วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

VI นั้น ผมคิดว่ามีประเด็นใหญ่ ๆ 3 เรื่องที่ต้องฝึกฝนเพื่อให้สำเร็จเป็น VI 
1.เรื่องของปรัชญาและหลักการสำคัญในการลงทุน
ลงทุนเฉพาะในสิ่งที่เขารู้จักดี หรือที่บัฟเฟตต์เรียกว่าลงทุนภายใน Circle Of Competence อะไรที่เราไม่รู้ เราไม่ควรลงทุน โดยนัยนี้ เราควรจะมีหุ้นที่เราจะลงทุนได้ไม่มากนักถ้าเราไม่ใช่ “มืออาชีพ” 


2.การฝึกฝนในด้านของจิตใจหรืออารมณ์เมื่อประสบกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่กระทบกับการลงทุน“สไตล์” - การลงทุนที่ตนเองยึดถือ การลงทุนแบบ “เล่นได้ทุกรูปแบบ” นั้น เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากทีเดียว เพราะความชำนาญและการฝึกฝนของเรานั้นมีจำกัด ไม่เหมือน ปีเตอร์ ลินช์ ที่บริหารกองทุนขนาดมโหฬารและใช้เวลากับมันสูงมาก ดังนั้น สำหรับ VI ทั่วไปแล้ว เราควรจะเลือกหาสไตล์ที่มีโอกาสชนะสูงแล้วฝึกฝนและปฏิบัติจนเก่งและยึดถือมันเป็นหลักในการลงทุน


งฝึกฝนในด้านของการบริหารความเสี่ยงของการลงทุน การทำอย่างนั้นได้ดีนั้น ผมคิดว่าควรเริ่มต้นจากทัศนะคติในการวิเคราะห์เพื่อเลือกหุ้นลงทุน ซึ่งผมคิดว่าควรเน้นไปที่การมอง “ด้านลบ” ก่อน “ด้านบวก” นั่นคือ เวลาคิดจะซื้อหุ้นนั้น ต้องคิดว่า “อย่าขาดทุน” มากกว่าที่จะหวังผลเลิศว่าจะได้กำไรเท่าไร นอกจากนั้น VI ควรจะต้องคำนึงถึงความเสี่ยงของการ “หายนะ” ไว้เสมอ นี่คือความเสี่ยงที่อาจจะมีน้อยมากจนบางครั้งเราลืมที่จะคิดถึง สำหรับผมแล้ว สิ่งที่ “Unthinkable” หรือสิ่งที่แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย อาจจะเกิดขึ้นได้มากกว่าที่เราคิด แต่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร พอร์ตการลงทุนของเราควรที่จะพร้อมรับกับสถานการณ์อย่างนั้นได้ ซึ่งในเรื่องของความเสี่ยงนี้ เลี่ยงไม่ได้ที่เราจะต้องใช้หลักของการกระจายการลงทุนอย่างเหมาะสม นั่นคือ ไม่มากหรือน้อยเกินไป


เรื่องของอารมณ์และจิตใจ ผมคิดว่าเรื่องสำคัญที่สุดของการเป็น VI ก็คือ ความ “ใจเย็น” นี่คือคุณสมบัติที่สำคัญที่จะทำให้เราสามารถคิดได้อย่างมีเหตุผลไม่หุนหันพลันแล่น ไม่ตกใจกลัวและรีบ “ทิ้งหุ้น” เวลามีเหตุการณ์รุนแรงที่กระทบกับตลาดหุ้น เช่นเดียวกับที่ไม่รีบร้อนที่จะ “แย่งซื้อหุ้น” ในยามที่ตลาดหรือหุ้นกำลังร้อนแรง นอกจากความใจเย็นแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ผมคิดว่าต้องฝึกและปฏิบัติก็คือ ความศรัทธายึดมั่นต่อหลักการและแนวทางที่ถูกต้องและที่เราเลือกแล้ว นั่นก็คือ อย่าถูกทำให้ “ไขว้เขว” จากเส้นทางที่มีการพิสูจน์มายาวนานโดยกูรูระดับโลกโดยเหตุการณ์หรือสภาวการณ์บางช่วงบางตอนที่อาจชี้ไปในอีกแนวทางหนึ่ง จงจำไว้ว่าไม่มีแนวทางไหนที่ดีและชนะตลอดเวลา ในบางช่วงเวลานั้น แม้แต่กลยุทธ์หรือวิธีการที่แย่ที่สุดในระยะยาวก็สามารถทำผลงานที่ยอดเยี่ยมกว่าวิธีอื่น ๆ ทั้งหมดได้ โดยนัยยะนี้ VI ที่จะเป็นสายดำได้นั้นจะต้องเรียนรู้และยอมรับว่า บ่อยครั้งหรือบ่อยช่วงเวลา พอร์ตของเราอาจจะแพ้คนอื่นที่อาจจะไม่ได้มีสายรัดสีอะไรเลยก็ได้ แต่ในระยะยาวแล้ว VI สายดำก็จะทำผลตอบแทนได้ดีกว่า


