วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


ปัจจัยที่สำคัญอีกตัวหนึ่งในการคำนวณหามูลค่าพื้นฐาน
1.ปันผล
2.อัตราคิดลด
3.อัตราการเติบโตหรือการเพิ่มขึ้นของเงินปันผลในอนาคต
--------------------------------------------------

1.คำนวณมูลค่าพื้นฐานอย่างไร
2.เมื่อไรเล่าที่ราคาจะวิ่งเข้าหาพื้นฐาน
- มูลค่าปัจจุบันของหุ้นที่เหมาะสมเมื่อเทียบกับผลตอบแทนที่ผู้ถือหุ้นจะได้จากบริษัทตลอดไป  และผลตอบแทนที่ว่านั้นก็คือ  “ปันผล” ในอนาคตทั้งหมดของบริษัท “เป็นราคาหุ้นที่เรายินดีที่จะจ่ายเงินซื้อเพื่อเก็บกินปันผลไปตลอดชีวิต  โดยที่เราจะไม่ขายหรือเป็นหุ้นที่เราไม่สามารถขายได้” อาจจะเป็นเพราะผมไม่แน่ใจว่าปันผลจะลดลง  หรืออาจจะเป็นเพราะว่าผมกลัวว่าอนาคตบริษัทอาจจะเจ๊งหรือธุรกิจตกต่ำลงมากและจ่ายปันผลน้อยลงเรื่อย ๆ ซึ่งผมจะ  “ไม่มีทางออก”   แต่ถ้าคำตอบของผมก็คือ  “เอา”  นั่นก็แปลว่าผมมั่นใจในตัวบริษัทว่าจะยังดีต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ   ปันผลในอนาคตนั้นมีโอกาสสูงที่จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ  ในขณะที่ความเสี่ยงที่ธุรกิจจะตกต่ำลงมีน้อยมาก  ดังนั้น  ผมยินดีซื้อและถือหุ้นตัวนั้นตลอดชีวิต เวลาพิจารณาซื้อหุ้นโดยอิงกับ  “มูลค่าพื้นฐาน”  ของหุ้น   เราจะต้องคิดว่าเราจะต้องเก็บหุ้นไว้ตลอดชีวิตจริง ๆ   ถ้าเราคิดว่าเราสามารถขายได้ทุกนาที  หรือเราสามารถขายได้ถ้า “สถานการณ์เปลี่ยน”  หรือแม้แต่เราจะขายเมื่อ  “บริษัทโตเต็มที่แล้ว”  ซึ่งน่าจะเกิดขึ้นใน 3-4 ปีข้างหน้า  แบบนี้แสดงว่าเรายังไม่ได้ซื้อหุ้นโดยอิงกับมูลค่าพื้นฐานจริง ๆ
     “อัตราคิดลด”  ซึ่งก็คืออัตราผลตอบแทนที่เราต้องการในการลงทุนซื้อหุ้นตัวนั้น  อัตราผลตอบแทนนี้จะคล้าย ๆ  กับอัตราดอกเบี้ยที่เราได้ถ้าเราเอาเงินไปฝากธนาคารหรือลงทุนซื้อพันธบัตรซึ่งเราจะได้ผลตอบแทนที่แน่นอนเช่นปีละ 1% หรือ 3-4%  ตามลำดับ   แต่การลงทุนในหุ้นนั้นเราจะได้ปันผลที่มีอัตราไม่แน่นอนขึ้นกับผลกำไรของบริษัท  ดังนั้นเราจึงต้องการผลตอบแทนที่สูงกว่าโดยเฉลี่ยเช่นอาจจะได้ผลตอบแทนประมาณปีละ 10%
     อัตราการเติบโตหรือการเพิ่มขึ้นของเงินปันผลในอนาคต  นี่คือสิ่งที่จะทำให้มูลค่าหุ้นสูงหรือต่ำอย่างมีนัยสำคัญ  เพราะถ้าปันผลเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  เราก็จะได้ผลตอบแทนมากขึ้นทุกปีหรือเกือบทุกปี  ยิ่งนานปันผลก็ยิ่งเพิ่มขึ้น  บางทีผ่านไป 15-20 ปี  เงินปันผลแต่ละปีอาจจะเพิ่มขึ้นเท่ากับเงินค่าหุ้นที่เราจ่าย  ถ้าเป็นแบบนี้มูลค่าของหุ้นก็จะมาก  แต่ถ้าปันผลไม่โตเลย  เคยได้เท่าไร  ผ่านไป 5-10 ปีก็ยังได้ปันผลเท่าเดิม  แบบนี้หุ้นก็จะมีมูลค่าน้อย
