วิธีการที่มักจะเห็นกันได้บ่อยมากในการตบแต่งบัญชี
การจัดการกำไร หรือ Earning Management
1.Cookie Jar Reserve เลือกที่จะ ประมาณการต้นทุนให้สูงในงวดปัจจุบันในรูปของการตั้งสำรองต่างเพื่อจะได้ให้ งวดต่อๆไปมีค่าใช้จ่ายน้อยลง วิธีการนี้จะมีการตั้งสำรองไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ซึ่งแน่นอนจะทำให้กำไรในงวดที่ตั้งสำรองลดลงทันที จากนั้นอาจมีการดึงการตั้งสำรองกลับในแต่ละงวดเพื่อเพิ่มกำไร
- นิยมทำกันคือ
* ประมาณการคืนสินค้า/รับประกันสินค้า
* ประมาณการตัดหนี้สูญ
* ประมาณการสินค้าเสื่อมคุณภาพ
* ประมาณการ %ที่งานเสร็จตามสัญญาก่อสร้างระยะยาว
2.Big Bath
บันทึก ประมาณการขาดทุนครั้งใหญ่ในการปรับโครงสร้าง(ไม่เกิดบ่อย)ลงในกำไรงวด ปัจจุบัน วิธีการนี้จะทำให้เกิดการขาดทุนอย่างหนัก อาจทำให้นักลงทุนเข้าใจว่าบริษัทอาจจะแย่ลงไปเลย ที่เคยเห็นเมื่อสองสามปีมานี้ก็คือการตัดด้อยค่า “ค่าความนิยม” จนทำให้ขาดทุนจนเกินทุนจนขาดทุนสะสม แต่พองวดต่อมาก็เอาส่วนเกินมูลค่าหุ้นล้างขาดทุนสะสม งบการเงินก็สะอาดเป็นปกติ แต่หุ้นล่วงอย่างหนัก
- นิยมทำ
* ปรับโครงสร้างการดำเนินงาน
* ปรับโครงสร้างหนี้
* ด้วยค่าใน สินทรัพย์
* ขายส่วนดำเนินงานออกไป
3.Big Bet on the future
ป็นการซื้ออนาคตเพื่อที่จะเพิ่มกำไรในปัจจุบัน และอนาคต โดยการซื้อกิจการอื่นๆ วิธีนี้เห็นกันบ่อยๆ เพราะเมื่อซื้อกิจการแล้วเอามารวมในงบการเงินจะเห็นว่าบริษัทมีสินทรัพย์ เพิ่มขึ้นสูงมาก ตรงนี้อย่าลืมดูว่ามีหนี้เพิ่มขึ้นมามากด้วยหรือไม่ และควรพิจารณาว่าการลงทุนในบริษัทลูกนั้นคุ้มค่าหรือไม่
- นิยมทำคือ
* รวมกำไรจากบริษัทที่ซื้อมาในงบการเงินรวมของบริษัท
* หมายเหตุ: มักหา กิจการที่มีผลตอบแทนสูงกว่า ต้นทุนเงินลงทุน / บริษัทไหนซื้อ กิจการมากๆบริษัทนั้นมีแนวโน้มจะแต่งตัวเลขมาก
4.Flushing the Investment Portfolio
มาตรฐานการบัญชี บังคับให้แยกกลุ่มของเงินลงทุนออกเป็น เพื่อค้า เผื่อขาย และถือจนครบอายุ สำหรับเงินลงทุนเพื่อค้านั้นจะเหมือนกับการซื้อหุ้นของเราๆท่านๆ เมื่อเกิดกำไรหรือขาดทุนให้บันทึกลงในงบกำไรขาดทุน ถ้ามีกำไรมากๆนิยมลงบัญชีเป็นเงินลงทุนเพื่อค้า เพราะจะได้แสดงกำไร แต่ถ้าขาดทุนมากๆนิยมย้ายไปเป็นเงินลงเผื่อขายเพราะเงินลงทุนเผื่อขายขาดทุน หรือกำไรไม่ต้องแสดงในงบกำไรขาดทุนแต่ให้ไปบันทึกลงในส่วนผู้ถือหุ้นแทน วิธีนี้เป็นวิธีซ่อนผลขาดทุนที่ใช้ได้ดี
- นิยมทำกันคือ
* โยกเวลาการขายเงินลงทุนที่มีกำไรไปเป็นเพื่อค้า
* โยกเวลาการขายเงินลงทุนที่ขาดทุนออกไปเป็นเผื่อขาย
* เปลี่ยนระยะเวลาถือครองตราสารหนี้