เรียนรู้ความผิดพลาด และเมื่อรู้แล้วต้องรีบแก้ไข อย่าไปยึดมั่นแบบหัวชนฝา
3.เรื่องของการใช้ชีวิตที่สอดคล้องกับการเป็น VI
          คนเหล่านี้มักใช้ชีวิตแบบ “พอเพียง” หรือถ้าจะพูดให้ถูกต้องกว่าก็คือ ใช้ชีวิตต่ำกว่าฐานะของตนเอง คนเหล่านี้มักจะไม่ได้มีความสุขจากการใช้เงินเพื่อตนเอง สาเหตุสำคัญน่าจะมาจากนิสัยส่วนตัวที่ไม่ได้นิยมความหรูหราทางด้านวัตถุ พวกเขามีความสุขจากกิจกรรมง่าย ๆ ที่ไม่ต้องใช้เงิน และที่สำคัญก็คือ มีความสุขจากการลงทุนหรือหาเงินมากกว่าการใช้เงิน ถ้ามองถึงพื้นเพ หลายคนไม่ใช่คนที่ที่บ้านมีฐานะร่ำรวยมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร การใช้ชีวิตต่ำกว่าฐานะของตนเองนั้น น่าจะมีส่วนช่วยให้ความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นเร็วกว่าโดยเฉพาะในช่วงที่ VI ยังมีเงินน้อย
-------------------------------------------------------------------
สูตรการลงทุนอย่างสบายใจ


ข้อแรก  จงตั้งความหวังผลตอบแทนระยะยาวจากการลงทุนในหุ้นให้เหมาะสมนั่นก็คือ  ผลตอบแทนทบต้นต่อปีเฉลี่ยประมาณ 10%    ถ้าเราคิดว่าเรามีความสามารถสูงมาก  ก็อาจจะตั้งความหวังได้สูงขึ้น  แต่สูงสุดไม่ควรเกิน 15ต่อปี   โดยคำว่าระยะยาวของผมนั้นจะต้องยาวไม่ต่ำกว่า 10 ปีขึ้นไป   การตั้งความหวังที่เหมาะสมนั้นจะทำให้เรามีโอกาสบรรลุผลได้ไม่ยากเกินไปซึ่งจะทำให้เราไม่ต้อง  เร่ง  ผลตอบแทนโดยวิธีการต่าง ๆ  ที่มีความเสี่ยงสูง   เช่น  ไม่ต้องเล่น  หุ้นร้อน  หรือ  ไม่ต้องใช้มาร์จินในการซื้อขายหุ้น เป็นต้น   ซึ่งทำให้เราสามารถลงทุนหุ้นได้แบบ  ชิว ๆ 


ข้อสอง  เลือกซื้อหุ้นที่เน้นความปลอดภัยของตัวกิจการเป็นหลัก  นี่คือหุ้นที่มีการเปลี่ยนแปลงช้าในด้านของธุรกิจ  เป็นกิจการที่ไม่ล้ำสมัยแต่ไม่ล้าสมัย   เป็นกิจการที่เป็น  ผู้นำ มีฐานะทางการเงินดี  และถ้าจะให้ดีขึ้นไปอีกก็คือ  เป็นกิจการที่เราเองมีโอกาสได้พบเห็นหรือได้ใช้บริการเป็นประจำ


