หุ้นโภคภัณท์
1.เรือ
2.หุ้นผลิตฟิล์มสำหรับบรรจุอาหาร
3.กลุ่ม ยาง
4.ปิโตรเคมี
5.สินค้าเกษตรที่ต้องใช้เวลาในการปลูกยาวนาน
6.แร่ธาตุที่หายาก
5.สินค้าเกษตรที่ต้องใช้เวลาในการปลูกยาวนาน
6.แร่ธาตุที่หายาก
เหตุผลความหวือหวาของราคา
1.ข้อแรก ค่า PE หรือราคาหุ้นต่อกำไรต่อหุ้นนั้นยังต่ำมากเพียง 3-4 เท่าก็มี ซึ่งถือว่าเป็นหุ้นที่ “ถูกมาก” ซื้อหุ้นแล้ว “เพียง 3-4 ปี ก็คืนทุนแล้ว” แต่นี่อาจเป็นความเข้าใจผิด เพราะหุ้นโภคภัณฑ์นั้น กำไรมักไม่สม่ำเสมอ กำไรที่เห็นนั้นคือกำไรที่มากกว่าปกติมากและไม่ยั่งยืน กำไรโดยเฉลี่ยที่จะรักษาอยู่ได้นั้นอาจจะต่ำกว่าหลายเท่า ดังนั้น การเอาปีที่กำไรดีผิดปกติมาใช้วัดค่า PE จึงใช้ไม่ได้ หุ้นที่จะสามารถใช้ค่า PE เป็นตัววัดความถูกความแพงนั้น ควรจะเป็นกิจการที่มีกำไรสม่ำเสมอหรือเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เท่านั้น ดังนั้น ในกรณีของหุ้นโภคภัณฑ์แบบนี้ ค่า PEจึงมีประโยชน์น้อย การบอกว่าค่า PE ต่ำแสดงให้เห็นว่าเป็นหุ้นถูกจึงอาจจะไม่ถูกต้อง
2.หุ้นโภคภัณฑ์ที่กำลังร้อนนั้น นอกจาก PE ต่ำแล้ว ค่า PB หรือราคาต่อมูลค่าทางบัญชี ซึ่งเป็นตัวชี้ความถูกความแพงอีกตัวหนึ่งก็อาจจะต่ำด้วย บางทีต่ำกว่า 1 เท่าหรือไม่เกิน 2 เท่า ดังนั้น นี่เป็นการ “ยืนยัน” อีกจุดหนึ่งว่าหุ้นร้อนตัวนั้น “ยังถูกมาก” นี่ก็อาจจะมีส่วนจริงบ้างถ้าคิดว่ามูลค่าทรัพย์สินทางบัญชีนั้นอาจจะเป็นมูลค่าของทรัพย์สินจริง ๆ ที่สามารถขายได้ในกรณีเลิกกิจการ แต่ในความเป็นจริงก็คือ ไม่มีบริษัทไหนคิดจะเลิกกิจการ และผมก็ไม่แน่ใจว่าถ้าเลิกจริง ๆ สินทรัพย์จะมีราคาอย่างที่ว่าจริงไหม เพราะบ่อยครั้ง เวลาเลิกกิจการ โรงงานมักจะกลายเป็นเศษเหล็กที่แทบไม่มีค่าเลย นอกจากนั้น มูลค่าทางบัญชีเองก็ลดลงได้ในกรณีที่บริษัทมีผลขาดทุนในอนาคตอันเนื่องมาจากราคาของโภคภัณฑ์ที่ลดลงก็ได้ สรุปแล้ว ค่า PB เองก็ไม่ได้บอกอะไรที่มีความหมายมากนักในกรณีของหุ้นโภคภัณฑ์ที่เป็นโรงงาน
3. ค่า Dividend Yield หรือผลตอบแทนเงินปันผลเมื่อเทียบกับราคาหุ้น ของหุ้นโภคภัณฑ์ที่กำลังร้อนแรงนั้น มักจะสูงลิ่ว บางทีมากกว่า 6-7% ต่อปี ซึ่งเป็นปันผลที่งดงามมาก นี่เป็นตัวยืนยันความถูกของหุ้นในสไตล์หุ้น “ห่านทองคำ” ซึ่งเป็นแนวของนักลงทุนแบบVI ที่ “อนุรักษ์นิยมมาก” ในกลุ่ม VI ด้วยกัน ดังนั้น นี่เป็นการยืนยันความปลอดภัยของหุ้นอีกจุดหนึ่ง แต่นี่ก็อาจจะเป็นการวิเคราะห์ที่ผิดพลาดอีกเช่นกัน เหตุผลก็คือ ปันผลที่เห็นนั้น เป็นปันผลที่คิดจากกำไร ถ้าในอนาคตกำไรลดลง ปันผลก็ต้องลดลง ผลตอบแทนที่บอกว่า 6-7% จึงเป็นปันผลเพียงครั้งเดียว ในอนาคตอาจจะน้อยลงหรือไม่มีก็ได้ ดังนั้น Dividend Yieldในกรณีของหุ้นโภคภัณฑ์จึงไม่ได้บอกว่าหุ้นถูกหรือแพง