* ตัดขาดทุนด้อยค่าจากหลักทรัพย์
5.Throw out a Problem child
ตัดปัญหาจากบริษัทย่อยที่มีปัญหาออก ส่วนมากแล้วบริษัทมักจะจัดตั้งบริษัทร่วมบริษัทย่อย และเมื่อปิดงบการเงินก็จะต้องนำเอาบริษัทร่วมย่อยต่างๆมาทำงบการเงินรวมตาม ที่มาตรฐานการบัญชีกำหนด หากบริษัทร่วมหรือย่อยเหล่านั้นมีผลขาดทุนอยู่เสมอ หรือ อาจจะเกิดผลขาดทุนอย่างรุ่นแรง บริษัทก็อาจจะใช้วิธีการนี้ในการทำให้งบการเงินรวมออกมาดูดี
- นิยมทำกันคือ
* เปลี่ยนนโยบายการรับรู้รายได้
* เปลี่ยนนโยบายการรับรู้ค่าใช้จ่าย
6.Amortization, Depreciation, and Depletion
คือการเปลี่ยนแปลงระยะเวลาหรือวิธี การคำนวณค่าเสื่อมราคา การตัดสินทรัพย์ออกจากบัญชี(Write off) ทั้ง หมดนี้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้บริหาร แต่มาตรฐานการบัญชีก็มีการกำหนดเอาไว้ว่าตัดได้ไม่เกินกี่ปี บางครั้งหากการตัดค่าเสื่อมเร็วเกินไปจะส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในส่วนค่าเสื่อม ราคาสูง แต่พอปรับระยะเวลาให้นานขึ้นจะทำให้ค่าเสื่อมราคาลดลง ส่งผลให้กำไรเพิ่มขึ้นในทันที
* การเลือกวิธีการwrite off
* เลือกระยะเวลาwrite off
* ประมาณการค่าซาก
* เปลี่ยนPPEมาเป็น สินทรัพย์ที่ไม่ได้ใช้ดำเนินงาน
7.Sale/Leaseback
ขาย สินทรัพย์ดำเนินงานออกไปจะเป็นผลทำให้สามารถรับรู้ผลกำไรหรือขาดทุนได้ วิธีการนี้เรียกได้ว่าพยายามสร้างหนี้สินแต่ไม่ให้ปรากฏในงบดุล ผลที่ได้จะเกิดว่าสินทรัพย์ที่ขายออกไปก็ไม่ต้องบันทึกในงบดุล แถมรับรู้รายได้ได้อีก การกระทำนี้จะให้ผลหลายประการ เช่นงบการเงินดูดีเพราะสินทรัพย์และหนี้สินน้อยลง มีกำไรเพิ่มขึ้นจากการขายสินทรัพย์ออก หากเราไม่รู้เท่าทัน จะเห็นว่าบริษัทดูดีมาก
- นิยมทำใน
* ขายทั้งหมดออกไป
* ขายและเช่ากลับในรูปแบบสัญญาเช่าดำเนินงาน
8.Operating Income VS Non-operating Income
การตัดสิน ใจที่จะแยกรายได้ที่ไม่ชัดเจนว่าเป็นรายได้จากการดำเนินงานหรือไม่ใช่รายได้ จากการดำเนินงาน รายได้ที่ไม่ใช่รายได้ดำเนินงานนั้นจะไม่เกิดขึ้นเป็นปกติแต่มักจะเกิดขึ้น ในกรณีพิเศษ เช่นขายสินทรัพย์ออกไป ดังนั้นหากไม่ทำให้ชัดเจนจะเกิดเป็นผลทำให้สับสนได้
- นิยมทำกัน
* รายการพิเศษ หรือรายการที่ไม่มีโดยปกติ
* การยกเลิกการดำเนินงาน(บางส่วน)
* กำไรหรือขาดทุน พิเศษ ในฐานะนักลงทุน ก่อนจะลงทุนอย่าดูงบการเงินแบบผิวเผิน ดูแค่บรรทัดสุดท้ายที่กำไรเท่านั้น ในงบการเงินนั้นมีสิ่งที่ต้องให้เราเข้าไปดูให้ระเอียด ทั้งนี้เพื่อปกป้องเงินในกระเป๋าเราครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น