ข้อสาม  ต้องมีการกระจายความเสี่ยงในการถือหุ้นอย่างเหมาะสม  นั่นก็คือ  ถ้ามีเงินตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป  ก็ควรต้องมีหุ้นอย่างน้อยประมาณ 5 ตัวโดยที่ตัวใหญ่สุดไม่ควรจะเกิน 30%  ของพอร์ต  นอกจากนั้น  ควรจะถือหุ้นในหลาย ๆ  อุตสาหกรรม   แต่ถ้ามีเงินลงทุนค่อนข้างมากเช่นเป็น 10 ล้านบาทขึ้นไป  หุ้นที่ลงก็อาจจะมากขึ้นไปได้   แต่ก็ต้องไม่มากจนเกินไป  เพราะมิฉะนั้นเราก็อาจจะมีหุ้นที่เป็น  เบี้ยหัวแตก  ที่ทำให้เราขาดการเอาใจใส่และทำให้ผลตอบแทนการลงทุนของเราด้อยลงไปได้  โดยทั่วไปแล้ว  ผมคิดว่าถ้ามีเงินไม่เกิน 100 ล้านบาท  ก็ไม่ควรถือหุ้นเกิน  10-15  ตัว


ข้อสี่  เราควรพยายามตั้งเป็นกฎคร่าว ๆ  ว่าในแต่ละปีเราจะมีการซื้อขายหุ้นไม่เกินกี่เปอร์เซ็นต์ของพอร์ตการลงทุน  กฎง่าย ๆ  ของผมก็คือ  ปริมาณการซื้อขายหุ้นของเราในแต่ละปีไม่ควรจะเกิน 2 เท่าของขนาดของพอร์ตของเรา   เช่น  ถ้าพอร์ตของเราเท่ากับ  1  ล้านบาทในตอนต้นปี  เราควรซื้อขายหุ้นในปีนั้นไม่เกิน 2 ล้านบาท  นั่นแปลว่า  เราจะถือหุ้นแต่ละตัวเป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 1 ปี โดยเฉลี่ย  ถ้าเราซื้อขายหุ้นมากกว่านั้นก็แสดงว่าเราอาจจะถือหุ้นสั้นเกินไปและอาจจะหมายความว่าเราเป็น  นักเก็งกำไร  แทนที่จะเป็น  นักลงทุน”  และประเด็นของผมก็คือ  การเป็นนักเก็งกำไรนั้น  ก่อให้เกิดความตึงเครียดสูงกว่านักลงทุนมาก


ข้อห้า  อย่าสนใจการขึ้นหรือลงของหุ้นแต่ละตัวมากนัก  พยายามมองภาพรวมของพอร์ตหุ้นว่าเติบโตขึ้นหรือลดลง  การไปเน้นดูหุ้นแต่ละตัวก่อให้เกิดความเครียดเพราะเราจะพบหุ้นที่มีราคาตกลงไปมากและอาจจะพยายามไปทำอะไรกับมันที่อาจจะไม่ก่อให้เกิดผลดี   ที่สำคัญก็คือ  อย่าไปดูราคาหุ้นทุกตัวทุกวัน  วิธีที่ผมแนะนำก็คือ  ทุกสัปดาห์หรือทุกเดือน  เราก็คำนวณดูว่าพอร์ตการลงทุนของเราเป็นเท่าไรโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งมีอยู่มากมาย   โดยการดูเป็นพอร์ตนี้  เราก็จะเห็นว่าความผันผวนมันน้อยลงเมื่อเทียบกับหุ้นแต่ละตัว   และนี่ทำให้เราเครียดน้อยลง  และถ้าเราลงทุนเลือกหุ้นได้ถูกต้องโดยเฉลี่ย  เราก็ควรจะเห็นพอร์ตของเราโตขึ้นอย่างช้า ๆ  และมั่นคงเมื่อเวลาผ่านไป