---------------------------------------------------
ตย

บริษัท ก. มีกำไรปีละ 0.40 บาทต่อหุ้น  จ่ายปันผลปีละ 0.30 บาท  ราคาหุ้นเท่ากับ 10 บาทต่อหุ้น  เราคาดว่ากิจการของบริษัทนี้จะเติบโตขึ้นประมาณปีละ 10% ไปได้เรื่อย ๆ  โดยที่บริษัทไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มทุนเพราะฐานะทางการเงินดีมากไม่มีหนี้สินจากสถาบันการเงินเลย   ถามว่ามองโดยพื้นฐานเราควรซื้อหุ้นบริษัทนี้หรือไม่
ก่อนอื่นลองคำนวณดูว่าในปีแรกที่เราลงทุนนั้น  เราจ่ายเงินค่าหุ้น 10 บาทและได้ปันผล 0.30 บาทเท่ากับว่าเราได้ปันผลปีแรก 3%  ดูแล้วก็อาจจะไม่น่าจูงใจอะไร  เพราะเราลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลซึ่งไม่มีความเสี่ยงเลยเรายังได้ดอกเบี้ยประมาณ 4%   แต่เนื่องจากกำไรของบริษัทน่าจะเพิ่มขึ้นได้ปีละ 10%  ซึ่งน่าจะทำให้บริษัทสามารถจ่ายปันผลได้เพิ่มขึ้นปีละ 10% เช่นกัน  ดังนั้น  ปีที่สองปันผลน่าจะเป็น 3.3%  และปีที่สามน่าจะเป็น 3.63%  ปีที่สี่เท่ากับประมาณ 3.99 หรือ 4% ซึ่งเท่ากับพันธบัตรแล้ว  หลังจากนั้นอัตราก็จะสูงกว่าไปเรื่อย ๆ  พอถึงปีที่ 10 ปันผลก็เท่ากับ 8.56% และเมื่อถึงปีที่ 37 ซึ่งอาจจะเป็นปีที่เราเกษียณ  ปันผลที่ได้ในแต่ละปีอาจจะเป็น 10 บาทเท่ากับราคาหุ้นในวันนี้และทำให้เราเกษียณอย่างมีความสุข   เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ  ตั้งแต่ปีที่ 4 ของการถือหุ้น  เราก็ได้ผลตอบแทนดีกว่าการลงทุนในตราสารการเงินอื่น ๆ แล้ว   ดังนั้น  เราจึงคิดว่า  ราคาหุ้น ก. ที่ 10 บาท  เป็นราคาหุ้นที่เหมาะสมกับพื้นฐานในแง่ของเราและเรายินดีที่จะซื้อมัน
คำถามต่อมาก็คือ  ถ้าราคาหุ้น ก. ที่ 10 บาทซึ่งเราคิดว่าถูก  แต่ถ้าถือแล้วมันไม่ขึ้นทั้งที่กำไรและปันผลของบริษัทก็ดีขึ้นตามที่คาดแต่ราคาหุ้นกลับไม่ขึ้นซักทีเป็นเวลาหลายปี  แบบนี้เราควรจะขายทิ้งไหม?  คำตอบก็คือ  ไม่จำเป็น  จำไว้ว่าถ้าเรา “ลงทุนตามพื้นฐาน”  และมั่นใจว่าสิ่งที่เราคาดการณ์ไว้ถูกต้อง  เราก็ถือมันไป  ผลตอบแทนของเรานั้น  เราต้องคิดว่ามันไม่จำเป็นที่จะต้องอาศัยนักลงทุนคนอื่นในการมาซื้อหุ้นต่อจากเราในราคาที่สูงขึ้น   แต่มันมาจากปันผลที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  ของบริษัท   แต่เชื่อผมเถอะครับว่า  ในที่สุดแล้ว  คนจะต้องเห็นว่าบริษัทดีและเข้ามาซื้อหุ้นทำให้ราคาหุ้นเพิ่มขึ้น  ผมเองเคยถือหุ้นมา 3-4 ปีโดยที่ราคาไม่ไปไหน  แต่พอมันวิ่ง  มันก็ขึ้น  “ชดเชย”  ช่วงเวลาที่มันนิ่งในเวลาอันรวดเร็ว ประเด็นสำคัญก็คือ  VI ต้อง “รอเป็น”  ว่าที่จริง  การที่หุ้นไม่ขึ้นเลยทั้ง ๆ  ที่บริษัทดีขึ้นหรือจ่ายปันผลมากขึ้นเรื่อย ๆ  นั้น  กลับเป็นโอกาสที่เราจะซื้อหุ้นเพิ่มและทำกำไรมากขึ้น
