วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555



การเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรม

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว
1.การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
2.พฤติกรรมของคน
3.ลักษณะหรือคุณสมบัติของกิจการที่มีความอ่อนไหวต่อสภาพแวดล้อมหรือภาวะเศรษฐกิจสูง

อุตสาหกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงเร็วที่สุด
1.อุตสาหกรรมไฮเทคทั้งหลาย
คอมพิวเตอร์
อินเตอร์เน็ต
การสื่อสารโทรคมนาคม
2.ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะที่ทำเพื่อขาย
บริษัทขายบ้านจัดสรร  เหตุผลก็คือ  นี่คือธุรกิจที่ต้องนับหนึ่งใหม่ ทุกปีเพราะลูกค้าเดิมไม่ซื้อซ้ำ
3.ธุรกิจการเงิน
(บางทีอาจจะเกิดขึ้นจากการขยายตัวภายในหรืออาจจะมีการควบรวมกับรายอื่นทำให้สถานะและความสามารถในการแข่งขันเปลี่ยนแปลงไปในเวลาไม่นานนัก)
4.ธุรกิจไอที  สื่อสาร  บันเทิง  สื่อ  และ สิ่งพิมพ์  

ถ้าจะลงทุน ต้อง ขอส่วนลด  หรือให้ค่า PE ของหุ้นต่ำกว่าหุ้นของบริษัทที่มีสถานะใกล้เคียงกันแต่อยู่ในอุตสาหกรรมที่มั่นคง” กว่า
-------------------------------------
อุตสาหกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงช้ามาก
อุตสาหกรรมอาหาร
   (โค๊กก็ยังยิ่งใหญ่เหมือนเดิม)
   (แม็คโดนัลด์เองก็เป็นอาหารที่ยิ่งใหญ่พอ ๆ  กันและนับวันมันจะขยายไปทั่วโลกโดยที่ยังหาคนที่มาต่อกรได้ยาก )
ธุรกิจค้าปลีกประเภทขายสินค้าราคาถูก
วอลมาร์ท  คาร์ฟู และ เทสโก้ เหล่านี้ต่างก็เป็นผู้นำในตลาดของประเทศตนเองและตลาดโลกมาช้านานโดยที่ไม่มีความเสี่ยงที่จะมีคู่แข่งมาทำลายตำแหน่งของตนเองได้

สองอุตสาหกรรมต่างก็เป็นธุรกิจ โลว์เทค”  ที่มีการใช้เทคโนโลยีน้อยมาก
พลังงาน

--------------------------------------
PE สูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตประมาณ 30-40% 
1.VI พันธุ์แท้
ไม่สนใจตลาด
พบว่ามีหุ้นที่ยังมีราคาถูกกว่ามูลค่าพื้นฐานมาก  มี  Margin Of Safety หรือส่วนต่างของความปลอดภัยสูง  เราก็จะซื้อ
PE ต่ำ +  PB ต่ำด้วย   แต่ ถดถอยลงเนื่องจากปัจจัยทางด้านคุณภาพ
อยู่ในอุตสาหกรรมที่กำลังตกต่ำล
หุ้นวัฏจักรที่กำลังเข้าสู่วัฎจักรขาลง 


ยามที่ตลาดหุ้นบูม  
เราจะต้องระมัดระวังมากเป็นพิเศษว่า  หุ้นที่เราเห็นว่ามีราคาถูกโดยดูจากตัวเลขเช่น  ค่า PE  นั้น  อาจจะเป็น  กับดัก  ที่ทำให้เรา ติด ได้   เหนือสิ่งอื่นใด  เราต้องคิดว่า  ถ้ามันหาง่ายอย่างนั้น  คนก็คงจะเจอแล้วก็ซื้อมันและทำให้ราคามันขึ้นไปก่อนหน้านี้แล้ว  คงไม่ปล่อยให้มันมี PE ต่ำมากอยู่อย่างนั้นโดยเฉพาะในยามที่มี  “VI”  อยู่เต็มตลาดหุ้น