ข้อหก  การที่เราจะทำอะไรกับหุ้นแต่ละตัวนั้น  ไม่ควรจะเน้นไปที่ด้านของราคาหุ้นรายวัน สิ่งที่เราควรทำก็คือ  ทุกไตรมาศ  เราต้องติดตามดูว่าผลประกอบการของบริษัทเป็นอย่างไร  มันเป็นไปอย่างที่เราคาดไว้ไหม?  เช่น  ดีขึ้น  ดีขึ้นมาก  แย่ลง  แย่ลงมาก  เพราะอะไร?  จากนั้นก็สามารถนำมาตัดสินได้ว่าเราจะทำอะไรกับหุ้น  โดยปกติถ้าเราลงทุนหุ้นถูกตัวแล้ว  ส่วนใหญ่เราก็มักจะไม่ต้องทำอะไร   แต่ในบางกรณีที่เราคาดการณ์ผิด  เราก็อาจจะขายทิ้งได้   เช่นเดียวกัน  บางครั้งเราก็อาจจะซื้อเพิ่ม  โดยวิธีนี้   เราก็ไม่ต้องกังวลเป็นรายวันกับราคาของหุ้นมากนัก


ข้อเจ็ด  เมื่อเราได้รับปันผลมา  อย่านำเงินไปใช้หรือเอาออกจากพอร์ตถ้าไม่จำเป็น   นำปันผลนั้นกลับไปซื้อหุ้นกลับเข้าพอร์ตเพื่อทำพอร์ตให้เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ  และเป็นหลักการลงทุนแบบทบต้นซึ่งจะทำให้พอร์ตโตเร็วขึ้นแบบทวีคูณ  เป้าหมายของเราควรจะตั้งไว้ว่าเราต้องการสร้างพอร์ตนี้เพื่อเป็นเงินเพื่อการเกษียณหรือเป็นเงินมรดกเพื่อลูกหลาน  เงินที่เราจะนำไปใช้จ่ายนั้นควรเป็นเงินที่เราทำมาหาได้จากน้ำพักน้ำแรงมากกว่า   ถ้าคิดได้แบบนี้  เราก็จะสบายใจว่านี่เป็น  เงินเย็น  ที่จะอยู่กับเราต่อไปอีกนานเราจะเครียดน้อยลง


 ข้อแปด  ทุกปี  เราต้องคำนวณหาผลตอบแทนประจำปีดูว่าเราทำได้เท่าไรเทียบกับผลตอบแทนของตลาดและเทียบกับเป้าหมายระยะยาวของเราซึ่งก็คือ  10-15ที่เราตั้งไว้  ถ้าเราทำได้ดีกว่าตลาดและดีกว่าเป้า  เราก็ควรจะดีใจโดยไม่ต้องไปเปรียบเทียบกับคนอื่น   ถ้าเราทำได้แพ้ตลาดแต่ยังทำได้ตามเป้าเราก็ยังควรจะดีใจเพราะในไม่ช้าเป้าหมายระยะยาวของเราก็ไปได้ถึง   แต่ถ้าเราแพ้ทั้งตลาดและก็ไม่ได้ตามเป้าส่วนตัวของเรา   เราก็อาจจะเสียใจบ้างแต่ก็ควรจะดูต่อไปว่าปันผลที่ได้รับในปีนั้นของเราเพิ่มขึ้นหรือไม่  ถ้ามันยังเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน  นั่นก็อาจจะเป็นเครื่องปลอบเราว่าที่จริงการลงทุนของเรานั้นไม่ได้ผิดพลาด  มันยังก้าวหน้าไป  เพียงแต่ในระยะสั้น ๆ  ตลาดหุ้นอาจจะไม่เป็นใจทำให้ราคามันลดลง  แต่ในอนาคต  มันก็คงจะปรับตัวขึ้นไปได้ไม่ยาก ว่าที่จริง ในระยะยาวจริง ๆ  แล้ว   ปันผลนั้นถือว่าเป็นเครื่องวัดที่สำคัญที่สุดตัวหนึ่งว่า   เราลงทุนได้ถูกต้องหรือเปล่า  ถ้าปันผลเพิ่มขึ้นทุกปีในอัตราที่น่าประทับใจ  เราก็ไม่มีอะไรต้องวิตกเลย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น