--------------------------------------------

KISS Investing

1.เก็บออมเงินสม่ำเสมอและเริ่มตั้งแต่อายุน้อย  พลังของการ  “ทบต้น”  ของผลตอบแทนที่ได้จะทำให้เม็ดเงินเติบโตเร็วมาก  วิธีที่จะคำนวณว่าเม็ดเงินจะเติบโตไปถึงแค่ไหนนั้น  เราสามารถใช้  “สูตร 72”  ระยะเวลาในการลงทุนจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งยวดที่จะทำให้เรารวย
2.ใช้ประโยชน์จากการลดหย่อนภาษีของรัฐบาลในโครงการเพื่อการลงทุนระยะยาวและการเกษียณอายุ  ในเมืองไทยก็คือ  การลงทุนในกองทุน RMF หรือกองทุนเพื่อการเกษียณอายุ  และ LTF หรือกองทุนหุ้นระยะยาว
3.เงินออมทั้งหมดเราจะต้องเอาไปลงทุน  โดยการลงทุนของเรานั้นเราจะต้อง  “กระจายความเสี่ยง”  ให้อยู่ในตราสารการเงินหลาย ๆ  ประเภทที่เหมาะสมกับเรา เราควรลงทุนในกองทุนที่อิงดัชนีที่คิดค่าจัดการกองทุนในอัตราที่ต่ำเป็นหลัก
4.เมื่อจัดพอร์ตลงทุนตามสัดส่วนการกระจายการลงทุนแล้ว   ทุกสิ้นปีสัดส่วนเงินลงทุนในพอร์ตก็มักจะเปลี่ยนไปเพราะตราสารบางกลุ่มจะให้ผลตอบแทนดีกว่าทำให้เม็ดเงินมากเกินสัดส่วน  ดังนั้น  เราจะต้องจัดการ  Rebalance หรือจัดสัดส่วนการลงทุนใหม่โดยการขายหน่วยลงทุนส่วนที่มีผลตอบแทนมากและสัดส่วนเกินที่กำหนดในตอนต้นปี  ไปซื้อหน่วยลงทุนที่มีสัดส่วนน้อยลงแทนเพื่อทำให้สัดส่วนการลงทุนในแต่ละกลุ่มกลับมาอยู่ที่เดิมที่เราตั้งไว้  อย่าเปลี่ยนสัดส่วนเพราะคิดว่ากองทุนแบบหนึ่งกำลังทำผลงานดีหรือแย่กว่าที่คาด
5.ยึดมั่นกับหลักการและวิธีการตั้งแต่ข้อหนึ่งถึงข้อสี่โดยไม่ต้องสนใจภาวะตลาดการเงินที่ผันผวน
ควรเน้นการลงทุนระยะยาวซึ่งสถิติบอกว่าหุ้นนั้นในที่สุดก็จะกลับมาให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการลงทุนประเภทอื่น
           แผนการเงินเพื่อการเกษียณที่ทำแล้วสบายใจและแทบ “ไม่ต้องดูแล”  ที่สำคัญมันง่ายมาก  แต่สิ่งที่ต้องระวังที่สุดก็คือ  มันต้องการ “วินัย” ที่เข้มงวด และ  “อารมณ์” ที่มั่นคง

--------------------------------------------------
วิชาการเราสามารถแบ่งออกได้เป็นกลุ่มหลัก ๆ 4 วิธี