4.ฐานะการเงินของหุ้นโภคภัณฑ์ในยามร้อนแรงก็อาจจะดีเยี่ยม บางทีมีเงินสดเหลือเฟือด้วยซ้ำ แต่นี่ก็อาจจะเป็นภาพลวงตา เพราะเงินสดนั้น ไม่ได้นำมาแจกจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้น บางทีอนาคตก็อาจจะหมดไปกับการลงทุนหรืออะไรต่าง ๆ ที่ไม่ได้สร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับบริษัท ดังนั้น เงินสดก็อาจจะมีความหมายไม่มากถ้าเจ้าของเขาไม่อยากแจกคืนให้ผู้ถือหุ้น
วิธีการที่ผมคิดว่าดีที่สุดสำหรับการเล่นหุ้นโภคภัณฑ์ก็คือ
1.ซื้อหุ้นก่อนที่วัฏจักรราคาสินค้าจะเป็น “ขาขึ้น” อย่างน้อย 2-3 เดือนโดยที่ราคาหุ้นยังไม่ได้ขยับขึ้นหรือปรับตัวขึ้นก็เพียงเล็กน้อย ขายหุ้นเมื่อทุกอย่างกำลังร้อนแรงสุด ๆ และราคาหุ้นขึ้นไปสูงมากจนไม่น่าเชื่อ
-----------------------------------------------
-----------------------------------------------
หุ้นพันธบัตร
- หุ้นที่มีคุณสมบัติคล้าย ๆ กับพันธบัตร
- ผลตอบแทนที่ได้ต่อปีอยู่ในระดับที่ “พอใช้ได้” วัดจากอัตราเงินปันผลเมื่อเทียบกับราคาที่ซื้อ ซึ่งในภาวะปัจจุบันก็ไม่ควรต่ำกว่า 4-5% ต่อปี
- เงินปันผลนี้จะต้องไม่ลดลงในอนาคตและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ ในอัตราที่ไม่ต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อของระบบเศรษฐกิจ
- ส่วนผลตอบแทนที่เกิดจากราคาหุ้นหรือ Capital Gain นั้น ผมจะไม่นำมาคิดในช่วงที่ซื้อหุ้น
1.มันควรอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ Defensive ซึ่งยอดขายโดยรวมไม่ผันผวนมากนักตามภาวะเศรษฐกิจ สินค้าหรือบริการเป็นสิ่ง “จำเป็น” ในชีวิตของผู้คน ถ้ายอดขายมีความผันผวนหรือมีความไวต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจหรือปัจจัยแวดล้อมมาก ๆ ก็เป็นเรื่องยากที่กิจการจะมีผลการดำเนินงานที่สม่ำเสมอได้
2.ผลประกอบการของบริษัทไม่ควรที่จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหรือปัจจัยต่าง ๆ โดยเฉพาะในปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้มากนัก เช่น ไม่ควรขึ้นอยู่กับความต้องการหรือ Demand ของสินค้า หรือไม่ควรขึ้นอยู่กับเรื่องคู่แข่งหรือผู้ให้บริการรายใหม่ ๆ ที่จะเข้ามา หรือถ้าจะพูดไปก็คือ บริษัทอาจจะไม่ได้อยู่ในตลาดของการแข่งขันเสรีเนื่องจากเหตุผลต่าง ๆ ซึ่งอาจจะรวมถึงเรื่องของกฎระเบียบ สัมปทาน สัญญาหรือข้อตกลงที่มีการลงนามและผูกพันในระยะยาว หรือแม้แต่เรื่องที่เป็นการผูกขาดตามธรรมชาติของธุรกิจ เป็นต้น นอกจากนั้น ผลประกอบการของบริษัทก็ไม่ควรที่จะต้องขึ้นอยู่กับต้นทุนสำคัญที่ไม่อยู่ในการควบคุมของกิจการด้วย เพราะนี่อาจจะทำให้ผลประกอบการของบริษัทถูกกระทบได้มาก ซึ่งนั่นก็หมายถึงว่าราคาสินค้าหรือบริการของบริษัทสามารถปรับตามต้นทุนที่เปลี่ยนแปลงไปได้
