกิจอาจจะง่าย ผู้ที่เริ่มเข้ามาทำก่อนอาจจะทำได้ง่าย แต่เมื่ออุตสาหกรรมเติบโตขึ้น มีการแข่งขันที่รุนแรงและในที่สุดก็มี “ผู้ชนะ” ที่สามารถแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดมาได้มากพอและเหนือกว่าคู่แข่งลำดับต่อ ๆ ไปมาก การทำธุรกิจสำหรับรายใหม่ก็จะยากขึ้นและยากขึ้นเรื่อย ๆ
ร้านสะดวกซื้อ เป็นเรื่องที่ยาก สาเหตุก็เพราะในขณะนี้เรามีผู้ให้บริการรายใหญ่มากที่เขาได้สร้างกิจการมาจนมีความได้เปรียบในด้านของต้นทุนและคุณภาพของบริการรวมถึงความได้เปรียบในด้านการตลาดมากซึ่งทำให้รายที่เข้ามาใหม่ที่ต้องเริ่มจากขนาดที่เล็กไม่สามารถแข่งขันได้ พูดง่าย ๆ มันเป็นธุรกิจที่ทำยาก ถ้าจะทำให้ได้กำไร และนี่คือคำจำกัดความของ “ธุรกิจที่ทำยาก”
------------------------------------
Megatrend ของโลก
ต้องเป็นการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวที่ต่อเนื่องยาวนานอย่างน้อย 10 ปี ขึ้นไป และน่าจะต้องเป็นอย่างนั้นต่อไปอีกไม่น้อยกว่า 10 ปี
1st Megatrend
1.เทคโนโลยีด้าน IT และการสื่อสารแบบเคลื่อนที่
2.ทคโนโลยีด้านชีวภาพหรือ Biotech
2nd Megatrend
1.Wealth
3rd Megatrend
1.โครงสร้างอายุของประชากรในโลกที่เริ่มแก่ตัวลงอย่างรวดเร็ว อายุเฉลี่ยของประชากรโลกน่าจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะเด็กเกิดใหม่มีอัตราลดลงในขณะที่คนก็มีอายุยืนขึ้น
4 th Megatrend
1.“การเพิ่มขึ้นของอิทธิพลของเอเซีย” คือแนวโน้มใหญ่ที่ประเทศในเอเซียมีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับส่วนอื่นของโลก ประกอบกับการที่มีประชากรจำนวนมาก ทำให้เอเชียมีบทบาทและความสำคัญสูงขึ้นอย่างมากในทุกด้าน ทั้งทางด้าน เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรม ผลต่อประเทศไทยก็คือ เราจะมีการค้าและการลงทุนมากขึ้นเช่นเดียวกับนักท่องเที่ยวที่จะมีมากขึ้นเนื่องจากไทยก็เป็นส่วนหนึ่งของประเทศที่อยู่ในศูนย์กลางของเอเซีย
5th Megatrend
1.“ภาวะโลกร้อน”
6th Megatrend
1.Globalization หรือโลกานุวัตร “โลกแบน” ความหมายก็คือ พรมแดนทางภูมิศาสตร์ของแต่ละประเทศและวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นจะมีความหมายน้อยลงเรื่อย ๆ คนในแต่ละประเทศจะมีความคิด ค่านิยม และความเป็นอยู่คล้าย ๆ กันขึ้นอยู่กับฐานะและความมั่งคั่งมากกว่าเรื่องของวัฒนธรรมประจำชาติ นอกจากนั้น แต่ละประเทศจะไม่สามารถทำอะไรตามใจตนเองได้ทั้งหมดแต่จะต้องทำในสิ่งที่เป็นที่ยอมรับของสังคมโลกด้วย เช่นเดียวกัน การแข่งขันทางธุรกิจก็จะต้องเปิดกว้างขึ้นเรื่อย ๆ และต้องรวมไปถึงธุรกิจจากต่างประเทศทั่วโลก ผลกระทบก็คือ บริษัทที่มีความสามารถทางการแข่งขันสูงจะสามารถขยายตัวได้มากขึ้นมาก ในขณะที่บริษัทระดับรองหรืออ่อนแอจะอยู่ได้ยากขึ้น
--------------------------------------------
ซุปเปอร์สต็อกนั้น มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับผู้บริหารมากนัก แม้ว่าการที่บริษัทกลายเป็นซุปเปอร์สต็อกได้นั้น ก็เพราะมีผู้บริหารที่ดีสุดยอด
ในช่วงที่บริษัทยังเล็ก และ/หรือ อ่อนด้อยอยู่ ฝีมือของผู้บริหารสูงสุดนั้นอาจจะมีความสำคัญชี้เป็นชี้ตายได้ แต่เมื่อบริษัทก้าวหน้ามาจนถึงจุดสุดยอดหนึ่งแล้ว มันก็สามารถเดินได้ด้วยตนเอง และความสามารถของผู้บริหารเองก็อาจจะไม่ได้สร้างความแตกต่างมากนัก
--------------------------------------------
ธุรกิจสื่อสารมวลชน
การเกิดขึ้นของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติหรือ กสทช.