1.นักเล่นหุ้นแบบเท็คนิค นักเล่นหุ้นที่ใช้ข้อมูลเพียง 2 อย่าง นั่นก็คือ ข้อมูลราคาหุ้นกับปริมาณการซื้อขายของหุ้น กลุ่มนี้จะนำข้อมูลทั้งสองอย่างมาเขียนเป็นกราฟหรือทำเป็นจุดอะไรต่าง ๆ จากนั้นก็อาจจะคำนวณหาราคาเฉลี่ยในแต่ละช่วงเวลาหรือลูกเล่นต่าง ๆ แล้วก็กำหนดจุดซื้อขายหุ้น 
2.การลงทุนแบบอาศัย “ข้อมูลพื้นฐาน” ทั้งหลายที่เปิดเผยต่อสาธารณชนแล้ว ข้อมูลเหล่านี้รวมถึงข้อมูลทางเศรษฐกิจ การเงิน และข้อมูลผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของบริษัทจดทะเบียน รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับราคาและปริมาณการซื้อขายหุ้นด้วย กลุ่มคนที่ใช้วิธีนี้ในการลงทุนนั้นกว้างขวางมาก ซึ่งรวมไปถึงคนที่บริหารกองทุนรวมจำนวนมหาศาล จากการศึกษาในตลาดหุ้นสหรัฐเช่นเดียวกันก็พบว่า นักลงทุนที่ใช้วิธีการนี้ก็แพ้ดัชนีตลาดแบบ “ราบคาบ” ประเด็นสำคัญก็คือ การทำแบบนี้ต้องค้นคว้าและศึกษาข้อมูลมากมาย ต้องใช้คนที่จบการศึกษาทางด้านการเงินระดับ “MIT” มาทำงานทำให้มีต้นทุนในการบริหารพอร์ตสูงไม่คุ้มค่า ลงทุนแบบ VI นั้น ให้ผลตอบแทนที่ดีเยี่ยมกว่าดัชนีตลาดมากในระยะยาว ว่าที่จริงในตลาดหุ้นไทยนั้น การลงทุนแบบ VI ให้ผลตอบแทนโดดเด่นมากเมื่อเทียบกับดัชนีตลาดหุ้น
3.การลงทุนหรือเล่นหุ้นโดยใช้ “ข้อมูลภายใน” ที่ยังไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณชน
4.วิธีการลงทุนแบบ Passive หรือการลงทุนโดยการกระจายการถือครองหุ้นตามดัชนีพูดง่าย ๆ ซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนหุ้นตามดัชนี กลุ่มคนที่ใช้วิธีนี้มีความเชื่อว่าตลาดหุ้นนั้น “มีประสิทธิภาพ”
----------------------------------------------------
ฟองสบู่หุ้นนั้น  มักจะเกิดขึ้นจากสาเหตุอะไร
1.ฟองสบู่นั้น  มักจะเกิดขึ้นเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงสำคัญระดับ  “ปฏิวัติ” ของเท็คโนโลยีของโลก การเปลี่ยนแปลงในเรื่องของ  “โครงสร้างการทำงานหรือธุรกรรมทางการเงิน”
2.ฟองสบู่จะเกิดไม่ได้ถ้าตลาดเงิน “ตึงตัว”  นั่นก็คือ  อัตราดอกเบี้ยในท้องตลาดสูงและเงินหายาก  ฟองสบู่นั้นมักเกิดขึ้นในช่วงที่ตลาดเงินมีสภาพคล่องสูงและอัตราดอกเบี้ยในตลาดต่ำมาก  การกู้เงินมักทำได้ง่าย  มีการปล่อยกู้ให้กับลูกค้าโดยไม่เข้มงวดในด้านของความสามารถในการใช้หนี้คืนและหลักประกันมากนัก
3.ฟองสบู่มักจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อฟองสบู่ครั้งล่าสุดเกิดขึ้นไม่ต่ำกว่า 15-20 ปีมาแล้วซึ่งเท่ากับ “หนึ่งชั่วอายุคน” 
4.  ฟองสบู่มักเกิดขึ้นเมื่อนักลงทุนละทิ้งวิธีการลงทุนที่คำนึงถึง “มูลค่าที่แท้จริง”  ของกิจการ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น