ยามที่หุ้นในตลาดปรับตัวขึ้นมาก  เราควรจะ  Switch  หรือเปลี่ยนตัวหุ้น  จากหุ้นที่เราได้กำไรมากหรือหุ้นที่มีการปรับตัวขึ้นไปมากและราคาหุ้นเริ่มแพงแล้ว แล้วเอาเงินไปซื้อหุ้นที่ยังเป็น  “Laggard”  หรือหุ้นที่ยังไม่ค่อยได้ขึ้นไปเท่าไรและราคาอาจจะยังถูกเมื่อเทียบกับหุ้นอื่น ๆ  ในตลาด  แนวความคิดนี้อาจจะดูเหมือนว่าไม่ใช่แนว VI เพราะอาจจะไม่ได้วิเคราะห์ว่าหุ้นนั้นมี  Margin Of Safety มากน้อยแค่ไหน  แต่ไปดูจากการเปรียบเทียบว่าหุ้นตัวไหนราคาถูกกว่าอีกตัวหนึ่งแทนที่จะดูว่าตัวมันเองคุ้มค่าหรือไม่กับพื้นฐานของมัน   อย่างไรก็ตาม  VI  ที่มองในแนวนี้ก็อาจจะบอกว่า  หุ้นตัวใหม่ที่เขาจะซื้อนั้น  จะต้องเข้าข่ายว่าเป็นหุ้น “VI” ด้วย  นั่นก็คือ  เขาอาจจะกำลังบอกว่า  เขา  Switch จากหุ้น  VI ที่แพง  ไปสู่หุ้น  VI ที่ถูกกว่า  มี  Margin Of Safety  สูงกว่า


การ Switch หุ้นในยามที่ดัชนีหุ้นปรับตัวขึ้นและหุ้นส่วนใหญ่ปรับตัวขึ้นตามดัชนีตลาดนั้น  อาจจะไม่ใช่กลยุทธ์ที่ดีนัก  เหตุผลก็คือ  ในยามที่ตลาดหุ้นคึกคัก  หุ้นที่จะ  ถูกละเลย นั้นน่าจะมีน้อย  การที่หุ้นตัวหนึ่งวิ่งได้ดีหรือมากกว่าหุ้นอีกตัวหนึ่งนั้นอาจจะเป็นเพราะว่าหุ้นตัวแรกมีพื้นฐานหรือคุณสมบัติดีกว่าหุ้นตัวที่สอง  การวิเคราะห์เดิมของเราอาจจะผิดพลาด   ที่สำคัญ  มูลค่าของหุ้นตัวแรกอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปในขณะที่หุ้นตัวที่สองนั้นมูลค่าของกิจการไม่ได้เพิ่มขึ้น  ไม่ว่าจะเป็นกรณีใด  การ Switch นั้นอาจจะมีโอกาส ชนะ  ไม่มากและอาจจะไม่คุ้มกับค่าคอมมิชชั่นและส่วนต่างราคาซื้อขายที่เราจะต้องเสีย  เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ  มันอาจจะทำให้เราต้องเสียหุ้นที่ดีและได้หุ้นที่เลวกว่ามาแทนในทำนอง  ขายหมูแล้วไปซื้อควายมา  อย่างที่พูดกันในหมู่ VI


ข้อดีที่เห็นได้ชัดที่สุดก็คือถ้าเกิดวิกฤติหรือตลาดหุ้นตกลงมารุนแรงและทำให้หุ้น VI  ที่เราสนใจมีราคาลดลงมาก  เราก็จะได้ซื้อหุ้นถูกและทำให้ผลตอบแทนในอนาคตสูงขึ้น  แต่เหตุการณ์นั้นจะมีโอกาสเกิดขึ้นมากน้อยแค่ไหนเราก็ไม่รู้  หลายคนอาจจะบอกว่าเหตุการณ์ในยุโรปนั้นน่ากลัวมากน่าจะมีโอกาสสูงที่ยุโรปจะประสบปัญหาทางเศรษฐกิจรุนแรงและนั่นน่าจะทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกและตลาดหุ้นไทยตกลงมารุนแรงได้  ประเด็นนี้ผมเองไม่อยากที่จะให้ความเห็น   แต่ประสบการณ์ก็คือ  วิกฤติมักจะเกิดขึ้นตอนที่ไม่มีใครคาดคิด


ทำอย่างไรในสถานการณ์หุ้นแพง  คำตอบก็คือ  ผมแทบจะไม่ทำอะไร  โดยเฉพาะในยามที่หุ้นยังไม่ได้เป็น  ฟองสบู่  ประเด็นต่อมาก็คือ  ผมทำอะไรกับเงินสดที่อาจจะได้มาจากปันผลหรือจากแหล่งอื่น  คำตอบก็คือ  ผมก็อาจจะถือเป็นเงินสดไว้  หรือไม่ก็ลงทุนในหุ้นที่มั่นคงมากในแง่ผลประกอบการที่ยังให้ผลตอบแทนปันผลพอสมควร  อาจจะ 4-5% เทียบกับเงินฝากที่ 1-2ซึ่งหุ้นในกลุ่มนี้ผมมักจะเรียกว่า  หุ้นพันธบัตร  ซึ่งหลายตัวเป็นผู้ให้บริการสาธารณูปโภคที่มีรายได้และกำไรค่อนข้างแน่นอนและมีการเติบโตบ้างแต่ราคาไม่แพงเท่าไรนัก 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น