(การผูกขาด” ของสื่อที่มีมานานในประเทศไทยหมดหรือเกือบหมดไป )
ต้นทุนของการสื่อสารต่ำลงไปมากในขณะที่คุณภาพของภาพและเสียงกลับสูงขึ้นมาก
- การแข่งขันที่จะ “แย่งผู้ชม” จะรุนแรงมาก โดยที่กลยุทธ์สำคัญที่สุดในการดึงดูดคนดูก็คือ การใช้ Content หรือเนื้อหาหรือข้อมูลที่น่าสนใจสำหรับผู้เข้ามาชม
ขณะที่มีบริษัทและช่องทางใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นมากมายที่จะเข้ามาช่วงชิง “ตา” แต่จำนวน “ตา” นั้น กลับมีจำนวน “เท่าเดิม” ความหมายก็คือ คนไทยนั้น ไม่ได้มีจำนวนเพิ่มขึ้นหรือเพิ่มขึ้นน้อยมาก เวลาที่จะใช้ตาเพื่อที่จะ “ดู” ก็ไม่น่าจะเพิ่มขึ้นมากนัก
แต่ผู้ให้บริการกลับมีเพิ่มขึ้นซึ่งจะต้องมีต้นทุนเพิ่มขึ้นมาก ผลก็คือ ถ้ามองในแง่ของอุตสาหกรรมโดยรวมแล้ว ก็น่าจะเป็นว่า กำไรของอุตสาหกรรมจะลดลง ถ้ามองในรายละเอียดต่อไปก็น่าจะเป็นว่า ผู้เล่นที่มีอยู่เดิมที่อยู่ในสภาวะผูกขาดหรือกึ่งผูกขาด น่าจะมีกำไรน้อยลงเพราะมีผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามา “แย่ง” หรือแบ่ง “ลูกตา” หรือลูกค้าไปบ้าง ส่วนรายใหม่ที่เข้ามานั้น รายที่ประสบความสำเร็จสูงก็อาจจะได้กำไร แต่หลายรายที่น่าจะมีจำนวนมากกว่าก็จะขาดทุน
- สิ่งที่รายใหญ่สามารถทำได้ก็คือ การเพิ่มราคาค่าโฆษณา ซึ่งทำให้กิจการสามารถทำกำไรได้เพิ่มขึ้นเป็นกอบเป็นกำเนื่องจากต้นทุนการผลิตและส่งรายการยังเท่าเดิม
- ประเด็นสำคัญก็คือ สถานีจะต้องรักษาคุณภาพหรือ Content ของรายการให้สามารถดึงดูดมวลชนจำนวนมากให้ได้ต่อเนื่องยาวนาน ในช่วงแรก ๆ นั้นผมคิดว่าปัญหายังไม่มาก แต่เมื่อเวลาผ่านไป ผมเชื่อว่าผู้ชมก็จะค่อย ๆ กระจายความสนใจในรายการหลากหลายขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อพวกเขาพบทางเลือกใหม่ ๆ ที่หลากหลายมากขึ้น ผลก็คือ ผลประกอบการของทีวีช่องใหญ่ ๆ น่าจะค่อย ๆ ปรับตัวลดลงและอาจจะกลายเป็น “ตะวันตกดิน” ได้
ทีวีช่องใหม่ ๆ ที่กำลังเกิดขึ้นมากมายนั้น จุดขายก็คือ แย่งชิงผู้ชมที่มีความสนใจเฉพาะอย่าง เช่น ชิง “ตาของวัยรุ่น” เช่น ทำสถานีเพลงที่โดดเด่น
แต่ไม่ว่าในกรณีใด ความแน่นอนของผลประกอบก็อาจจะไม่สูงนัก เหตุผลก็คือ ธุรกิจนี้จะมีการแข่งขันสูงและมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก
ซุปเปอร์สต็อกนั้น มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับผู้บริหารมากนัก แม้ว่าการที่บริษัทกลายเป็นซุปเปอร์สต็อกได้นั้น ก็เพราะมีผู้บริหารที่ดีสุดยอด
ในช่วงที่บริษัทยังเล็ก และ/หรือ อ่อนด้อยอยู่ ฝีมือของผู้บริหารสูงสุดนั้นอาจจะมีความสำคัญชี้เป็นชี้ตายได้ แต่เมื่อบริษัทก้าวหน้ามาจนถึงจุดสุดยอดหนึ่งแล้ว มันก็สามารถเดินได้ด้วยตนเอง และความสามารถของผู้บริหารเองก็อาจจะไม่ได้สร้างความแตกต่างมากนัก
--------------------------------------------
ธุรกิจสื่อสารมวลชน
การเกิดขึ้นของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติหรือ กสทช.
