อีกทางหนึ่งก็คือ การลงทุนขยายตัวในธุรกิจผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ที่มักมีผลกำไรในระยะยาวต่ำหรือเท่ากับผลตอบแทนของเงินลงทุนปกติ การทำแบบนี้ก็อาจจะทำให้บริษัทสามารถโตเร็วกว่าปกติได้ เพราะสินค้าโภคภัณฑ์จำนวนมากนั้น มีตลาดไม่จำกัดเพราะเป็นตลาดโลก ดังนั้น บริษัทจะโตเท่าไรก็ได้ แต่โตแล้วก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร เพราะต้องลงทุนสร้างโรงงาน กำไรที่เพิ่มขึ้นก็คือผลตอบแทนปกติของเงินทุนที่ลงไป ประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นที่เป็นเจ้าของเงินก็ไม่มี
--------------------------------------------------------------------
ความโดดเด่น ความยิ่งใหญ่ และความสำคัญของบริษัท ต่อลูกค้า และต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศว่ามีมากน้อยแค่ไหน ถ้าไม่มีบริษัทนี้จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคำตอบก็คือ บริษัทนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อชีวิตของคนจำนวนมาก หรือสินค้าหรือบริการเป็นที่ต้องการของคนมากมายในขณะที่หาสินค้าหรือบริการแบบเดียวกันจากบริษัทอื่นไม่ได้หรือได้ยาก ในกรณีอย่างนี้ ผมก็จะสนใจและอาจจะให้คุณค่าสูง และคำว่าคุณค่าสูงของผมนั้น ผมจะวัดจาก Market Cap. หรือมูลค่าตลาดของหุ้นทั้งบริษัท
- บริษัทไมโครซอฟท์
- แอปเปิลคอมพิวเตอร์
- หุ้นกูเกิล
- เฟซบุ๊ค
- หุ้นการบินไทย
- หุ้น CPF
- หุ้น CPALL
----------------------------------------------------------
อภินิหารของหุ้น
1.หุ้นเหล่านี้มักมี Free Float หรือหุ้นที่อยู่ในมือของนักลงทุนหรือนักเก็งกำไรระยะสั้นค่อนข้างน้อยถึงน้อยมาก
การมี Free Float ต่ำนั้น ผมคิดว่าเป็นเหตุผลสำคัญที่สุดที่ทำให้ราคาหุ้นขึ้นไปสูงลิ่วได้
2.บริษัทมักอยู่ในธุรกิจที่ขายสินค้าหรือบริการที่มีราคาขายผันผวนคือเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ และช่วงที่จะกลายเป็นหุ้นอภินิหารก็คือช่วงที่เกิดการขาดแคลนสินค้าในตลาดทำให้ราคาปรับตัวขึ้นมากส่งผลให้กำไรของบริษัทเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด + บริษัทก็มักจะประกาศขยายกำลังการผลิตเพื่อที่จะทำให้กำไรเพิ่มขึ้นไปอีก
3.หุ้นอภินิหารนั้นต้องมี “คนเล่น” ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมีหลายกลุ่มตั้งแต่คนที่เป็น “สปอนเซอร์” ซึ่งมักจะเป็นรายใหญ่ที่มีพลังเงินมากเมื่อเทียบกับขนาด Free Float ของบริษัทในช่วงก่อนที่จะเป็นหุ้นอภินิหาร และต้องมีนักเล่นหุ้นรายย่อยที่เป็นนักเก็งกำไรซึ่งเข้ามาเล่นหุ้นรายวันโดยหวังจะทำกำไรจากความผันผวนของราคาหุ้น
4.หุ้นอภินิหารนั้น มักจะเกิดขึ้นในยามที่ภาวะตลาดหุ้นสดใสเป็นตลาดกระทิงที่มีปริมาณการซื้อขายหุ้นต่อวันสูงมาก หุ้นอภินิหารเองนั้นก็มักจะปรับตัวแรงในวันที่ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้น เรียกว่าราคาหุ้นมักเกาะกระแสตลาด เช่นเดียวกัน วันไหนที่ตลาดปรับตัวลงแรง หุ้นอภินิหารก็ตกแรงตามไปด้วย
