วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


Value + Growth


1.Value Investment โดย เบน เกรแฮม
2.Growth Investment โดย ฟิลิปส์ ฟิสเชอร์
3.Passive Investment หรือการลงทุนที่ไม่ต้องเลือกหุ้นแต่ซื้อหุ้นทุกตัวที่อยู่ในดัชนีหรือในตลาดซึ่งเป็น  “โรงเรียน”  ล่าสุดที่นำโดยนักวิชาการการเงินแต่คนที่มีชื่อเสียงน่าจะเป็นกองทุนอิงดัชนี Vanguard ที่ก่อตั้งและบริหารโดย จอห์น โบเกิล
-------------------------------------------------
Value Investment โดย
“ไบเบิล” ของ Value Investment เช่น  Securities Analysis
หัวใจของ Value Investment นั้นอยู่ที่การซื้อหุ้นที่มีราคาถูกหรือราคาต่ำกว่า “พื้นฐาน”ของกิจการ  โดยที่พื้นฐานของกิจการนั้นมักเน้นไปที่ข้อมูลหรือตัวเลขทางการเงินเช่น  ข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สิน  กำไรที่เป็นตัวเลขในอดีตที่ผ่านมาเป็นต้น  ส่วนความถูกของราคาหุ้นก็มักจะดูจากค่า PE และ PB ว่าจะต้องต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของหุ้นในตลาดหลักทรัพย์  ดังนั้น  เวลาเลือกหุ้นโดยใช้มาตรฐานแบบนี้  หุ้นที่เข้าข่ายเป็นหุ้น Value จึงเป็นหุ้นที่มีค่า PE และ PB ต่ำเป็นหลัก  ซึ่งหุ้นประเภทนี้ส่วนมากมักเป็นหุ้นที่นักลงทุนไม่ค่อยสนใจจะลงทุนเนื่องจากเหตุผลหลายอย่างแต่ที่สำคัญก็คือเป็นหุ้นของกิจการที่มี  “คุณภาพต่ำ”
จุดอ่อนของความคิดแบบ Value Investment
การเน้นไปที่ความถูกของหุ้นเพียงอย่างเดียว  ทำให้มักเลือกหุ้นที่มีคุณภาพต่ำ  หุ้นเหล่านี้อาจจะให้ผลตอบแทนพอใช้ได้แต่ก็ไม่โดดเด่นนัก  หุ้นถูกหรือถูกมากเหล่านั้นเมื่อเวลาผ่านไปมันก็ยังคงถูกอยู่อย่างเดิม  ดังนั้นนักลงทุนก็อาจจะไม่ได้อะไร  เวลาของการรอคอยเพื่อที่จะให้ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นมาสะท้อนพื้นฐานบางครั้งมันนานมากจนไม่คุ้มที่จะรอ  เพราะว่าเงินนั้นมีต้นทุนและมีค่าเสียโอกาส
---------------------------------------------------
Growth Investment

การซื้อหุ้นที่เติบโตเร็ว  บริษัทมีคุณภาพดีหรือถ้าจะพูดให้ถูกต้องกว่าก็คือ  มีศักยภาพสูงในการที่จะเติบโตในอนาคตด้วยเหตุผลต่าง ๆ  รวมถึงผู้บริหารที่มีความสามารถสูง  มีตลาดที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว  มีเทคโนโลยีใหม่ที่ทันสมัย  สิ่งเหล่านี้จะทำให้บริษัทมียอดขายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและในที่สุดจะทำกำไรมหาศาล  ดังนั้น  การซื้อหุ้นไว้จะทำให้ได้กำไรงดงามเมื่อบริษัทประสบความสำเร็จและเติบโตไปตามที่คาด  ส่วนเรื่องของราคาหุ้น  แม้ว่าอาจจะดูว่ามีราคาแพงในวันนี้   โดยที่ค่า PE และ PB อาจจะสูงหรือสูงมากในวันนี้เนื่องจากกำไรของบริษัทยังอาจจะน้อยหรือไม่มีกำไรเลย  แต่ในอนาคตเมื่อกำไรเพิ่มขึ้น  ค่า PE ก็จะลดลงอย่างรวดเร็ว  กลายเป็นหุ้นที่ไม่แพง  อย่างไรก็ตาม  Growth Investor นั้นสนใจค่า PE น้อยกว่าการเติบโตของรายได้และกำไร
จุดอ่อนของ Growth Investment 
ก็คือ  มันไม่ค่อยคำนึงถึงราคาหุ้นที่อาจจะแพงเกินไป  มันอิงอยู่กับการคาดการณ์อนาคตของบริษัทว่าจะโตแบบก้าวกระโดด  ถ้าสิ่งเหล่านั้นไม่เป็นไปตามคาด  หุ้นก็อาจจะตกลงมาอย่างแรงได้  เหนือสิ่งอื่นใด  ศาสตร์ของการมองอนาคตนั้นไม่หนักแน่นมั่นคง  โอกาสที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงมีมหาศาลและหลายเรื่องไม่อาจคาดได้  ดังนั้น  การซื้อหุ้นโดยไม่สนใจหรือสนใจน้อยในเรื่องของราคารวมถึงปัจจัยพื้นฐานทางการเงินหรือตัวเลขอื่น ๆ  จึงเป็นเรื่องที่อันตรายมาก
-----------------------------------------------------

Passive Investment  
เพราะเขาไม่เลือกหุ้นอยู่แล้ว  พวกเขาคิดว่าตลาดหลักทรัพย์นั้นเป็นตลาดที่มี  “ประสิทธิภาพ”  ในการกำหนดราคาหุ้นให้เหมาะสมกับพื้นฐานของหุ้นทุกตัว  ดังนั้นไม่ต้องไปเลือก  ซื้อเฉลี่ยไปทุกตัวและถือไว้ตลอดเวลา  ซึ่งก็จะทำให้ได้ผลตอบแทนที่เหมาะสมคือประมาณปีละเกือบ 10% ในระยะยาว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น