(การผูกขาด” ของสื่อที่มีมานานในประเทศไทยหมดหรือเกือบหมดไป )
ต้นทุนของการสื่อสารต่ำลงไปมากในขณะที่คุณภาพของภาพและเสียงกลับสูงขึ้นมาก
- การแข่งขันที่จะ “แย่งผู้ชม” จะรุนแรงมาก โดยที่กลยุทธ์สำคัญที่สุดในการดึงดูดคนดูก็คือ การใช้ Content หรือเนื้อหาหรือข้อมูลที่น่าสนใจสำหรับผู้เข้ามาชม
ขณะที่มีบริษัทและช่องทางใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นมากมายที่จะเข้ามาช่วงชิง “ตา” แต่จำนวน “ตา” นั้น กลับมีจำนวน “เท่าเดิม” ความหมายก็คือ คนไทยนั้น ไม่ได้มีจำนวนเพิ่มขึ้นหรือเพิ่มขึ้นน้อยมาก เวลาที่จะใช้ตาเพื่อที่จะ “ดู” ก็ไม่น่าจะเพิ่มขึ้นมากนัก
แต่ผู้ให้บริการกลับมีเพิ่มขึ้นซึ่งจะต้องมีต้นทุนเพิ่มขึ้นมาก ผลก็คือ ถ้ามองในแง่ของอุตสาหกรรมโดยรวมแล้ว ก็น่าจะเป็นว่า กำไรของอุตสาหกรรมจะลดลง ถ้ามองในรายละเอียดต่อไปก็น่าจะเป็นว่า ผู้เล่นที่มีอยู่เดิมที่อยู่ในสภาวะผูกขาดหรือกึ่งผูกขาด น่าจะมีกำไรน้อยลงเพราะมีผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามา “แย่ง” หรือแบ่ง “ลูกตา” หรือลูกค้าไปบ้าง ส่วนรายใหม่ที่เข้ามานั้น รายที่ประสบความสำเร็จสูงก็อาจจะได้กำไร แต่หลายรายที่น่าจะมีจำนวนมากกว่าก็จะขาดทุน
- สิ่งที่รายใหญ่สามารถทำได้ก็คือ การเพิ่มราคาค่าโฆษณา ซึ่งทำให้กิจการสามารถทำกำไรได้เพิ่มขึ้นเป็นกอบเป็นกำเนื่องจากต้นทุนการผลิตและส่งรายการยังเท่าเดิม
- ประเด็นสำคัญก็คือ สถานีจะต้องรักษาคุณภาพหรือ Content ของรายการให้สามารถดึงดูดมวลชนจำนวนมากให้ได้ต่อเนื่องยาวนาน ในช่วงแรก ๆ นั้นผมคิดว่าปัญหายังไม่มาก แต่เมื่อเวลาผ่านไป ผมเชื่อว่าผู้ชมก็จะค่อย ๆ กระจายความสนใจในรายการหลากหลายขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อพวกเขาพบทางเลือกใหม่ ๆ ที่หลากหลายมากขึ้น ผลก็คือ ผลประกอบการของทีวีช่องใหญ่ ๆ น่าจะค่อย ๆ ปรับตัวลดลงและอาจจะกลายเป็น “ตะวันตกดิน” ได้
ทีวีช่องใหม่ ๆ ที่กำลังเกิดขึ้นมากมายนั้น จุดขายก็คือ แย่งชิงผู้ชมที่มีความสนใจเฉพาะอย่าง เช่น ชิง “ตาของวัยรุ่น” เช่น ทำสถานีเพลงที่โดดเด่น
แต่ไม่ว่าในกรณีใด ความแน่นอนของผลประกอบก็อาจจะไม่สูงนัก เหตุผลก็คือ ธุรกิจนี้จะมีการแข่งขันสูงและมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น