หุ้นอภินิหารนั้น สิ่งที่มักจะเกิดขึ้นก็คือ ไม่ช้าก็เร็ว ความอภินิหารก็จะหายไป จุดเริ่มต้นมักจะเป็นเรื่องของราคาสินค้าของบริษัทที่มักจะเป็นราคาตลาดหรือตลาดโลกเริ่มเข้าสู่วัฏจักรขาลง หรือสินค้าที่ในช่วงต้นกำลังมาแรงเริ่มจะอ่อนตัวลง หรือเรื่องราวดี ๆ ที่คิดไว้นั้นเมื่อเวลาผ่านไปไม่เกิดขึ้น หรือในบางกรณีสปอนเซอร์ใหญ่เลิกเล่นแล้วหลังจากที่ออกของหรือขายหุ้นทำกำไรไปได้หมดแล้ว ระยะเวลาของการเป็นหุ้นอภินิหารนั้นบางกรณีก็สั้นมากแต่บางกรณีก็ยาวหลายปี แต่เมื่ออภินิหารหมดไป หุ้นเหล่านี้ก็มักจะปรับตัวลงกลับไปที่เดิมหรือใกล้เคียงกับราคาเดิมก่อนที่จะเกิดอภินิหาร คนที่เข้าไปเล่นแล้วออกของไม่ทันด้วยเหตุอะไรก็แล้วแต่ก็จะเจ็บตัวและขาดทุนหนัก แต่ผมก็ยังเชื่อว่าน้อยคนที่จะเข็ด หุ้นอภินิหารตัวใหม่ก็จะมีสตอรี่ใหม่ที่น่าเชื่อถือและน่าประทับใจไม่เหมือนตัวเดิม คนในตลาดหุ้นนั้น “ความจำสั้นมาก แต่ความโลภนั้นถาวร” ดังนั้น หุ้นอภินิหารจึงเกิดขึ้นเสมอโดยเฉพาะในยามที่ตลาดหุ้นปรับตัวเป็นกระทิงและคนในตลาดต่างก็ถูกครอบงำโดยความโลภ
-----------------------------------------
Mechanical Rule (ลงทุนหุ้นตามสูตร)
การลงทุนที่มิได้วิเคราะห์หุ้นเป็นรายตัว แต่เลือกหุ้นโดยอาศัยกฏเกณฑ์ตายตัวชุดหนึ่ง ในกรณีของเขาก็คือ การเลือกหุ้นที่มีราคาตกต่ำมากจนเกือบไม่มีค่านั่นคือราคาหุ้นต่ำกว่า 1 เหรียญ ซึ่งในตลาดสหรัฐอเมริกาก็คือหุ้นที่มีราคาต่ำมากเปรียบเสมือนกับหุ้นราคาตัวละไม่เกิน 1 บาทในตลาดหุ้นไทย ทฤษฎีของเขาก็คือ ในยามที่ตลาดหุ้นกำลังฟื้นตัวนั้น หุ้นที่มีราคาตกต่ำมากที่สุดจะมีการฟื้นตัวเมื่อคิดเป็นเปอร์เซ็นต์สูงที่สุด - โดยเฉลี่ย นั่นไม่ได้หมายความว่าหุ้นราคาต่ำกว่า 1 เหรียญทุกตัวจะต้องฟื้นตัว หุ้นหลาย ๆ ตัวอาจจะไม่ฟื้นเลยหรือบางตัวอาจจะตกต่ำลงและมีค่าเป็นศูนย์ แต่หุ้นอีกหลายตัวอาจจะปรับตัวขึ้นไปหลายเท่าตัวซึ่งทำให้พอร์ตโดยรวมแล้วให้ผลตอบแทนสูงมาก
กฏข้อแรกก็คือ การมองหา “ภาพใหญ่” หรือทฤษฎีว่าอะไรจะเกิดขึ้นหรือหุ้นกลุ่มไหนจะให้ผลตอบแทนสูงในช่วงเวลาหนึ่ง
กฏข้อสองก็คือ หา “ตัวแทน” หรือข้อมูลเกี่ยวกับหุ้นที่จะเป็นตัวแทนของหุ้นตามทฤษฎีนั้น พูดให้ง่ายก็คือการหา “สูตร” สำหรับเลือกหุ้นลงทุน
กฏข้อสามก็คือ การเลือกหุ้นที่เข้าเกณฑ์หรือเป็นไปตามสูตรนั้น
กฏข้อสี่ก็คือ ต้องเลือกซื้อหุ้นทุกตัวที่เข้าเกณฑ์ตามสูตรไม่มีข้อยกเว้น อย่าใช้วิจารณญาณ
กฏข้อที่ห้าก็คือ การติดตามดูผลตอบแทนของการลงทุนทุกช่วงเวลาที่กำหนดซึ่งส่วนใหญ่มักจะกำหนดเป็นปี ๆ เป็นเวลาหลายปี และ
กฏข้อสุดท้ายก็คือ การกำหนดเวลาเลิกลงทุนซึ่งก็คือการดูว่าเราควรเลิกและล้างพอร์ตเมื่อไร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น