3.ความสำเร็จหรือผลประกอบการของบริษัทน่าจะขึ้นอยู่กับ Operation หรือการดำเนินงานบางอย่างเท่านั้น เช่น ถ้าบริษัทสามารถผลิตหรือให้บริการตามที่ตกลงหรือตามที่กำหนดเป็นภารกิจของบริษัทได้แล้ว บริษัทก็จะสามารถทำกำไรได้ในระดับที่น่าพอใจ และกิจกรรมหรืองานที่บริษัททำนั้นไม่ได้เป็นสิ่งใหม่ที่ทำได้ยาก แต่เป็นการทำงานตามปกติของบริษัท โอกาสที่บริษัทจะทำไม่ได้หรือเกิดการผิดพลาดมีน้อย และนี่ทำให้บริษัทมีกำไรและจ่ายปันผลได้ในอัตราที่ค่อนข้างสม่ำเสมอ
4.มีข้อเสียเช่นเดียวกันในแง่ที่ว่า กำไรที่ดีผิดปกติก็มักจะไม่เกิดขึ้นเช่นเดียวกัน เหตุผลก็เพราะว่าบริษัทที่มีคุณสมบัติแบบนี้มักจะ “ถูกล็อก” ไม่ให้ทำกำไรเกินควรจากรัฐบาลหรือหน่วยงานควบคุมเนื่องจากมันอาจจะมีอำนาจในการผูกขาด หรือมันเป็นเรื่องของสัญญาที่ผู้ให้สัญญาต้องเป็นผู้จ่ายเงิน ดังนั้น หุ้นพันธบัตรจึงมีลักษณะคล้าย ๆ พันธบัตรนั่นคือ ความเสี่ยงต่ำในแง่ของผลประกอบการ แต่ผลตอบแทนก็มักจะไม่สูงโดยเฉพาะถ้ามองจากมุมของตัวกิจการเอง
5.ผลตอบแทนที่ผมคาดว่าจะได้จากหุ้นพันธบัตรนั้น จะต้องดีกว่าการถือพันธบัตร นั่นก็คือ ผลตอบแทนจากเงินปันผลต่อปีของหุ้นจะต้องดีกว่าหรืออย่างน้อยเท่ากับอัตราดอกเบี้ยที่ผมจะได้จากการถือพันธบัตรรัฐบาลซึ่งปัจจุบันก็อยู่ที่ประมาณ 5% ต่อปี และบริษัทควรที่จะมีการเติบโตของยอดขายและกำไรอย่างน้อยเท่ากับอัตราเงินเฟ้อที่ประมาณ 3% ต่อปี ดังนั้น โดยรวมแล้ว อย่างต่ำผมควรจะได้ผลตอบแทนประมาณไม่น้อยกว่า 8% ต่อปี โดยวิธีหาหุ้นที่จะเข้าข่ายก็ทำได้อย่างง่าย ๆ โดยดูที่กำไรปีล่าสุดว่าเป็นเท่าไรและปันผลเป็นเท่าไร ต่อมาก็ดูว่ากำไรและปันผลนั้นบริษัทน่าจะรักษาระดับอยู่ได้รวมถึงสามารถเติบโตได้อย่างน้อย 3-4% ขึ้นไป ยกตัวอย่างเช่น บริษัทมีกำไรปีละ 5 บาทต่อหุ้น ในกรณีแบบนี้ ผมก็จะยินดีที่จะจ่ายเงินซื้อหุ้นที่ราคาไม่เกิน 100 บาทซึ่งจะทำให้ผมได้เงินปันผลตอบแทนไม่ต่ำกว่า 5% ต่อปี ซึ่งดีกว่าการถือพันธบัตรเนื่องจากการถือหุ้นผมน่าจะได้กำไรจากราคาหุ้นด้วย เพราะหุ้นตัวนั้นจะมีการเติบโตจากกำไรและปันผลที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต
-----------------------------------------------
หุ้น Defensive
หุ้นที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่ยอดขายไม่ใคร่ถูกกระทบมากนักโดยภาวะเศรษฐกิจไม่ว่าจะทางดีหรือร้าย
1.อุตสาหกรรมอาหาร
2.กลุ่มสาธารณูปโภค
3.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น